วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากคลังเชื้อเพลิงจังหวัดระยอง ปี ๒๕๕๔

การจ่ายน้ำมันแบบ Bottom Loading กับระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงกรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบปริมาณสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds; VOCs) จากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการเก็บและจำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง ในช่วงระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 ถึงวันที่ 25 มีนาคม 2554 เพื่อติดตามตรวจสอบปริมาณสารอินทรีย์ระเหยที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการขนถ่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์จากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงสู่รถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
  • บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด
  • บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) และ
  • บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน)
ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์จากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงเหล่านี้ อยู่ในช่วงตั้งแต่ 3.1 - 3,192 ล้านลิตรต่อปี ความถี่ในการขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ประมาณ 30 - 150 เที่ยวต่อวัน

ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ Carbon Adsorption
การตรวจวัดทำหลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนหัวจ่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ที่ลานจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจาก Top Loading เป็น Bottom Loading และ/หรือ Top Modified Loading ร่วมกับการใช้ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (Vapor Recovery Unit ; VRU) เช่น ระบบ Membrane ระบบ Refrigeration และระบบ Carbon Adsorption เป็นต้น

ผลการตรวจวัดปริมาณสารประกอบอินทรีย์ระเหย

จากการตรวจวัดปริมาณสารประกอบอินทรีย์ระเหยทั้งหมด (Total Volatile Organic Compounds ; Total VOCs) พบว่า ประสิทธิภาพของระบบ VRU อยู่ในช่วง 90 - 99.09 % มีผลการตรวจวัดปริมาณ
Total VOCs ก่อนเข้าระบบ VRU ค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ชั่วโมง อยู่ในช่วง 28.79 - 186.72 mg/l as propane ปริมาณ Total VOCs หลังออกจากระบบ VRU และถูกปล่อยทิ้งออกสู่บรรยากาศ ค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ชั่วโมง อยู่ในช่วง 1.05 - 4.45 mg/l as propane ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด (มาตรฐานไอน้ำมันเบนซินจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปล่อยทิ้งออกสู่บรรยากาศในขณะที่มีการรับหรือจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงในเวลา 1 ชั่วโมง จะต้องมีค่าเฉลี่ยไม่เกิน 17 มิลลิกรัมต่อลิตร)
จากการติดตามตรวจสอบเห็นได้ว่าการปรับเปลี่ยนหัวจ่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ที่ลานจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจาก Top Loading เป็น Bottom Loading และ/หรือ Top Modified Loading ร่วมกับการใช้ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (Vapor Recovery Unit ; VRU) สามารถช่วยลดปริมาณสารอินทรีย์ระเหยที่ถูกระบายออกสู่บรรยากาศได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลดีในการปรับปรุงคุณภาพอากาศของจังหวัดระยอง
จุดเก็บตัวอย่างไอระเหยน้ำมันเบนซินก่อนเข้าระบบ VRU ด้วย Tedlar bag ขณะโหลดน้ำมันแบบ Bottom Loading
จุดเก็บตัวอย่างไอระเหยน้ำมันเบนซินก่อนเข้าระบบ VRU ด้วย
Tedlar bag ขณะโหลดน้ำมันแบบ Bottom Loading

จุดเก็บตัวอย่างไอระเหยน้ำมันเบนซินหลังออกจากระบบ VRU ด้วย Tedlar bag
จุดเก็บตัวอย่างไอระเหยน้ำมันเบนซินหลังออกจากระบบ VRU ด้วย Tedlar bag
โดย: ฐิติรัชช์ เพ็ญตระกูลชัย นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ส่วนมลพิษจากยานพาหนะ
http://aqnis.pcd.go.th/en/node/3397
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------
Follow Us :
Blogger-IconFacebook-IconGoogle-Plus-IconPinterestTwitter-IconYouTube-Icon
----------------------------------------------------------------------------------------------
Tag: train, knowledge, education, Training Pro, workshop, Certificate of Security product training, learning, skills, ฝึกอบรม, trainer, coaching, in house training, การอบรม, Training, Learning, Skills, สัมมนา, ประชาสัมพันธ์, สื่อโฆษณา, การเรียนรู้, การฝึกทักษะ, เสริมสร้างสติปัญญา, ค้นคว้าหาความรู้, เรียนรู้, ฝึกสมอง, เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ, รอบรู้เรื่องงานซ่อม, งานซ่อมบำรุง, ตู้จ่ายน้ำมัน, ตู้น้ำมัน, ตู้เติมน้ำมัน, ปั๊มน้ำมัน, ปั๊ม, ปั้ม, ปั้มน้ำมัน, มือจ่ายน้ำมัน, มิเตอร์น้ำมัน, สายน้ำมัน, ถังน้ำมัน, น้ำมันเบนซิล, ดีเซล, เติมน้ำมัน, แกลลอนน้ำมัน, ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน, ปั๊มเคลื่อนที่, รถน้ำมันเชื้อเพลิง, รถจ่ายน้ำมัน, รถเติมน้ำมัน

