วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Nozzle (นอซเซิล) หัวฉีด

นอซเซิล (Nozzle) หัวฉีด หรือ มือจ่ายน้ำมัน เป็นอุปกรณ์ใช้วัดการไหล (flow measurement) ที่สามารถวัดการไหลได้ทั้งของเหลวและก๊าซ โดยใช้ทฤษฎีของเบอร์นูรี่ (Bernoulli's theorem) หรือหลักการวัดความดันแตกต่าง (differential pressure, ΔP) ระหว่างจุด 2 จุดที่ของไหลไหลผ่าน และนำค่าความดันแตกต่างที่วัดได้นั้นมาคำนวณหาค่าอัตราการไหล (ดังสมการที่ 1) เช่นเดียวกับแผ่นออริฟิส (orifice plate) และท่อเวนทูรี (venturi tube)
(1)
โดย  K คือ ค่าคงที่ของท่อและชนิดของของไหล (m3/s/ psi)
      ΔP คือ ค่าความดันแตกต่างระหว่างจุดสองจุดที่ของไหลไหลผ่าน (psi)
      โครงสร้างของนอซเซิลแสดงดังรูป โดยตำแหน่งในการติดตั้งจุดวัดความดันแต่ละจุดบริษัทผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนด

      
  โครงสร้างของนอซเซิลและลักษณะการติดตั้งภายในท่อ 
(ที่มา: นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)
นอซเซิลเป็นอุปกรณ์วัดการไหลที่ดัดแปลงมากแผ่นออริฟิส (orifice plate) และท่อเวนทูรี (venturi tube)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวัดการไหลจากการวัดด้วยแผ่นออริฟิสที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของพื้นที่หน้าตัดอย่างฉับพลัน โดยเปลี่ยนเป็นค่อย ๆ ลดพื้นที่หน้าตัดลงตามลักษณะของเวนทูรี ซึ่งการวัดด้วยนอซเซิลให้ค่าการวัดที่มีความเที่ยงตรง (precision) และความแม่นยำ (accuracy) มากกว่าการวัดการไหลด้วยแผ่นออริฟิส แต่มีราคาที่ถูกกว่าการวัดด้วยท่อเวนทูรี โดยทิศทางการไหลของของไหลสามารถวัดได้เพียงทิศทางเดียวเช่นเดียวกับแผ่นออริฟิส นอซเซิลเหมาะสำหรับวัดการไหลที่มีความเร็วสูงและไม่มีสารแขวนลอยปะปน เนื่องจากบริเวณด้านทางออกของนอซเซิล ของไหลจะมีลักษณะหมุนวน สารแขวนลอยเหล่านี้จึงอาจเข้าไปสะสมหรืออุดตันในบริเวณด้านหลังของนอซเซิลได้ ทำให้ค่าที่วัดได้คลาดเคลื่อน (error)

การติดตั้งและการบำรุงรักษาทำได้ยากกว่าแผ่นออริฟิส โดยนอซเซิลต้องถอดท่อออกเช่นเดียวกับท่อเวนทูรี ในขณะที่แผ่นออริฟิสมีลักษณะเป็นแผ่นสามารถถอดออกได้โดยไม่ต้องถอดท่อด้านหน้าและด้านหลังออก
รูปแบบของนอซเซิล
(ที่มา: http://expoexhibitor.isa.org)

หลักการทำงานของอุปกรณ์วัดการไหลชนิดนอซเซิล (nozzle)
แผ่นออริฟิส (orifice plate) เเละ ท่อเวนทูรี (venturi tube)
เรียบเรียง และ ตรวจทาน โดย : ผศ.ดร.นวภัทรา หนูนาค
แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา : การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)
http://expoexhibitor.isa.org/isa09/EC/forms/attendee/index.aspx?content=vbooth&id=105
: http://www.youtube.com/watch?v=oUd4WxjoHKY

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์

     เห็นขึ้นชื่อเรื่องแล้ว ไม่ต้องวิตกจนเกินไปนะครับ เพราะเรื่องที่จะกล่าวถึงนั้น จะเกิดขึ้นขณะที่ทำการจอดรถพร้อมกับการติดเครื่องยนต์เท่านั้น หากจอดรถและไม่มีการติดเครื่องยนต์ ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากรถยนต์สมัยใหม่หรือแม้รถยนต์รุ่นเก่า จะมีอุปกรณ์อยู่ตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์ จะช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมทางด้านมลพิษ นั่นก็คือ แคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ซึ่งอุปกรณ์นี้นั้น จะช่วยในการลดมลพิษ เพื่อให้ไอเสียจากการเผาไหม้ ก่อนออกสู่บรรยากาศให้มีอากาศบริสุทธิ์มากที่สุด แต่ตัวของมันเองก็ต้องอาศัยความร้อนในการทำงาน ถึงจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เมื่อมันทำงานแล้ว ตัวมันเองมีอุณหภูมิมากกว่า 1,000 องศาเซลเซียส เลยทีเดียว ไม่สามารถใช้มือเปล่าจับได้

