วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

The Training Pro Learning and Skill
(เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล)
เนื่องใน เทศการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
Happy New Year 2015 )
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีฟ้าโปรเเกรส
Srifah Progress Limited Partnership)
ขอให้ทุกๆ ท่าน ประสพแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง
เงินทอง ไหลมา เทมา มีความสุข ยิ้มรับสิ่งดีๆ ในปีใหม่นี้ พ.ศ.2558

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง

          ไอน้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า ไอน้ำมันเบนซิน และให้หมายความรวมถึง ไอของน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
          ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่ ๑ (Vapor recovery system stage I) หมายความว่า ระบบป้องกันการแพร่กระจายของไอน้ำมันเชื้อเพลิงไปสู่บรรยากาศ ระหว่างถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงกับรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงในขณะถ่ายเทน้ำมันเชื้อเพลิง หรือระหว่างการถ่ายเทน้ำมันเชื้อเพลิงจากรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงลงสู่ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
          ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่ ๒ (Vapor recovery system stage II) หมายความว่า ระบบป้องกันการแพร่กระจายของไอน้ำมันเชื้อเพลิงไปสู่บรรยากาศ ระหว่างการถ่ายเทน้ำมันเชื้อเพลิงจากหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงลงสู่ถังน้ำมันเชื้อเพลิงของรถในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
          หน่วยควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (Vapor recovery unit) หมายความว่า ระบบท่อ ถัง และอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการเปลี่ยนสถานะของไอน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นของเหลว รถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า ยานพาหนะขนส่งน้ำมันทางบกที่มีถังขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตรึงไว้ด้านบน ทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ

          Storage and dispensing of diesel fuel and kerosene is included in this General Permit and does not require Stage 1 & 2 Controls.

FIGURE 1: Stage 1



FIGURE 2: Stage 2

EQUIPMENT/CONTROL DEVICE SPECIFICATIONS

STAGE 1
Transfer of gasoline into any receiving vessel having a maximum capacity of 2,000 gallons or greater must be made through a permanently affixed submerged fill pipe or bottom fill pipe.

Transfer of gasoline from any delivery vessel into any stationary storage tank having a maximum capacity of 2,000 gallons or greater shall occur only if such storage tank is equipped with and operating the following emission controls:
          ๐ A vapor control system that reduces the total applicable VOC emissions into the outdoor atmosphere by no less than 98 % of the applicable VOC by volume in the air-vapor mixture displaced during the transfer of gasoline; and
          ๐ A pressure/vacuum relief valve on each atmospheric vent which remains closed during the gasoline transfer; or
          ๐ A floating roof tank

STAGE 2
Transfer of gasoline into any gasoline vapor laden vehicular fuel tank must be made only if such operation is equipped with a vapor control system that meets the following conditions:
          ๐ A vapor control system that reduces the total applicable VOC emissions into the outdoor atmosphere by no less than 95 % of the applicable VOC by volume in the air-vapor mixture displaced during the transfer of gasoline; and
          ๐ The system prevents overfilling and spillage.
          ๐ The system has been California Air Resource Board (CARB) Certified and is operated in accordance with manufacturer’s specifications.
          ๐ Each dispensing device and its nozzle(s) at an existing GDF shall be equipped with a check valve in the dispenser nozzle on or before June 29, 2005.
          ๐ Each nozzle at an existing GDF with a vacuum assist vapor control system shall be equipped with a splash guard that prevents spillage during refueling on each nozzle at the facility on or before June 29, 2005.
          ๐ Each dispensing device and its nozzles at an existing GDF shall be designed to be compatible pursuant to N.J.A.C. 7:27-16.3 (e) (4) (iii) on or before June 29, 2005.
          ๐ Each dispensing device at a new GDF that dispenses more than one grade of gasoline shall utilize a unihose system if the GDF was constructed or reconstructed on or after June 29, 2003.
          ๐ Each dispensing device and its nozzle(s) nozzle at a new GDF shall be equipped with a check valve in the dispenser nozzle on or before June 29, 2003.
          ๐ Each nozzle at a new GDF with a vacuum assist vapor control system shall be equipped with a splash guard that prevents spillage during refueling on each nozzle at the facility on or June 29, 2003.
          ๐ Each dispensing device and its nozzles at a new GDF shall be designed to be compatible pursuant to N.J.A.C. 7:27-16.3 (e) (4) (iii) on or before June 29, 2003.