วิธีง่ายๆ รักษ์พลังงาน... รักษ์โลก

วิธีง่ายๆ รักษ์พลังงาน... รักษ์โลก จากบล็อก เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลินนิ่ง แอนด์ สกลิวส์ / thetraining-pro.blogspot.com
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: +6689 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------
Follow Us :
Blogger-IconFacebook-IconGoogle-Plus-IconPinterestTwitter-IconYouTube-Icon
----------------------------------------------------------------------------------------------
Tag: train, knowledge, education, Training Pro, workshop, Certificate of Security product training, learning, skills, ฝึกอบรม, trainer, coaching, in house training, การอบรม, Training, Learning, Skills, สัมมนา, ประชาสัมพันธ์, สื่อโฆษณา, การเรียนรู้, การฝึกทักษะ, เสริมสร้างสติปัญญา, ค้นคว้าหาความรู้, เรียนรู้, ฝึกสมอง, เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ, รอบรู้เรื่องงานซ่อม, งานซ่อมบำรุง, ตู้จ่ายน้ำมัน, ตู้น้ำมัน, ตู้เติมน้ำมัน, ปั๊มน้ำมัน, ปั๊ม, ปั้ม, ปั้มน้ำมัน, มือจ่ายน้ำมัน, มิเตอร์น้ำมัน, สายน้ำมัน, ถังน้ำมัน, น้ำมันเบนซิล, ดีเซล, เติมน้ำมัน, แกลลอนน้ำมัน, ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน, ปั๊มเคลื่อนที่, รถน้ำมันเชื้อเพลิง, รถจ่ายน้ำมัน, รถเติมน้ำมัน

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปิโตรเคมี ศึกแย่งชิง LPG (1)

หนึ่งในประเด็นโจมตีของกระแส “ทวงคืน” พลังงาน คือ ธุรกิจปิโตรเคมีเอาเปรียบประชาชน ทั้งใช้ LPG ในราคาถูกกว่า และแย่งของที่ผลิตได้ในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้า LPG ในราคาแพง มีผลให้ราคา LPG ภาคครัวเรือนถูกปรับขึ้น 

LPG ถูกใช้ในสองแบบ หนึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่เราคุ้นเคย อีกแบบหนึ่งคือใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่เปลี่ยนก๊าซเป็นเม็ดพลาสติก เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหลากหลายชนิด อาทิ ภาชนะ กันชนรถ เบาะ แบตเตอร์รีรถยนต์ พัดลม ตู้เย็น โครงสร้างราคาของการใช้สองแบบนี้จึงแตกต่างกัน ราคาที่เป็นเชื้อเพลิงถูกควบคุม ส่วนราคาที่เป็นวัตถุดิบเป็นไปตามสัญญาซื้อขายที่อิงตลาดโลก

ความจริง คือ ปิโตรเคมีจ่ายแพงกว่าภาคประชาชนทั้งครัวเรือนและรถยนต์/ขนส่ง แต่ถูกกว่าการใช้เชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ราคารวมของ LPG ประกอบด้วยราคาเนื้อก๊าซ บวกภาษีและเงินกองทุน กับค่าการตลาดในกรณีของเชื้อเพลิง

ในส่วนของเนื้อก๊าซ LPG เชื้อเพลิงได้ราคา ณ โรงแยกก๊าซ-โรงกลั่นซึ่งถูกตรึงไว้ที่333 เหรียญ/ตันหรือ 10.70 บาท/กก. ถูกกว่าครึ่งของราคา LPG วัตถุดิบที่ 22.85บาท/กก.(เฉลี่ยปี 2556) แต่โครงสร้างภาษีและกองทุนแตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขว

ก่อนดูอัตราภาษีสรรพสามิต ควรพิจารณาคำจำกัดความว่าเป็น "ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการ.. ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี..” เช่น เหล้า บุหรี่ “หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค..” เช่น การสร้างถนนหนทางสำหรับการใช้เชื้อเพลิง “หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเชื้อเพลิงก็สร้างผลกระทบดังกล่าว

ดังนั้น รัฐจึงเก็บภาษีสรรพสามิตจาก LPG เชื้อเพลิงในอัตรา 2.17 บาท/กก. กับภาษีเทศบาลอัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% แต่การใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในปิโตรเคมีไม่เข้าข่ายคำจำกัดความข้างต้น จึงไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต แต่ก็เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เช่นกัน