          
รถยนต์เมื่อติดเครื่องยนต์ใหม่ๆ อุณหภูมิของเครื่องยนต์ต่ำ แคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ย่อมมีอุณหภูมิที่ต่ำด้วย แต่เมื่อตัวมันร้อนแล้ว จะมากกว่าตัวเครื่องยนต์หลายเท่าตัว ดังนั้น เมื่อเราใช้รถยนต์ไปได้สักพักหนึ่ง แน่นอนที่สุด แคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ก็จะร้อนได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่จะกล่าวถึงนั้น ถ้าจอดรถยนต์อยู่บนทางปกติทั่วไป หมายความว่า บนพื้นซีเมนต์หรือลาดยาง ก็จะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าจอดรถอยู่บนต้นหญ้าที่แห้ง, ใบไม้ใบหญ้าที่แห้ง พร้อมกับการติดเครื่องยนต์ไว้ อุณหภูมิบริเวณแคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ใต้ท้องรถจะมีสูง จะทำให้มีการติดไฟได้เหมือนกับการที่เราติดเตาถ่านแล้วเอากระดาษวางลงไป จะเห็นได้ว่า มีการติดไฟเกิดขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ถ้ามีการจอดรถบนพื้นหญ้าแห้งควรหลีกเลี่ยง ถึงแม้จะไม่เคยเกิดขึ้นหรือเป็นข่าวขึ้นมาก็ตาม

          
ลองนึกภาพ หากมีการติดไฟเกิดขึ้นใต้ท้องรถ แล้วใต้ท้องรถมีถังน้ำมันเชื้อเพลิง อะไรจะเกิดขึ้น (ระเบิดดีๆนี่เอง) ก็จริงอยู่ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลักษณะนี้ ยังไม่มีข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดใช่ไหมครับ กรณีที่มีข่าวว่า รถยนต์ตกข้างทางแล้วไฟไม่ลุกท่วม คนขับเสียชีวิตก็อาจเป็นไปได้ว่า มีการรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง มาปะทะกับความร้อน ไม่ว่าจะบริเวณใดหรือแคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ทำให้เกิดการลุกไหม้ก็ตาม เพียงแต่การพิสูจน์ไม่สามารถกระทำได้แค่นั้นเอง

          
เรียนผู้ใช้รถยนต์ทุกท่าน รถยนต์รุ่นใดที่มีแคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ควรที่จะต้องมีความระมัดระวังตามที่ได้กล่าวมา ยิ่งรถที่เป็นเครื่องยนต์เบนซินต้องระมัดระวังมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซลมีคำถามว่าแล้วขณะที่รถวิ่งเป็นอย่างไร ขณะที่รถวิ่งนั้น ความร้อนสะสมตรงบริเวณจะแคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ มีน้อยจะถูกระบายความร้อนขณะรถวิ่งออกไปทางด้านท้ายรถ ทำให้มีความร้อนน้อยกว่ารถจอด

          
จริงอยู่เมืองไทยเมืองร้อน การจอดรถติดเครื่องแล้วเปิดแอร์มีให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นสิทธิส่วนบุคคล ถึงแม้จะมีการรณรงค์อย่างมากก็ตาม ที่ว่า “จอดรถควรดับเครื่องยนต์” ก็มีผู้กระทำตามไม่มากนัก ดังหัวข้อเรื่อง ทางผู้เขียนมีเจตนาให้ผู้ใช้รถมีความปลอดภัย มนุษย์เรานี้ก็แปลกถ้าไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นจะไม่ค่อยยอมรับสักเท่าไหร่ ดังนั้น ตามที่เขียนมาขอฝากไว้นะครับ ท้ายนี้ ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน ที่ได้ติดตามผลงานของเราตลอดมาครับ

แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา :ห่วงใยในชีวิตและทรัพย์สิน / แผนกเทคนิค และ ฝึกอบรม / บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด (กรุงเทพฯ)