รวบรวม แก้ไขโดย.The Training Pro Learning and Skills (เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล)
แหล่งที่มา.
- ข้อมูลจาก กฎกระทรวงพลังงาน
- ข้อมูลจาก
          > http://www.nj.gov/dep/aqpp/downloads/general/GP003.pdf

- รูปภาพ จากอินเตอร์เน็ต
          > http://www.petrolplaza.com/technology/articles/MiZlbiYxMDQ2MSY2JjEmMSYm
          > http://www.petrolplaza.com/technology/articles/MiZlbiYxMDQ2MSY2JjEmMiYm
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Villege, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
-----------------------------------------------------
Tags : ฝึกอบรม, การอบรม,Training,Learning,Skills,สัมมนา,ประชาสัมพันธ์,สื่อโฆษณา,การเรียนรู้,การฝึกทักษะ,เสริมสร้างสติปัญญา,ค้นคว้าหาความรู้,เรียนรู้,ฝึกสมอง,เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ,รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,E20,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การสำรวจ และ การผลิต (ปิโตรเลียม : Petroleum)

การสำรวจหาแหล่งน้ำมัน เป็นการหาพื้นที่ ที่ซึ่งกักเก็บ (Traps) น้ำมัน (Oleum) ที่ชั้นของหินใต้ดิน สามารถแบ่งขั้นตอนออกได้ดังนี้

1. ขั้นตอนการสำรวจหาข้อมูล (Exploration) : เพื่อหาแหล่งน้ำมัน เช่น
 
          การสำรวจโดยคลื่นสั่นสะเทือน (Seismic survey) คือ การทำให้เกิดเสียงผ่านไปยังใต้พื้นโลก หรือ การจุดระเบิดขึ้น เพื่อให้เกิดจากเคลื่อนไหว วิ่งผ่านลงไปที่ใต้ชั้นหิน แล้ววัดเสียง หรือ ความสั่นสะเทือนที่สะท้อนกลับมา จะทำให้รู้รายละเอียดของชั้นหินมากขึ้น เมื่อพบว่าลักษณะของชั้นหินเป็นลักษณะที่มีโอกาสมีน้ำมัน อาจทำการขุดเจาะเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม เป็นต้น
           การขุดเจาะ (Core Drilling) คือ การขุดเจาะหลุมเพื่อนำเก็บไปเป็นตัวอย่าง วิธีการนี้ จะอาศัยการขุดเจาะของหลุม หลายหลุมนำไปทำการศึกษาตัวอย่าง เพื่อวัดระดับที่แน่นอน ของตัวอย่างหิน ก็จะสามารถเปรียบเทียบชนิดของชั้นหิน และโครงสร้างของชั้นที่แน่นอน
           การสำรวจแรงโน้มถ่วง (Gravity Prospecting) เป็นการวัดค่าความถ่วงจำเพาะ ของหินชนิดต่างๆ ภายใต้เปลือกโลก ถ้าชั้นหินวางตัวอยู่ในแนวระนาบ จะสามารถวัดค่าความถ่วงคงที่ได้ แต่ถ้าชั้นหิน เกิดการเอียง ค่าความถ่วง ที่วัดได้จะแปรผัน ไปกับโครงสร้างของชั้นหิน

2. ขั้นตอนการขุดเจาะ (Drilling) : เพื่อการผลิต

          การขุดเจาะหลุม ที่ได้จากการสำรวจมาแล้วนั้น มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก การขุดเจาะหลุม 1 หลุม ขุดไปลึกประมาณ 3 – 4 กิโลเมตรใต้พื้นทะเล ต้องใช้เวลานานกว่า 60 วัน โดยเฉลี่ย ต้องใช้งบประมาณกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อหลุม ซึ่งเป็นการลงทุนที่สูง และมีความเสี่ยงมาก เพระหากเราขุดไปแล้วพบปริมาณน้ำมัน หรือ แก๊สธรรมชาติ ที่น้อย นั้นไม่คุ้มค่ากันในเชิงพาณิชย์ แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะช่วยลดเวลาในการขุดเจาะหลุมนั้นเหลือ 4 – 5 วัน ต่อการขุดเจาะหลุม เพียง 1 หลุม แล้วใช้งบในการเจาะน้อยกว่ามาก