ในส่วนของกองทุนน้ำมัน ปิโตรเคมีจ่าย 1 บาท/กก. โดยไม่ได้รับประโยชน์จากระบบกองทุนน้ำมันที่มีการอุดหนุนราคาเนื้อก๊าซที่โรงกลั่นและการนำเข้าเพื่อตรึงราคาไว้ที่ 10.70 บาท/กก.เพราะให้กับเชื้อเพลิงเท่านั้น LPG เชื้อเพลิงต้องจ่ายเข้ากองทุนฯขั้นที่1 ที่ 0.602 บาท/กก. และเนื่องจากรัฐบาลกำหนดราคาขายปลีก LPG เชื้อเพลิงตามภาคส่วน จึงเก็บเงินเข้ากองทุนฯขั้นที่2 แตกต่างกัน ได้แก่ ครัวเรือนยากจน 0.00 ครัวเรือนทั่วไป 4.21 ภาคขนส่ง 3.04 และอุตสาหกรรม 10.47 บาท/กก. ทั้งนี้ เงินกองทุนจาก LPG ทั้งหมดยังไม่พอสำหรับตรึงราคาขายปลีก LPG

เมื่อรวมภาษีและกองทุน กับค่าการตลาด 3.26 บาท/กก.ซึ่งสูงเทียบกับน้ำมันและน่าจะบีบลงได้ ราคาขายปลีกของ LPG เชื้อเพลิงในปัจจุบันสำหรับครัวเรือนยากจนอยู่ที่ 18.13 ครัวเรือนทั่วไป 22.63 ภาคขนส่ง 21.38 และอุตสาหกรรม 29.33 บาท/กก. เทียบกับราคาขายปลีกเฉลี่ยของปิโตรเคมี 25.52 บาท/กก.(ปี 2556)

ราคาLPG เชื้อเพลิงที่ภาคประชาชนจ่ายนั้น นอกจากจะต่ำกว่าของปิโตรเคมีแล้ว ทั้งเนื้อก๊าซและในภาพรวม แต่ยังต่ำกว่าต้นทุนหลัก คือเนื้อก๊าซธรรมชาติจากปากหลุมในอ่าวไทยด้วย!

เพราะราคา LPG หน้าโรงแยกก๊าซที่ตรึงไว้ 333 เหรียญ/ตันนั้น มาจากราคาก๊าซธรรมชาติปากหลุมที่ 236 เหรียญ/ตัน บวกค่าใช้จ่ายในการแยกก๊าซ 97 เหรียญ/ตัน(ปี 2551) ปัจจุบันราคาปากหลุมขึ้นไปถึง 360 เหรียญ/ตัน ราคาขาย LPG เป็นเชื้อเพลิงหน้าโรงแยกก๊าซจึงไม่พอแม้แต่จะซื้อก๊าซธรรมชาติมาผลิต ทั้งนี้ ราคาก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมเพิ่มขึ้นตามสูตรราคาที่มีบางส่วนแปรผันตามอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเตาในตลาดโลก

โรงแยกก๊าซไม่ได้รับการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมัน ปตท.จึงต้องรับภาระการขาดทุนในส่วนนี้ อาจฟังดูสะใจ แต่ถ้ามองในภาพรวมแล้วจะดีกับประเทศไทยแน่หรือ? โปรดรอดูในบทความภาค 2

การตรึงราคา LPG ให้ต่ำกว่าต้นทุนมีผลกระทบอย่างน้อย 2 ทาง

(1) ราคาขายปลีกของไทยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ผลคือการลักลอบไปขายทำกำไร ไม่มีใครรู้ปริมาณที่ชัด แต่ที่แน่คือเงินอุดหนุนของคนไทยถูกนำไปให้ประเทศเพื่อนบ้าน แม้ได้มีการปรับราคา LPG ครัวเรือนขึ้นไปกว่า 4 บาท/กก. ราคาขายปลีกไทยก็ยังต่ำ ปัจจุบันราคากัมพูชา พม่า ลาว เวียดนามสูงกว่าถึง 80 -150% ความเสี่ยงของการลักลอบจึงยังคงอยู่

(2) ราคา LPG ที่ใช้ในรถยนต์ต่ำกว่าเชื้อเพลิงทางเลือกมาก เทียบตามค่าความร้อนเบนซิน95 กลุ่มเบนซินราคาสูงกว่า LPG ถึง 131-165% ดีเซล 48% ผลก็คือคนหันมาใช้ LPG กันมากจนการใช้ในรถยนต์เพิ่มขึ้นเกือบ 26% ต่อปี! ในช่วง10 ปีตั้งแต่ตรึงราคาโรงแยกก๊าซ (ไม่รวมการใช้ที่ลักลอบจากภาคครัวเรือน) ผลที่สุดคือ LPG ที่ผลิตในประเทศไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าซึ่งราคาสูง เฉลี่ย 943 เหรียญ/ตันในครึ่งแรกของปี 2557 กว่า 3เท่าของที่ตรึงไว้ 333 เหรียญ/ตัน