เคล็ดลับการดูแลรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV

วันนี้ขอนำเสนอด้วยเคล็ดลับการดูแลรถที่ ถูกวิธี เพื่อจะทำให้เครื่องยนต์สึกหรอช้า และน้ำมันหล่อลื่นมีอายุการใช้งานนานขึ้น สำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV เครื่องยนต์จะสึกหรอช้า และน้ำมันหล่อลื่นมีอายุการใช้งานนานขึ้น ด้วยเคล็ดลับการดูแลรถที่ถูกวิธี ดังนี้
ดูแลรถหลังติด NGV
ข้อแนะนำและการบำรุงรักษา
  รักษาระบบการจุดระเบิด (Ignition System) ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ (ดูตารางการซ่อมบำรุง)
  เครื่องยนต์จะสตาร์ทโดยใช้น้ำมันเบนซินเสมอ จึงควรมีน้ำมันเบนซินอยู่ในถัง ประมาณ 1 ใน 4 เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดกับปั้มเชื้อเพลิงอิเล็คทรอนิคส์
  อุปกรณ์บางส่วนทำงานด้วยระบบอิเล็คทรอนิคส์หรือระบบไฟฟ้า จึงควรระวังไม่ให้อุปกรณ์เหล่านี้สัมผัสกับน้ำ
  เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
  ตรวจสอบ/เปลี่ยนกรองอากาศทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
  ตรวจสอบ และตั้งบ่าวาล์วไอเสีย ทุกระยะใช้งานรถ 40,000 – 60,000 กม.
  เมื่อได้กลิ่นก๊าซ ให้หยุดการใช้ระบบก๊าซ โดยการปิดวาล์วหัวถังและกลับมาใช้งานระบบน้ำมันจากนั้นให้เข้ารับการตรวจสอบ จากศูนย์ติดตั้งทันที
  ควรเข้ารับการบริการตรวจเช็คจากช่างผู้ชำนาญของศูนย์บริการเท่านั้นเพื่ออายุที่ยาวนานของอุปกรณ์

วิธีการแก้ไขเบื้องต้นกรณีเครื่องยนต์ดับ เมื่อสวิทช์ไปทำงานด้วยก๊าซธรรมชาติ
สาเหตุของปัญหา
การแก้ไขเบื้องต้น
ก๊าซธรรมชาติในถังบรรจุหมด
เติมก๊าซธรรมชาติหรือสวิทช์ไปทำงานด้วยน้ำมันเบนซิน
ฟิวส์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม NGV ขาด
เปลี่ยนฟิวส์ (ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตำแหน่งของฟิวส์ที่ใช้ในระบบ)

วิธีการแก้ไขเบื้องต้นกรณีเครื่องยนต์ดับ เมื่อสวิทช์ไปทำงานด้วยก๊าซธรรมชาติ
สาเหตุของปัญหา
การแก้ไขเบื้องต้น
ก๊าซธรรมชาติในถังบรรจุหมด
เติมก๊าซธรรมชาติหรือสวิทช์ไปทำงานด้วยน้ำมันเบนซิน
ฟิวส์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม NGV ขาด
เปลี่ยนฟิวส์ (ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตำแหน่งของฟิวส์ที่ใช้ในระบบ)

กรณีกำลังเครื่องยนต์ตก หรือเร่งไม่ขึ้นเมื่อใช้ก๊าซธรรมชาติ
สาเหตุของปัญหา
การแก้ไขเบื้องต้น
ก๊าซธรรมชาติในถังบรรจุหมด
เติมก๊าซธรรมชาติ หรือสวิทช์ไปทำงานด้วยน้ำมันเบนซิน
อุปกรณ์ลดความดัน (NGV Reducer) สกปรกหรืออุดตัน
บิดสวิทช์ไปใช้งานด้วยน้ำมันเบนซิน และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
การจ่ายเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติไม่เหมาะสม
บิดสวิทช์ไปใช้งานด้วยน้ำมันเบนซิน และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

