วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การติดตั้ง NGVเบนซิน

การติดตั้ง NGV ทดแทนน้ำมันเบนซิน

สำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือ NGV ทดแทนน้ำมันเบนซิน ถ้าติดตั้งระบบ NGV เพียงแค่ปรับสวิตช์เลือกใช้เชื้อเพลิงเท่านั้น คุณก็จะสามารถเลือกใช้น้ำมันเบนซิน หรือก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงก็ได้ ซึ่งรูปแบบการใช้ NGVทดแทนน้ำมันเบนซิน
แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
- ระบบฉีดก๊าซ หรือ Injection เหมาะกับรถเครื่องยนต์หัวฉีดประกอบด้วยชุดอุปกรณ์หลักๆ คือ ชุดควบคุมอิเล็คทรอนิคส์ อุปกรณ์ปรับความดันก๊าซ อุปกรณ์ปรับเวลาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ สวิตช์เลือกชนิดเชื้อเพลิง ถังก๊าซ ชุดจ่ายก๊าซและตัวตรวจวัดออกซิเจน ระบบนี้จะมีการจ่ายเชื้อเพลิงก๊าซด้วยหัวฉีดที่ท่อไอดีของแต่ละสูบโดยเฉพาะ และควบคุมส่วนผสมแบบใช้อากาศพอดี เพื่อการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ซึ่งจะใช้กับเครื่องยนต์แบบหัวฉีดเท่านั้น
- ระบบดูดก๊าซ หรือ Fumigation ซึ่งเหมาะสำหรับรถเครื่องยนต์คาบูเรเตอร์ จะมีอุปกรณ์ผสมก๊าซและอากาศ ทำหน้าที่ผสมอากาศ ที่เครื่องยนต์ดูดเข้าไปกับก๊าซ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม กับการเผาไหม้ก่อนที่จะจ่ายเข้าเครื่องยนต์ อุปกรณ์หลักๆ ก็ได้แก่ ถังก๊าซ หัวเติมก๊าซ หม้อต้มหรืออุปกรณ์ปรับความดันก๊าซ อุปกรณ์ปรับเวลาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ และสวิตช์เลือกชนิดเชื้อเพลิง

ระบบดูดก๊าซแบ่งรูปแบบควบคุมการจ่ายก๊าซเป็น 2 รูปแบบ คือ
- แบบวงจรเปิด (Open Loop) และแบบวงจรปิด (Close Loop) ปริมาณก๊าซที่จ่ายจะเข้าไปผสมกับอากาศที่บริเวณท่อร่วมไอดี โดยอาศัยแรงดูดจากอากาศที่ป้อนเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ทั้งนี้ปริมาณก๊าซที่จ่ายจะขึ้นอยู่กับการปรับตั้งสกรูปรับก๊าซหรือวาล์วจ่ายก๊าซที่ผู้ติดตั้งทำการปรับแต่ง ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถควบคุมประสิทธิภาพการเผาไหม้ของก๊าซให้สมบูรณ์ได้ในทุกช่วงการทำงานของเครื่องยนต์ตามสภาวะการขับขี่ต่างๆ

- แบบวงจรปิด นอกจากอุปกรณ์พพื้นฐาน ระบบนี้ยังประกอบด้วยชุดควบคุมอิเล็คทรอนิคส์ (Electronic Control Unit) ชุดควบคุมการจ่ายก๊าซ (Actuator) ตัวตรวจวัดตำแหน่งปีกผีเสื้อ (Throttle Position Sensor)และตัวตรวจวัดออกซิเจน (Oxygen Sensor) แบบวงจรนี้จะควบคุมส่วนผสมแบบใช้อากาศพอดีสำหรับการเผาไหม้ (Lambda=1) ทำให้เกิดการเผาไหม้ของก๊าซสมบูรณ์ ทั้งนี้ปริมาณก๊าซที่จ่ายไปผสมกับอากาศที่บริเวณท่อร่วมไอดีจะถูกควบคุมโดยชุดควบคุมการจ่ายก๊าซ ซึ่งจะมีชุดควบคุมอิเล็คทรอนิคส์ควบคุมการเปิด-ปิดของโซลินอยล์วาล์วอีกทีหนึ่ง ปริมาณก๊าซที่จ่ายจะมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณออกซิเจน ที่เหลือจากการเผาไหม้ในท่อไอเสีย โดยใช้ตัวตรวจวัดออกซิเจน และตำแหน่งการเปิดปิดของปีกผีเสื้อมาประมวลผลการจ่ายปริมาณก๊าซให้เหมาะกับการทำงานของเครื่องยนต์ ตามสภาวะการขับขี่ต่างๆ

          เครื่องยนต์แบบหัวฉีดก็สามารถตั้งระบบดูดก๊าซได้ ซึ่งค่าติดตั้งมีราคาถูกกว่าระบบฉีดก๊าซแต่สมรรถนะของเครื่องยนต์จะลดลงเล็กน้อย เพราะอาจเกิดปัญหาเรื่องการเผาไหม้ ควรเลือกติดตั้งระบบที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของเราน่าจะปลอด ภัยกว่า
แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลัง และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และวิชาการ.คอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...