นำไปสู่วงจรอุบาทว์ในช่วงที่ผ่านมา ที่ต้องเก็บเงินเข้ากองทุนจากผู้ใช้เบนซินและแก๊สโซฮอลล์สูงขึ้นเพื่อไปชดเชยการนำเข้า LPG ที่มากขึ้น ทำให้ราคาเบนซินและแก๊สโซฮอลล์ยิ่งแพง คนก็ยิ่งหันมาใช้ LPG อัตราการใช้ก็ยิ่งเพิ่มเร็วขึ้น ทำให้ต้องนำเข้ามากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้น้ำมันเบนซินและดีเซลเหลือใช้ ต้องส่งออกมากเกินจำเป็น กลายเป็นเป้าโจมตีอีกอย่างของฝ่าย “ทวงคืน”

ในปี 2556 ซึ่งเริ่มมีการขึ้นราคาภาคครัวเรือนบ้างแล้ว การใช้ LPG ในภาคขนส่ง 1.8 ล้านตัน มีปริมาณไม่ห่างจากการนำเข้า LPG 1.9 ล้านตันนัก หากไม่มีการบิดเบือนราคา LPGขนส่งให้ต่ำกว่าเชื้อเพลิงทางเลือก การนำเข้า LPG จะน้อยลงมาก

แต่เรื่องคงไม่จบง่ายๆ เพราะการแก้ปัญหาถูกจุดย่อมสร้างความไม่พอใจต่อผู้เสียประโยชน์ อีกทั้งความเกลียดชังปิโตรเคมีได้ถูกจุดกระแสแล้ว จึงควรจะดูความเป็นมาของการใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในปิโตรเคมีซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางอีสเทอร์นซีบอร์ด อดีตแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย (โปรดติดตามตอนต่อไป)

# ลงในโพสต์ทูเดย์ พุธ 10กันยายน 2557
ที่มา.https://www.facebook.com/notes/อานิก-อัมระนันทน์/ปิโตรเคมี ศึกแย่งชิง LPG (1)
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------

Follow Us :
Blogger-IconFacebook-IconGoogle-Plus-IconPinterestTwitter-IconYouTube-Icon
----------------------------------------------------------------------------------------------
Tag:ฝึกอบรม,การอบรม,Training,Learning,Skills,สัมมนา,ประชาสัมพันธ์,สื่อโฆษณา,การเรียนรู้,การฝึกทักษะ,เสริมสร้างสติปัญญา,ค้นคว้าหาความรู้,เรียนรู้,ฝึกสมอง,เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ,รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน

ปิโตรเคมี ศึกแย่งชิง LPG (2)

ในปี 2556 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ LPG เป็นวัตถุดิบ 2.6 ล้านตัน เทียบกับการใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงในภาคส่วนต่างๆ 4.8 ล้านตัน ได้แก่ ครัวเรือน 2.4 ขนส่ง 1.8 และอุตสาหกรรม 0.6 ล้านตัน แต่การผลิตในประเทศมีเพียง 5.5 ล้านตัน จึงต้องมีการนำเข้า 1.9 ล้านตันในราคาสูง

จะว่าใครใช้มากเกินไป เป็นธรรมหรือไม่ คงต้องดูเหตุผลความเป็นมาและการใช้ทรัพยากร ว่าให้ผลประโยชน์โดยรวมดีที่สุดกับประเทศหรือไม่?

บทความภาค 1 ได้อธิบายโครงสร้างภาษีและกองทุนน้ำมันที่แตกต่างกันเพราะการใช้ LPG ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้ราคา LPG ที่ปิโตรเคมีจ่ายโดยรวมจะแพงกว่าภาคครัวเรือน แต่มีข้อสงสัยว่าภายในกลุ่มปิโตรเคมีเองดูเหมือนบริษัทในเครือ ปตท.จะได้ราคาถูกกว่านอกเครือ

ปิโตรเคมีที่ผลิตสารโอเลฟินส์แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ โรงงาน Gas-based มีวัตถุดิบเป็นก๊าซอีเทนร่วมกับ LPG และโพรเพน ซึ่งล้วนมาจากโรงแยกก๊าซ ใช้ LPG 1.4 ล้านตันกับโรงงาน Liquid-based มีวัตถุดิบเป็นแนฟทาและLPG ใช้ LPG 1.2 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อจากโรงกลั่นในราคาเนื้อก๊าซ 30.2 บาท/กก. แพงกว่าที่โรงแยกก๊าซขาย 19.2 บาท/กก.มาก!