ตารางการซ่อมบำรุง (Service Schedule) การซ่อมบำรุงที่ระยะ 10,000 กิโลเมตร
อุปกรณ์
ขั้นตอนในการซ่อมบำรุง
หม้อลดความดัน (Regulator)
การรั่วซึม , ข้อต่อต่างๆ
โซลินอยด์วาล์ว (NGV Solenoid Valve)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
วาล์วเติมเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
(Master shut Off Valve)
ตรวจสอบหัวจ่าย (Probe) , ซีลและการรั่วซึม
เกจวัดความดัน (Pressure Gauge)
ตรวจสอบการรั่วซึม , ข้อต่อต่างๆ และท่อส่งก๊าซ
สวิทช์เปลี่ยนเชื้อเพลิง (Switch Indicator)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงาน
วาล์วปิดถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
(Cylinder Valve)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
การปรับตัว (Tuning)
ปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับสภาพเครื่องยนต์
หมายเหตุ : ควรเช็คระบบการทำงานจากศูนย์บริการที่ได้มาตรฐาน

การซ่อมบำรุงประจำปี
อุปกรณ์
ขั้นตอนในการซ่อมบำรุง
หม้อลดความดัน (Regulator)
ตรวจสอบความตึงเกลียวและการรั่วซึม
โซลินอยด์วาล์ว (NGV Solenoid Valve)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
วาล์วเติมเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
(Master shut Off Valve)
ตรวจสอบหัวจ่าย (Probe) , ซีลและการรั่วซึม
เกจวัดความดัน (Pressure Gauge)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงาน
สวิทช์เปลี่ยนเชื้อเพลิง (Switch Indicator)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงาน
ท่อเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติความดันสูง
ตรวจสอบการรั่วซึม ข้อต่อต่างๆ และท่อส่งก๊าซ
ถังบรรจุก๊าซธรรมชาติ
ตรวจสอบการรั่วซึม และสภาพภายนอก
วาล์วปิดถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
การปรับตัว Tuning
ปรับตั้งเครื่องยนต์ทั้งระบบน้ำมันเบนซินและระบบ
ก๊าซธรรมชาติ
กรองอากาศ (Air Filter)
ตรวจสอบการอุดตันตามระยะปกติหรือทุกๆ
5,000 – 10,000 กิโลเมตร
หัวเทียน (Spark Plug)
ตรวจสอบสภาพการทำงานตามระยะปกติหรือทุกๆ
5,000 – 10,000 กิโลเมตร


แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา :  http://pttweb2.pttplc.com ขอขอบคุณ.รูปภาพจาก PTT. NGV.

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์ตู้จ่ายน้ำมันเชลล์ในไทย

ก้าวแรกของ"หอย" ในบ้านเรา.!ประวัติศาสตร์ตู้จ่ายน้ำมันเชลล์ในไทย "พิพิธภัณฑ์เชลล์"

คุณ "ชัย" ภูมิใจแนะนำร้านที่ที่ขึ้นว่ามีเพียง 1 ใน 2 ของโลก


นี่ไง เอเชียติ๊ก..!

          บริษัท เอเชียติ๊ก ปิโตรเลียม พ.ศ.2439 พระยาสุรศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงเกษตรได้ทดลองสั่งรถยนต์คันแรกเข้ามาใช้ หลังจากนั้นอีก 9 ปี ประเทศสยามมีรถยนต์วิ่งเพียง 15 คันเท่านั้น รถยนยต์สมัยนั้น ใช้น้ำมันเบนซินของบริษัทเชลล์ บรรจุกระป๋องสีแดง มีฝาเกลียวทอง ร้อยลวดประทับตราหอย บรรจุกระป๋องละ 2 แกลลอน



2 ภาพนี้ติดที่ฝาผนังทางเข้า.

          บริษัท เอเชียติ๊ก ปิโตรเลียม พ.ส. 2472 มีพนักงานทั้งสิ้น 40 คนตั้งอยู่ที่ตึกบอร์เนียวมีปั้มน้ำมัน 9 แห่งราคาน้ำมันเบนซินแกลลอนละ 1.05 บาทพ.ศ. 2496 บริษัทเชลล์สั่งตู้จ่ายน้ำมันแบบไฟฟ้าเข้ามายี่ห้อ AVERY HARDOLL รุ่น AH 301X ปี ค.ศ. 1953 ตู้จ่ายพ่นสีแดง ประดับโคมแก้วหอย สีขาวขุ่นอยู่ด้านบน สวยงาทมาก พร้อมกับข้อเสนอน้ำมันเบนซินผสมสารไอซีเอ ปรากฏว่าได้รับความนิยม จากชาวไทยอย่างยิ่ง


จำกันได้หรือเปล่าครับ.!