3. ขั้นตอนการผลิต (Production Process) : เพื่อการจำหน่ายต่อไป นั้นจำเป็น ต้องทำการแยกสารที่ปนเปื้อนอื่นๆ ออกจากน้ำมันดิบ และ แก็สธรรมชาติ โดยการนำไปยัง สถานีแยกปิโตรเลียม เพื่อแปรสภาพ เป็นผลิตภัณฑ์
           การแยก (Separation)
เป็นวิธีการกลั่น (Distillation) โดยใช้สารประกอบไฮโดรคาร์บอน แต่ละชนิดที่รวมอยู่ในน้ำมันดิบ โดยน้ำมันมาให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 368 – 385 องศาเซลเซียส ไหลผ่านเข้าไปในหอกลั่น น้ำมันที่ร้อนจะกลายเป็นไอลอยขึ้นไปยอด และควบแน่น เป็นของเหลวตกลงบนถาดรองรับในแต่ละช่วงของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ จากนั้นของเหลวตกลงบนถาดก็จะไหลออกมาตามท่อเพื่อนำไปเก็บแยกตามประเภท และนำไปใช้ต่อไป
           การเปลี่ยนโครงสร้าง (Conversion)
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ได้อาจมีคุณภาพที่ไม่ดีพอ จึงต้องใช้วิธีทางเคมีเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างของน้ำมัน ให้น้ำมันที่ได้มีคุณภาพที่ดี เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
           การปรับคุณภาพ (Treating)
เป็นการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากน้ำมัน ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแล้ว ซึ่งสิ่งแปลกปลอมที่สำคัญจะเป็นสารจำพวกกำมะถัน ซึ่งจะใช้วิธีการฟอกด้วย ไฮโดรเจน หรือ โซดาไฟ เพื่อเป็นการกำจัดสารนั้นออกไป
           การผสม (Blending)
การนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มานั้น มาเติม หรือ ผสมสารที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปตามที่ต้องการ เช่น การผสมน้ำมันเบนซิน เพื่อเพิ่ม เลขออกเทน หรือผสม น้ำมันเตา เพื่อให้ได้ความหนืดตามที่ต้องการ

รวบรวม แก้ไขโดย.The Training Pro Learning and Skills (เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล)
แหล่งที่มา.
- ข้อมูลจาก วิกิพิเดีย
- เว็บไซต์ Google.co.th
- รูปภาพจาก Blog: Thitiwat Thongkham
- รูปภาพจาก www.offshore-sea.org.uk
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Villege, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
-----------------------------------------------------
Tag:ฝึกอบรม,การอบรม,Training,Learning,Skills,สัมมนา,ประชาสัมพันธ์,สื่อโฆษณา,การเรียนรู้,การฝึกทักษะ,เสริมสร้างสติปัญญา,ค้นคว้าหาความรู้,เรียนรู้,ฝึกสมอง,เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ,รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,E20,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ปิโตรเลียม (Petroleum) น่ารู้..(กำเนิดปิโตรเลียม)