ในอดีตประเทศไทยผลิต LPG ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน แต่ไม่พอใช้ต้องนำเข้า หลังจากการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และมีการสร้างท่อส่งก๊าซมาที่ระยอง รัฐบาลเปรมฯ ได้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ให้ ปตท.สร้างโรงแยกก๊าซฯ เพื่อผลิต LPG ทดแทนการนำเข้า และให้เอกชนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยใช้ผลผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ

เกิดโครงการ Eastern Seaboard มีแผนแม่บทอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ให้มีบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) เพื่อใช้ก๊าซธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการใช้ อีเทน LPGและโพรเพนเป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติกเพื่อป้อนอุตสาหกรรมแปรรูป ทดแทนการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจประมาณ 10 เท่าโดยเฉลี่ยเทียบกับการใช้เป็นเชื้อเพลิง

NPC เป็นการร่วมทุนระหว่าง ปตท.ในฐานะผู้ผลิตวัตถุดิบ กับเอกชนผู้รับซื้อสารโอเลฟินส์ ได้แก่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย TPI HMC TPC ซึ่งเป็นผู้ลงทุนผลิตเม็ดพลาสติก PE PP และ PVC

เนื่องจากเป็นการลงทุนสูงที่มีความเชื่อมโยงแบบตายตัว จึงมีการทำสัญญาซื้อขายระยะยาว กำหนดสูตรราคาอิงตลาดโลกเพื่อให้แข่งขันกับผู้ผลิตเม็ดพลาสติกนอกประเทศได้ โดยการพึ่งพิงตลอดห่วงโซ่การผลิตทำให้มีข้อตกลงราคาที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนเท่าเทียมกัน ระหว่างโรงแยกก๊าซ โรงงานโอเลฟินส์ NPC และเอกชนผู้ผลิตเม็ดพลาสติกที่เป็นผู้ถือหุ้น

โรงงานโอเลฟินส์ในส่วนนี้เป็น Gas-based ซึ่งได้ลงทุนขยายกำลังผลิตเพื่อรองรับLPG ที่เหลือจากการขยายโรงแยกก๊าซในช่วงต่อมา เพราะจะได้ LPG เกินความต้องการในประเทศที่รวมถึงการใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้วด้วย

หลังวิกฤติปี 2540 รัฐให้ ปตท.เข้าไปมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่นที่ประสบปัญหาขาดทุน ทำให้ ปตท.เพิ่มทุนและเข้าไปถือหุ้นในหลายกิจการ เกิดบริษัทลูก ปตท.เพิ่มขึ้น อนึ่ง เอกชนที่เคยถือหุ้น NPC ภายหลังได้มีการขายหุ้นเพื่อทำกำไร แต่ยังซื้อสารโอเลฟินส์ตามสัญญาแบบเดิมอยู่

โรงโอเลฟินส์แแบบ Liquid-based ที่ใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบของเอกชนเกิดขึ้นได้ภายหลังการเปิดเสรีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2538 นำโดยกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยและTPI (IRPC ในปัจจุบัน) สามารถใช้ LPG เป็นวัตถุดิบทางเลือก หากช่วงไหนราคาวัตถุดิบตัวใดถูกกว่าเขาก็จะหันมาใช้วัตถุดิบชนิดนั้น โดย LPG ใช้สูตรราคาอิงแนฟทาในตลาดโลกหักด้วยมูลค่าผลิตผลที่น้อยกว่า ซึ่งโรงกลั่นไทยอยากขาย LPG ให้เขาเพราะช่วยลดการขาดทุนจากการขายเป็นเชื้อเพลิงในราคาควบคุม

ด้วยความยืดหยุ่นดังกล่าว ทำให้สัญญาซื้อขาย LPG ประเภทนี้เป็นแบบระยะสั้น และถึงแม้ราคา LPG สำหรับโรงงานโอเลฟินส์แบบ Liquid-based จะสูงกว่าราคาสำหรับโรงงาน Gas-based แต่ก็เป็นราคาที่เพิ่มกำไรให้กับเขาเทียบกับการใช้แนฟทา

ถ้าเห็นภาพรวมอย่างนี้ คงไม่อาจสรุปได้ว่า ปิโตรเคมีแย่ง LPG ที่เป็นเชื้อเพลิง หรือว่า ปตท. ตั้งราคาเอาเปรียบบริษัทนอกเครือ