          พ.ศ. 2505 ตู้จ่ายน้ำมันรุ่นที่ 2 ยี่ AVERY HARDOLL รุ่น AH 3320 ตัวตู้สีเหลืองขนาดเล็กกระทัดรัด สะดวกในการบริการลูกค้ามากกว่าแบบแรก เริ่มติดตั้งแทนตู้จ่ายรุ่นแรก
          พ.ศ.2506 บริษัทเชลล์เสนอน้ำมันซุปเปอร์เชลล์เม็ทธิลเบนซิน และเป็นที่มาของคำว่า น้ำมันซุปเปอร์ที่ฮิตติดปาก ผู้ใช้รถยนต์ชาวไทย น้ำมันซุปเปอร์นี้ใช้ตู้จ้ายยี่ห้อ TOKHEM


 
เริ่มคุ้นแล้วใช่ไหม๊.?

          พ.ศ. 2515 เริ่มจำหน่าย น้ำมันซุปเปอร์ผสมสาร เอ เอสดี ซึ่งเป็นสารผสมที่ ได้รับการรองรับจากสถาบันธอร์นตัน ประเทศอังกฤษ ว่าสารนี้สามารถทำให้ระบบทางเดินของไอดี และวาล์วไอดี สะอาด ทำให้เครื่องยนต์สูงขึ้นใช้ตู้จ่าย TOKHEM สีข้าวล้วนพร้อมแผ่นป้ายโฆษณา เอ.เอส.ดี.ติดตั้งด้านบนตู้จ่าย
          พ.ศ.2520 บริษัทเชลล์นำเข้าตู้จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ ยี่ห้อ WAYNE รุ่น 310 ตู้จ่ายอิเล็กทรอนิกส์มีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่าระบบเดิม ที่ใช้กลไกเฟืองขับ ถือเป็นตัวจ่าย อิเล็กทรอนิกส์รุ่นแรก
 

2526 ปิดฉากตู้จ่ายแบบกลไกเฟืองขับ หลังจากเชลล์นำเข้าตู่จ่าย Gilbago เฟืองขับรุ่นสุดท้าย



ป้ายนี้ราคาแพงที่สุดในร้านได้มากจากสปป.ลาว อายุมากกว่า 100 ปี


ขอบคุณที่มา : คิดนอกกรอบ -- กับ -- ผู้ชายหัวรั้น (ไม่ใช่หัวล้าน) เป็นความคิดเห็นส่วนตัวเพียวๆ ซึ่งไม่สนใจว่าจะสวนทางปืนใครหรือไม่ หรือเห็นชอบกับใครก็ไม่เกี่ยว เพราะถือว่าเป้นลูกชายคนเดียว จึงเอาแต่ใจตนเอง เมื่อเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาไปเยือน"เมืองจันทร์" เจอพิพิธภัณฑ์เชลล์เลยอยากนำเสนอ แค่นั้นเองPermalink: http://www.oknation.net/blog/paparusso
วันอังคาร ที่ 19 สิงหาคม 2551

แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”

ถังก๊าซ NGV

ถังก๊าซ NGV


          ถังบรรจุก๊าซ NGV ถือเป็นเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัด เพราะต้องเป็นตัวบรรจุก๊าซซึ่งมีความดันสูงถึง 3,000-3,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
ปัจจุบันมีการผลิตถังก๊าซอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
          ประเภทที่ 1 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม ประเภทที่ 2 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน ประเภทที่ 3 ถังที่ทำด้วยแผ่นอลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง ประเภทที่ 4 ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass)
          ชนิดแรกจะมีน้ำหนักมากที่สุดแต่ต้นทุนต่ำสุดครับ ส่วนชนิดที่ 3 และ 4 มีน้ำหนักเบากว่าแต่ต้นทุนค่อนข้างสูง โดยสามารถเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนต้นทุนและน้ำหนักของถังก๊าซทั้ง 4 ประเภทดังตารางต่อไปนี้

          สำหรับถังบรรจุก๊าซ NGV ที่ใช้อยู่ในเมืองไทยของเรา ส่วนใหญ่เป็นถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร (น้ำ) มีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78 กิโลกรัม

     
          หลายท่านอาจมีคำถามค้างคาจิตใจว่าติดตั้งถังก๊าซไว้ในรถยนต์แล้วจะปลอดภัยหรือเปล่า ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เพราะถังก๊าซทุกใบแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ หล่อขึ้นโดยไม่มีรอยต่อเป็นเนื้อเดียวตลอดทั้งถัง ขนาดใช้ปืนกล M.60 ซึ่งบรรจุกระสุนขนาด 7.62 มิลลิเมตร ยิงถังที่มีก๊าซ NGV บรรจุอยู่เต็มถัง ปรากฎว่าถังทะลุ ก๊าซพุ่งออกมาแล้วฟุ้งกระจายขึ้นไปในอากาศอย่างรวดเร็ว แสดงว่าถ้ารถของเรามีอุบัติเหตุทำให้ถังถูกเจาะจนทะลุ ก็จะไม่เกิดการระเบิดขึ้นครับ