ปิโตรเลียมน่ารู้
          ปิโตรเลียม (Petroleum) (Petra (หิน) + Oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมัน ที่ได้จาก หิน") หรือ น้ำมันดิบเป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสถานะต่างๆ ของสารผสมกันอย่างซับซ้อน ระหว่างไฮโดรคาร์บอน กับ สารประกอบอินทรีย์วัตถุ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยา หรือ ใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงของซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จาก ซากสิ่งมีชีวิต หรืออื่นๆ จะเป็นตัวประกอบหลัก ได้แก่ น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) นอกจากนี้สารอินทรีย์ที่มีกำมะถัน ออกซิเจน และ ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอีกหลายชนิด ทั้งนี้ น้ำมันดิบจะมีคุณลักษณะ และ คุณสมบัติแตกต่างกัน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ไปตามสัดส่วนของไฮโดรคาร์บอน ประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งจะผิดแผกไปตามที่มา ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในการกำหนดคุณค่าของน้ำมัน การกำหนดวิธีการ และ กระบวนการผลิตที่เหมาะสมในการกลั่นน้ำมันต่อไป
กำเนิดปิโตรเลียม
          ความรู้เกี่ยวกับการเกิดของน้ำมันนั้น เคยมี นักโบราณคดีเชื่อว่า เมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล อารยธรรม บาบิโลเนีย เป็นกลุ่มแรกที่มีการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงแทนไม้ และเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนเป็นชาติแรกที่มีการทำเหมืองถ่านหิน และ ขุดเจาะบ่อแก๊สธรรมชาติลึกเป็นระยะร้อยเมตรได้
          ซามูเอล เอ็ม เกียร์ (Samuel M. Kier) เป็นบุคคลแรกที่ถือได้ว่าขุดพบน้ำมัน โดยในปี พ.ศ. 2391 เขาได้ขุดพบน้ำมันโดยบังเอิญจากบ่อที่เขาขุดขึ้นบนฝั่งแม่น้ำอัลเลเกนี (Allegheny) ในรัฐเพ็นน์ซิลวาเนีย (Pennsylvania) และตั้งชื่อน้ำมันดังกล่าวว่า น้ำมันซีนีกา (Seneca oil) ซึ่งเป็นชื่อพื้นเมืองอเมริกัน ต่อมาเมื่อเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันปลาวาฬ ซึ่งขณะนั้นนิยมใช้เป็นเชื้อเพลิงให้แสงสว่าง และใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ต่างๆ กันอย่างแพร่หลาย จึงเป็นแรงผลักดันให้มีการแสวงหาปิโตรเลียมมาใช้ทดแทน และนำไปสู่การจัดตั้งบริษัทเจาะหาน้ำมันชื่อ บริษัทซีนีกาออยส์ จำกัด (Seneca Oil Company) ขึ้นมา
          ในช่วงปี พ.ศ. 2402 เป็นช่วงของ ยุคตื่นน้ำมัน ซึ่งเริ่มจากการที่ เอ็ดวิน แอล เดรก (Edwin L. Drake) ถูกส่งไปเจาะสำรวจหาน้ำมันที่เมืองทิทัสวิลล์ (Titusville) ในรัฐเพ็นน์ซิลวาเนีย (Pennsylvania) และเขาได้ขุดพบน้ำมันที่ระดับความลึก 69.5 ฟุต โดยมีน้ำมันไหลออกมาด้วยอัตรา 10 บาเรลต่อวัน จึงถือเป็นการเริ่มต้นธุรกิจน้ำมันในเชิงพาณิชย์ของโลกนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
          มีการตั้งทฤษฎีมากมาย แต่ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด คือ ทฤษฎีทางอินทรีย์เคมี (Organic Theory) ที่อาศัยหลักการทางอินทรีย์เคมี และชีวเคมีประกอบเข้าด้วยกัน นั่นคือ ปิโตรเลียมเกิดจากการทับถม และแปรสภาพของซากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในชั้นหินใต้พื้นผิวโลก กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตทั้งพืช และ สัตว์ที่เจริญเติบโต และอาศัยอยู่ในโลกนับหลายล้านปีมาแล้ว เมื่อตายลงจะตกตะกอนจมลง หรือถูกกระแสน้ำพัดมาจมลง ณ บริเวณที่เป็นทะเลหรือทะเลสาบในขณะนั้นแล้วคลุกเคล้าพร้อมทั้งถูกทับถมด้วยชั้นกรวด ทราย และโคลนตมที่แม่น้ำพัดพามาสลับกันเป็นชั้นๆ ตลอดเวลา
เมื่อชั้นตะกอนต่างๆ ถูกทับถมมากขึ้นจนหนานับเป็นร้อยๆ พันๆ เมตร เกิดน้ำหนักกดทับกลายเป็นชั้นหินต่างๆ เช่น ชั้นหินทราย, ชั้นหินปูนและชั้นหินดินดาน ความกดดันจากชั้นหินเหล่านี้กับความร้อนใต้ผิวพื้นโลก และการสลายตัวของอินทรียสารโดยแบคทีเรียที่ไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria) ทำให้ซากพืชและสัตว์สลายตัวกลายสภาพเป็นหยดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติหรือปิโตรเลียม โดยมีธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนซึ่งได้จากการสลายตัวของอินทรียสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ปิโตรเลียมที่เกิดขึ้นนี้ เมื่อถูกบีบอัดจากน้ำหนักของชั้นหินที่กดทับก็จะเคลื่อนที่เข้าไปตามช่องว่างระหว่างเม็ดทรายหรือชั้นหินที่มีรูพรุน โดยมีชั้นหินเนื้อแน่นปิดทับอยู่
          ช่วงเวลาการเกิดปิโตรเลียมใช้เวลานานหลายล้านปี ระหว่างนั้นพื้นผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทะเลตื้นขึ้น เขาเตี้ยลง เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ดังนั้น พื้นทะเลที่มีน้ำมันก็อาจจะเปลี่ยนไปกลายเป็นพื้นดินได้และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรุนแรงที่ผิวโลก พื้นทะเลก็อาจจะกลายเป็นภูเขาได้ จึงเป็นเหตุให้พบน้ำมันในบริเวณที่มีสภาพภูมิประเทศต่างๆ กัน เช่น ในป่า, ชายฝั่งทะเลหรือทะเลทราย เป็นต้น
          เมื่อเกิดน้ำมันขึ้นที่พื้นที่แห่งหนึ่งแล้ว มันมักจะไหลไปสู่แหล่งอื่น โดยอาศัยความดันที่เกิดจากพื้นหินที่ทับถมลงมาบนแอ่งน้ำมันนั้นภายใต้เวลานานๆ น้ำมันก็จะถูกบีบออกจากแหล่งกำเนิด ถ้าหากมีช่องให้ไปได้ตามรูซึม หรือรอยแตกของพื้นหินเข้าไปยังที่ใหม่ อาจเป็นด้านบน ด้านข้างหรือด้านล่างได้ ถ้าซึมขึ้นข้างบนอาจจะมาถึงผิวดินทำให้เห็นน้ำมันในที่ต่างๆ ได้ แต่บางทีก็ไหลซึมได้ไม่ตลอด เพราะเมื่อเข้าไปอยู่ในชั้นหินชนิดทึบกั้นไว้ การที่น้ำมันจะไปรวมกันเป็นแอ่งได้ต้องมีหินพรุนที่มีลักษณะพื้นที่อุ้มน้ำมันไว้ได้ เช่น ชั้นหินทราย และ ชั้นหินปูน (Cracked Limestone)