ข้อสงสัยอีกอย่างคือ การที่โรงแยกก๊าซซื้อก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยซึ่งราคาถูกกว่าก๊าซที่ส่งทางท่อจากพม่าประมาณ 36% ทำให้ก๊าซที่เหลือสำหรับผลิตไฟฟ้ามีต้นทุนเฉลี่ยสูงกว่า สาเหตุเพราะก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็น “ก๊าซเปียก” สามารถแยกในโรงแยกก๊าซได้ แต่ของพม่าเป็น “ก๊าซแห้ง” ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เท่านั้น เมื่อมีการทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติต้นปี 2554 รัฐบาลก็ได้ยืนยันโครงสร้างแบบเดิมเนื่องจาก “จะทำให้ประเทศได้ผลประโยชน์สูงสุด”

หากเทียบกับต่างประเทศ ในซาอุดิอาระเบีย บริษัทปิโตรเคมี Sabic ถูกมองว่ามีต้นทุนต่ำอย่างที่สุดเพราะได้ราคาวัตถุดิบที่ดีมากจากบริษัทแม่ ส่วนในมาเลเซีย ปิโตรนาสเคมีก็ถูกประเมินว่าได้ราคาอีเทนที่ต่ำพอๆกับคู่แข่งในตะวันออกกลาง อาจต่ำกว่า 50% ของราคาตลาดภายนอก

ต่อการเรียกร้องให้ปิโตรเคมีจ่ายราคานำเข้า เพื่อจัดสรรของถูกในประเทศให้กับภาคครัวเรือนและขนส่ง คงต้องพิจารณาผลกระทบต่อธุรกิจปิโตรเคมีไทยซึ่งรวมถึงโรงงานเครือซิเมนต์ไทย ให้รอบคอบ เพราะจะมีผลถึงกิจการต่อเนื่องและการจ้างงานของประชาชนเป็นแสนๆ ตลอดจนผลต่อภาษีที่รัฐจะเก็บได้ เพราะปิโตรเคมีสร้างรายได้ให้ประเทศถึง 680,000 ล้านบาท (6% ของ GDP) และสร้างรายได้ VAT เพิ่มให้รัฐเป็นเงิน 31,000 ล้านบาท

สถาบัน TDRI ได้เสนอให้ “ปรับราคา LPG, NGV, ก๊าซธรรมชาติให้เป็นราคาใกล้ราคานำเข้าสำหรับผู้ใช้ทุกกลุ่ม รวมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิตก๊าซในประเทศ และให้การเลือกใช้ประเภทของพลังงานมีประสิทธิภาพ” โดยให้เก็บส่วนต่างจากต้นทุนเข้ากองทุนเพื่อไว้อุดหนุนผู้มีรายได้น้อย นับเป็นข้อเสนอที่สวนกระแสมากทีเดียว

บทความภาค 1 ได้ชี้ให้เห็นว่าหากกำหนดราคา LPG ขนส่งให้เหมาะสมกับการที่ผู้ใช้รถมีทางเลือกเชื้อเพลิงหลายอย่าง การนำเข้า LPG ราคาแพงอาจแทบไม่เกิดขึ้น ประเทศไทยอาจมีทางออกที่ยั่งยืนโดยไม่ต้องสวนกระแสมากก็เป็นได้

เป็นหน้าที่ของผู้บริหารประเทศที่จะต้องหาความสมดุลในการกำหนดนโยบายให้เกิดความเป็นธรรมและสร้างประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนให้กับคนไทย

# ลงในโพสต์ทูเดย์ พุธ 17กันยายน 2557
ที่มา.https://www.facebook.com/notes/อานิก-อัมระนันทน์/ปิโตรเคมี ศึกแย่งชิง LPG (2)
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------

Follow Us :
Blogger-IconFacebook-IconGoogle-Plus-IconPinterestTwitter-IconYouTube-Icon
----------------------------------------------------------------------------------------------
Tag: train, knowledge, education, Training Pro, workshop, Certificate of Security product training, learning, skills, ฝึกอบรม, trainer, coaching, in house training, การอบรม, Training, Learning, Skills, สัมมนา, ประชาสัมพันธ์, สื่อโฆษณา, การเรียนรู้, การฝึกทักษะ, เสริมสร้างสติปัญญา, ค้นคว้าหาความรู้, เรียนรู้, ฝึกสมอง, เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ, รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน

คนไทยจ่าย 25% กับน้ำมันแพง..?

คนไทยจ่าย 25% กับน้ำมันแพง..?
รายงานสำนักข่าวบลูมเบอร์ก ก.พ. 2556 ให้ข้อสรุปที่น่าสนใจว่า การดู “ความแพง” ของน้ำมันตามลำดับจากราคาใน 60 ประเทศนั้น ประเทศไทยอาจดูดีด้วยอันดับที่ 47 (ตารางส่วนที่๑ อันดับยิ่งต่ำยิ่งดี) แต่ต้องเปรียบเทียบกับ “ค่าครองชีพอันหมายถึงรายได้ต่อวันของประชากร” ด้วย ซึ่งพบว่าคนไทย “ใช้น้ำมันแพงมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก โดยรายได้ต่อหัวต่อวันของคนไทยจะถูกแบ่งสรรปันสันส่วนไปจ่ายเป็นค่าน้ำมันมากถึง 25%” (ตารางส่วนที่ ๒)

หากข้อสรุปนี้ถูกต้อง ใครที่รายได้เท่ากับถัวเฉลี่ย 507 บาท/วัน แล้วจ่ายค่าน้ำมันถึง 127 บาท/วัน ควรจะต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต เลิกขับรถไปทำงานแล้วหันมาให้รถเมล์ แค่รถไฟฟ้าหรือแท็กซี่ก็น่าจะประหยัดลงได้มาก

แต่ข้อสรุปดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะราคาน้ำมันต่อลิตรไม่ใช่ค่าใช้จ่ายน้ำมันต่อวัน

การเปรียบเทียบที่เหมาะสมกว่าคือ ค่าใช้จ่ายน้ำมันเฉลี่ยต่อวัน หารด้วย รายได้เฉลี่ยต่อวัน เพราะภาระที่แท้จริงของค่าน้ำมัน (รายงานนี้หมายถึง เบนซิน หรือ Gasoline) เกิดจากการใช้จริงทั้งทางตรงและทางอ้อม และการใช้น้ำมันในแต่ละประเทศก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของระบบในประเทศนั้นๆ

หากดูค่าใช้จ่ายน้ำมันที่อยู่ในตารางส่วนที่ ๓ คิดจากปริมาณน้ำมันที่ใช้ต่อวันต่อประชากร(ข้อมูลกระทรวงพลังงาน) คูณราคาน้ำมัน แล้วหารด้วยรายได้เฉลี่ยของประชากร จะพบว่าคนไทยมีค่าใช้จ่ายเพียงประมาณ 2% ไม่ใช่ 25% จากรายได้ อยู่ในอันดับที่ 26 ในขณะที่มาเลเซีย ซึ่งมีรายได้สูงกว่าไทยเกือบเท่า และ ค่าน้ำมันก็ต่ำกว่าเกือบเท่าตัว กลับติดอันดับที่ 19 ซึ่งแย่กว่าของไทย สิงคโปร์ซึ่งมีราคาน้ำมันสูงกว่ามาเลเซียเกือบ 3 เท่ารายได้สูงมากกว่า 4 เท่าตกอยู่ในอันดับที่ 55 ซึ่งก็ดีกว่าอันดับในส่วนที่ ๒

ไฉนกลับตาลปัตร? ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นคือ มาเลเซียราคาน้ำมันถูกมากทำให้การใช้ฟุ่มเฟือย ทั้งมีการลักลอบใช้ผิดประเภท จึงทำให้ค่าใช้จ่ายเป็น 2.2% (สูงกว่าไทย) ส่วนสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆที่ระบบขนส่งมวลชนกว้างขวาง รัฐสร้างแรงจูงใจให้คนประหยัดน้ำมันเพราะราคาแพงแล้วยังมีการเก็บภาษีการใช้รถในเขตเมืองชั้นในอีกด้วย

ทำไมราคาน้ำมันไทยแพงกว่ามาเลเซียมาก? นอกจากราคาเนื้อน้ำมันที่ใกล้เคียงกันแล้ว ประเทศไทยมีทั้งกองทุนและภาษี ผู้ใช้เบนซินถูกเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อช่วยอุดหนุนราคา LPG ทำให้เบนซินแพงขึ้น ในขณะที่มาเลเซียฝ่ายรัฐส่วนกลางเขาอุดหนุนราคาน้ำมันที่ขายตามสถานีบริการ ทำให้เบนซินถูกลง แต่ก็เริ่มมีการพิจารณาจะลดจะเลิก เพราะภาระต่องบประมาณและมีการรั่วไหลจากหน้าปั้มไปอุตสาหกรรมที่เป็นราคาตลาดแล้วยังมีการลักลอบไปขายประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่นไทยที่ราคาแพงกว่าด้วย

พัฒนาการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้ภาษีอากรของคนมาเลเซียรั่วไหลมากขึ้น ทำนองเดียวกับที่ LPG ของไทยราคาถูกจึงมีการขายผิดประเภท โกงเงินกองทุน และลักลอบไปขายในเขมร ลาว พม่าเพราะของเขาแพงกว่าเรามาก ทำให้คนไทยต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันไปจุนเจือประเทศเพื่อนบ้าน