รูปภาพประกอบ : http://geomatics-tech.blogspot.com/2013/04/blog-post.html

          ประกอบกับองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของหินรอบๆ แอ่งน้ำมันนั้นเป็นหินแน่นที่มีลักษณะที่จะกั้นไม่ให้น้ำมันหนีไปที่อื่นได้ ปิโตรเลียมจะอยู่ในหินพรุนเหล่านั้น เช่นเดียวกับน้ำซึมในทรายหรือน้ำซึมในรูพรุนของฟองน้ำ

รวบรวม แก้ไขโดย.The Training Pro Learning and Skills (เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล)
แหล่งที่มา.
- เว็บไซต์ วิกิพีเดีย..
- www.google.co.th
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Villege, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------
Tag:ฝึกอบรม,การอบรม,Training,Learning,Skills,สัมมนา,ประชาสัมพันธ์,สื่อโฆษณา,การเรียนรู้,การฝึกทักษะ,เสริมสร้างสติปัญญา,ค้นคว้าหาความรู้,เรียนรู้,ฝึกสมอง,เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ,รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,E20,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเปิดปั๊มน้ำมัน

สถานีบริการน้ำมันที่จะเปิดบริการต้องมีความปลอดภัยตามกฎของกรมโยธาธิการ โดยเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง "ประเภทที่ 1 และ ประเภทที่ 2" ดังนี้

1. สถานที่ตั้งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีทางเข้าออกติดหรือเชื่อมกับถนนหลวงหรือถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 8-12 เมตร ทางเข้าออกมีขนาดกว้างพอให้รถผ่านเข้าออกได้สะดวก ไม่อนุญาตให้สร้างสถานีบริการน้ำมันบริเวณทางโค้ง เพราะเป็นจุดที่ล่อแหลมต่อการเกิดอุบัติเหตุ ภายในเขตสถานีบริการต้องไม่มีอาคารอื่นใดนอกจากอาคารบริการสูงไม่เกิน 2 ชั้น สร้างด้วยวัสดุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีชั้นลอย และจัดระยะห่างระหว่างอาคารเหมาะสม นอกจากนี้ เครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องอยู่ห่างจากริมผนังของอาคารบริการไม่น้อยกว่า 4 เมตร และตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องยึดแน่นอยู่บนแท่นคอนกรีตสูงกว่าระดับพื้นโดยรอบไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร มีแสงสว่างเพียงพอในยามค่ำคืน หรือติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

2.ภายในสถานีบริการต้องติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการจ่ายน้ำมัน และต้องตรวจตราความเรียบร้อยอยู่เสมอ อาทิ เครื่องวัดระดับน้ำมันในถังใต้ดิน ในแต่ละวัน พนักงานต้องเช็กปริมาณน้ำมันจากเครื่องวัดระดับน้ำมันในถังใต้ดิน เพื่อสังเกตดูว่าเกิดการรั่วไหลออกมาภายนอกหรือไม่ และตรวจสอบอุณหภูมิภายในถังให้อยู่ในภาวะ ปกติ ทั้งมีระบบสวิตซ์ฉุกเฉินของวงจรไฟฟ้าที่จะพร้อมทำงานทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ในส่วนของหัวจ่ายจะมีอุปกรณ์หยุดการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันมิให้น้ำมันเชื้อเพลิงล้นถังในขณะเติมน้ำมัน หัวจ่ายถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้ลื่นไหลหลุดจากช่องเติมน้ำมันได้ง่าย