ทำไมมาเลเซียอุดหนุนราคาน้ำมันให้ประชาชนใช้ถูกๆได้ แต่รัฐบาลไทยไม่ยอมทำ? สิ่งแรกที่ต้องตระหนักคือ ศักยภาพการผลิตน้ำมันเทียบกับการใช้ในประเทศต่างกันมาก ขณะที่มาเลเซียผลิตน้ำมันได้พอใช้เองและมีเหลือส่งออกสุทธิ 84,496 บาร์เรล/วัน ประเทศไทยผลิตได้ไม่ใช้ต้องนำเข้าสุทธิมากถึง 820,366.0 บาร์เรล / วัน

และใต้พิภพของแต่ละประเทศก็มีศักยภาพในการผลิตปิโตรเลียมแตกต่างกัน อาจเปรียบได้กับที่คนเรามองดูภายนอกมีศีรษะขนาดเท่าๆกัน แต่ศักยภาพของสมองที่อยู่ภายในแตกต่างกันได้มากแม้การศึกษาเลี้ยงดูจะเหมือนกันก็ตาม กรุณาอย่าหลงเชื่อว่าไทยรวยน้ำมันอย่างบางประเทศ แล้วที่เราขุดได้น้อยและได้ผลตอบแทนน้อยกว่าบางประเทศ (คือ ถัวเฉลี่ย57.6% หรือ 71.7% เฉพาะระบบ Thailand III ที่ใช้กับสัมปทานตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปัจจุบัน ต่ำกว่า 85%ในบางประเทศ) แปลว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาต้องโกงกันหมด

อันที่จริงรัฐบาลไหนๆก็สามารถจัดให้มีการอุดหนุนราคาน้ำมันให้ถูกๆได้ แต่เป็นเรื่องของนโยบายและการจัดลำดับความสำคัญ เพราะภาษีและรายได้ของรัฐมีจำกัด ซึ่งรวมถึงภาษีอากรและเงินปันผลจากรัฐวิสาหกิจอย่าง ปตท.ด้วย ผู้บริหารประเทศต้องดูว่าใช้เงินทำอะไรจะคุ้มค่าในการสร้างความอยู่ดีมีสุขแก่ประชาชนและความเจริญทางเศรษฐกิจซึ่งก็จะส่งผลถึงรายได้ของประชากรในที่สุด

นอกจากนี้ถ้าตั้งราคาน้ำมันให้ถูกๆ ก็อาจทำให้การใช้ไม่มีประสิทธิภาพ ดังที่เคยอธิบายในบทความก่อนหน้านี้ และตามข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการตกอันดับของประเทศมาเลเซียข้างต้น

ที่มา.https://www.facebook.com/notes/อานิก-อัมระนันทน์/คนไทยจ่าย-25-กับน้ำมันแพง..?
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------
Follow Us :
Blogger-IconFacebook-IconGoogle-Plus-IconPinterestTwitter-IconYouTube-Icon
----------------------------------------------------------------------------------------------
Tag:ฝึกอบรม,การอบรม,Training,Learning,Skills,สัมมนา,ประชาสัมพันธ์,สื่อโฆษณา,การเรียนรู้,การฝึกทักษะ,เสริมสร้างสติปัญญา,ค้นคว้าหาความรู้,เรียนรู้,ฝึกสมอง,เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ,รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เติมน้ำมันอย่างไรไม่ให้ถูกโกง



รู้ไว้ใช่ว่า "เติมน้ำมันอย่างไรไม่ให้ถูกโกง" ก่อนที่คุณจะตกเป็นเหยื่อของเด็กปั๊มกลุ่มนี้ สังเกตุกันสักนิด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเองกันค่ะ
ขอขอบคุณ: ที่มา.รายการ คาหนังคาเขา
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Villege, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------
Follow Us :
Blogger-IconFacebook-IconGoogle-Plus-IconPinterestTwitter-IconYouTube-Icon
----------------------------------------------------------------------------------------------
Tag: ฝึกอบรม, การอบรม, Training, Learning, Skills, สัมมนา, ประชาสัมพันธ์, สื่อโฆษณา, การเรียนรู้, การฝึกทักษะ, เสริมสร้างสติปัญญา, ค้นคว้าหาความรู้, เรียนรู้, ฝึกสมอง, เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ, รอบรู้เรื่องงานซ่อม, งานซ่อมบำรุง, ตู้จ่ายน้ำมัน, ตู้น้ำมัน, ตู้เติมน้ำมัน, ปั๊มน้ำมัน, ปั๊ม, ปั้มน้ำมัน, มือจ่ายน้ำมัน, มิเตอร์น้ำมัน, สายน้ำมัน, ถังน้ำมัน, น้ำมันเบนซิล, ดีเซล, เติมน้ำมัน, แกลลอนน้ำมัน, ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน, ปั๊มเคลื่อนที่, รถน้ำมันเชื้อเพลิง, รถจ่ายน้ำมัน, รถเติมน้ำมัน
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...