3.จัดเก็บสารเคมีอันตรายอย่างเป็นระบบชัดเจน สารเคมีอันตรายต้องจัดเก็บในห้องอย่างมิดชิด เชื้อเพลิงที่มีจุดวาบไฟสูงอย่างน้ำมันเบนซินต้องเก็บไว้ในถังใต้ดิน เป็นถังที่มีผนังหรือชั้นที่ออกแบบคำณวนและผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัย โดยเชื้อเพลิงจะติดไฟได้ก็เมื่อมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ไอน้ำมัน อากาศ และความร้อนที่ถึงจุดวาบไฟหรือประกายไฟ วิธีลดความเสี่ยงคือแยกสิ่งทั้ง 3 ออกจากกัน ความร้อนที่ถึงจุดวาบไฟจะเป็นตัวที่ควบคุมได้ง่ายที่สุด ดังนั้นการเก็บถังน้ำมันใต้ดินนับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแยกไอน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากอากาศและประกายไฟ และต่อท่อหายใจจากถังน้ำมันเพื่อเป็นทางระบายและควบคุมความดัน เพื่อความปลอดภัยต่อถังน้ำมัน

4.มีอุปกรณ์ดับเพลิงเตรียมพร้อมบริเวณลานจ่ายเสมอ โดยกฎหมายกำหนดว่า ต้องมีเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย 2 เครื่อง ต่อตู้จ่ายน้ำมัน 1-4 ตู้จ่าย และ 3 เครื่องต่อตู้จ่าย 5-8 ตู้จ่าย หากมีตู้จ่ายเกิน 8 ตู้จ่าย ให้ติดเครื่องดับเพลิงเพิ่ม 1 เครื่องต่อทุกๆ 3 ตู้จ่าย

5.ความรับผิดชอบของบริษัทน้ำมันก็มีส่วนสำคัญ โดยการควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงใน 2 ระดับ
-ระดับที่หนึ่งจะควบคุมไอน้ำมันที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นจากการจ่ายน้ำมันที่คลังและขณะลงน้ำมันในสถานีบริการ และ
 -ระดับที่สองจะควบคุมระหว่างจ่ายน้ำมันจากตู้จ่ายลงสู่รถ ส่วนที่สำคัญที่สุดของอุปกรณ์กักไอน้ำมัน **ระดับที่หนึ่ง คือตัวที่เรียกว่าพีพีวาล์ว เป็นตัวควบคุมไอน้ำมันไม่ให้ออกสู่สิ่งแวดล้อมและช่วยควบคุมความดันในขณะที่มีการจ่ายน้ำมัน

6.ติดตั้งอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยอื่นๆ ในสถานีบริการ เช่น การติดตั้งสายดินบริเวณต่างๆ อย่างจุดที่ลงน้ำมัน บริเวณท่อรับไอน้ำมันสู่ถังรถ หรือบริเวณตู้จ่ายสายมือจ่าย เพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตที่สะสมอยู่ในท่อขณะลงน้ำมันซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดประกายไฟและการลุกไหม้

7.พนักงานควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดในขณะให้บริการผู้ขับขี่เพื่อความปลอดภัย และผู้รับบริการก็ควรจะปฏิบัติตามคำเตือน

ที่มา ข่าวสดออนไลน์

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การขออนุญาต เป็นผู้ค้าน้ำมันตาม พ.ร.บ.ควบคุม น้ำมันเชื้อเพลิง

คำถาม
*** ผู้ประกอบการที่อยู่ในข่ายต้องแจ้งหรือการขออนุญาต เป็นผู้ค้าน้ำมันตาม พ.ร.บ.ควบคุม น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 มีเงื่อนไข อย่างไรบ้าง?
คำตอบ
*** หลักเกณฑ์ในการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงตาม พ.ร.บ. ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 การประกอบกิจการกฎหมายกำหนดให้การประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งต้องกำกับดูแล มี 3 ประเภท คือ
- ประเภทที่ 1 ประกอบกิจการได้ทันที
- ประเภทที่ 2 ต้องแจ้งก่อนจึงจะประกอบกิจการได้
- ประเภทที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงประกอบกิจการได้้
กิจการควบคุมประเภทที่ 1 มี 1 ประเภท
- สถานที่เก็บรักษาน้ำมันฯ ลักษณะที่ 1 (ร้านจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงรายย่อย)
กิจการควบคุมประเภทที่ 2 มี 4 ประเภท
- สถานที่เก็บรักษาน้ำมันฯ ลักษณะที่ 2 (โรงงานขนาดเล็ก หรือ เพื่อการเกษตร เก็บน้ำมันไวไฟ น้อยไม่เกิน 15,000 ลิตร)
- สถานีบริการน้ำมันฯ ประเภท ค ลักษณะที่ 1 (ปั๊มถังลอยริมถนนขนาดเล็ก เก็บน้ำมันไวไฟน้อยไม่เกิน 10,000 ลิตร)
- สถานีบริการน้ำมันฯ ประเภท ง (ปั๊มหลอดแก้วมือหมุน)
- สถานีบริการน้ำมันฯ ประเภท จ ลักษณะที่ 1 (สถานีบริการทางน้ำขนาดเล็ก)
กิจการควบคุมประเภทที่ 3 มี 7 ประเภท
- สถานที่เก็บรักษาน้ำมันฯ ลักษณะที่ 3 (โรงงานขนาดใหญ่)
- คลังน้ำมันเชื้อเพลิง
- สถานีบริการน้ำมันฯ ประเภท ก (สถานีบริการติดถนนใหญ่)
- สถานีบริการน้ำมันฯ ประเภท ข (สถานีบริการติดถนนซอย)
- สถานีบริการน้ำมันฯ ประเภท ค ลักษณะที่ 2 (ปั๊มถังลอยริมถนนขนาดใหญ่)
- สถานีบริการน้ำมันฯ ประเภท จ ลักษณะที่ 2 (สถานีบริการทางน้ำขนาดใหญ่)
- สถานีบริการน้ำมันฯ ประเภท ฉ (สถานีบริการให้แก่อากาศยาน)
การแจ้งสำหรับกิจการการควบคุมประเภทที่ 2
- ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ ธพ.น 1
- ในเขต กทม. ให้แจ้ง ณ สำนักงานเขต
- นอกเขต กทม. ให้แจ้ง ณ สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณี
- พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับแจ้งตามแบบ ธพ.น 2 เมื่อได้รับแจ้ง
การยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3
- ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ ธน.พ 3
- ในเขต กทม.
- สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงลักษณะที่ 3 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ฉ และคลังน้ำมันเชื้อเพลิงยื่น ณ กรมธุรกิจพลังงาน อาคารฐานเศรษฐกิจ ชั้น 10 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ก ข ค ง และ จ ยื่น ณ สำนักงานเขต
- นอกเขต กทม.

- สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงลักษณะที่ 3 ยื่น ณ สำนักงานพลังงานภูมิภาค
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ฉ และคลังน้ำมันเชื้อเพลิงยื่น ณ กรมธุรกิจพลังงาน อาคารฐานเศรษฐกิจ ชั้น 10 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ก ข ค ง และ จ ยื่น ณ สำนักงานองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณี
- ใบอนุญาตจะเป็นไปตามแบบ ธน.พ 4
เอกสารประกอบการพิจารณาขออนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3
- คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 (ธพ.น 3)
- ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต
- หนังสือรับรองการจดทะเบียน พร้อมสำเนารายละเอียดวัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจ ลง ชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ขอรับ ใบอนุญาต)
- หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของบุคคล หรือนิติบุคคลผู้ขอรับใบอนุญาต (กรณีตัวแทนเป็นผู้ยื่นขอรับใบอนุญาต)
- ภาพถ่ายโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก. หรือ ส.ค. สำเนาเอกสารแสดงว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิ์ใช้ที่ดิน
- หนังสือแจ้งการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการเกี่ยวกับ น้ำมัน เชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง (กรณีอยู่ในพื้นที่บังคับตามกฎหมายว่า ด้วยการผังเมือง)
- สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (กรณีอยู่ใน พื้นที่บังคับตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร)
- สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (กรณีอยู่ในพื้นที่บังคับตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงงาน)
- สำเนาหนังสืออนุญาต พร้อมสำเนาแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้ทำทางเชื่อม เพื่อใช้เป็นทาง เข้า - ออก สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน เชื้อเพลิง หรือคลังน้ำมันเชื้อเพลิงหรือสำเนาหนังสืออนุญาตพร้อมสำเนาแผนผัง บริเวณที่ได้รับอนุญาตให้ทำสิ่งล่วงล้ำ
- แผนที่สังเขป แสดงที่ตั้งของสถานที่ที่ขออนุญาต
- แผนผังบริเวณและแบบก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงระบบความปลอดภัยระบบควบ คุมมลพิษระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำดับเพลิง ระบบบำบัดหรือแยกน้ำปน เปื้อนน้ำมันเชื้อเพลิงระบบอุปกรณ์นิรภัยระบบไฟฟ้า และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ จำนวน 3 ชุด (ตามประเภทที่ขอรับใบอนุญาต)
- รายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
- หนังสือรับรองของวิศวกรผู้คำนวณรายการตามข้อ 13
- หนังสือรับรองของสถาปนิก ผู้ออกแบบสถานที่
- หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน (ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร)
แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
เรียนรู้เพิ่มเติม.เกี่ยวกับการซ่อมบำรุง ในตัวอุปกรณ์ หรือ อะไหลต่างๆ ได้ที่นี่.
สถานฝึกอบรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. ในด้านความรู้.ความสามารถ, ในการแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วน โดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีฟ้าโปรเกรส
*** สอบถามรายละเอียด ***
โทร.089-4557878, 02-926 7121
E-Mail.: t.training.pro@gmail.com
Web Blog : http://thetraining-pro.blogspot.com/
Map: https://mapsengine.google.com/map/edit?mid=zhKDpEc54ETQ.kne94XpotR0Y

ประวัติวันคริสต์มาสภาษาอังกฤษ

ความรู้รอบตัว > ประวัติวันคริสต์มาสภาษาอังกฤษ

สวัสดีค่ะ วันนี้มี ประวัติวันคริสต์มาสภาษาอังกฤษ มาฝากกันค่ะ
หลายๆคนคงเคยสงสสัยว่าวันคริสต์มาสเป็นวันอะไร ทำไมต้องมีวันคริสต์มาส แล้วประวัติวันคริสต์มาสเกิดขึ้นได้อย่างไร ลองอ่านประวัติวันคริสต์มาสภาษาอังกฤษด้านล่างนี้กันดูน่ะค่ะ

The History of Christmas Day

In the Western world, the birthday of Jesus Christ has been celebrated on December 25th since AD 354, replacing an earlier date of January 6th. The Christians had by then appropriated many pagan festivals and traditions of the season, that were practiced in many parts of the Middle East and Europe, as a means of stamping them out.

There were mid-winter festivals in ancient Babylon and Egypt, and Germanic fertility festivals also took place at this time. The birth of the ancient sun-god Attis in Phrygia was celebrated on December 25th, as was the birth of the Persian sun-god, Mithras. The Romans celebrated Saturnalia, a festival dedicated to Saturn, the god of peace and plenty, that ran from the 17th to 24th of December. Public gathering places were decorated with flowers, gifts and candles were exchanged and the population, slaves and masters alike, celebrated the occasion with great enthusiasm.

In Scandinavia, a period of festivities known as Yule contributed another impetus to celebration, as opposed to spirituality. As Winter ended the growing season, the opportunity of enjoying the Summer's bounty encouraged much feasting and merriment.

The Celtic culture of the British Isles revered all green plants, but particularly mistletoe and holly. These were important symbols of fertility and were used for decorating their homes and altars.

New Christmas customs appeared in the Middle Ages. The most prominent contribution was the carol, which by the 14th century had become associated with the religious observance of the birth of Christ.

In Italy, a tradition developed for re-enacting the birth of Christ and the construction of scenes of the nativity. This is said to have been introduced by Saint Francis as part of his efforts to bring spiritual knowledge to the laity.

Saints Days have also contributed to our Christmas celebrations. A prominent figure in today's Christmas is Saint Nicholas who for centuries has been honored on December 6th. He was one of the forerunners of Santa Claus.

Another popular ritual was the burning of the Yule Log, which is strongly embedded in the pagan worship of vegetation and fire, as well as being associated with magical and spiritual powers.

Celebrating Christmas has been controversial since its inception. Since numerous festivities found their roots in pagan practices, they were greatly frowned upon by conservatives within the Church. The feasting, gift-giving and frequent excesses presented a drastic contrast with the simplicity of the Nativity, and many people throughout the centuries and into the present, condemn such practices as being contrary to the true spirit of Christmas.

The earliest English reference to December 25th as Christmas Day did not come until 1043.

ข้อมูลจาก Forword Mail
ขอบคุณที่มา.http://km.siamha.com/ประวัติวันคริสต์มาสภาษาอังกฤษ.html
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...