          

          และเรื่องของการทนความดัน ถังทุกใบทนความดันได้ถึง 2.5 เท่าของความดันปกติครับ ต่อให้มีไฟมาเผาถังก๊าซก็จะไม่มีอันตราย เพราะวาว์ลหัวถังก็ระบายก๊าซออกมาจากถัง โดยอัตโนมัติ

     

          นั่นแสดงให้เห็นว่า หากเกิดอุบัติเหตุไฟใหม้รถยนต์ จนถังก๊าซมีอุณหภูมิหรือความดันเกินกำหนด วาว์ลนิรภัยที่หัวถังจะทำงานด้วยการระบายก๊าซออกจากถังทันทีเพื่อไม่ให้เกิดการระเบิดขึ้นครับ ทราบกันอย่างนี้แล้วก็คงหายห่วงแล้วใช่ไหมครับ รีบไปติดตั้งอุปกรณ์ NGV กันเลยนะครับ สนพ.รับรองว่าคุ้มแน่นอน

แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

การติดตั้ง NGVดีเซล


การติดตั้ง NGV ทดแทนน้ำมันดีเซล



การติดตั้งอุปกรณ์ NGV ทดแทนน้ำมันดีเซล มี 2 แบบ คือ
          - แบบใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่ผลิตจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรง แบบนี้มีให้เห็นในท้องถนนก็ได้แก่ รถโดยสารปรับอากาศของ ขสมก. ที่วิ่งให้บริการมาตั้งแต่ปี 2536
          - แบบระบบเชื้อเพลิงร่วม หรือ DDF ซึ่งเป็นระบบดูดก๊าซ ที่ใช้ NGV ร่วมกับน้ำมันดีเซล อัตราส่วนก๊าซธรรมชาติต่อน้ำมันดีเซลจะขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์นั้นๆ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ และคุณภาพของก๊าซที่ใช้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะใช้ก๊าซ 50% น้ำมันดีเซล 50% สามารถจะหยัดค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 25-30

การติดตั้ง NGV ทดแทนดีเซลนั้นใช้ระบบดูดก๊าซเพียงระบบเดียว แต่แบ่งการทำงานออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
          - แบบดูดก๊าซ (Fumigation) ที่มีระบบควบคุมแบบธรรมดาหรือ Mechanic Control มีหลักการทำงานคือ ก๊าซธรรมชาติความดันสูงจากถังบรรจุไหลผ่านมายังอุปกรณ์ลดความดัน จ่ายก๊าซไปผสมกับอากาศ ที่บริเวณท่อร่วมไอดี โดยใช้อุปกรณ์ผสมก๊าซกับอากาศ (Gas Mixer) และผ่านเข้าห้องเผาไหม้ ปริมาณการจ่ายก๊าซ จะขึ้นอยู่กับการปรับตั้งสกรูปรับก๊าซขณะเดียวกันก็จ่ายน้ำมันดีเซลเข้าห้องเผาไหม้เพื่อจุดระเบิดนำการเผาไหม้ของก๊าซธรรมชาติ
          - แบบดูดก๊าซ (Fumigation) ที่มีระบบควบคุมแบบวงจรปิด
ระบบนี้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมการจ่ายก๊าซและน้ำมันดีเซล ซึ่งจะมีอุปกรณ์ควบคุมอิเลคทรอนิคส์ (Electronic Control Unit) หลักการทำงานคล้ายๆ กับแบบธรรมดา แต่จะสามารถป้อนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไปควบคุมการจ่ายก๊าซให้เหมาะสมกับปริมาณอากาศที่เข้าห้องเผาไหม้ และปรับการจ่ายน้ำมันดีเซลที่ปั๊มเพื่อให้อัตราส่วนก๊าซธรรมชาติต่อน้ำมันดีเซลเหมาะสมสำหรับการเผาไหม้ที่สภาวะการทำงานต่างๆ ของเครื่องยนต์ ทั้งนี้ประสิทธิภาพการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงร่วมจะขึ้นอยู่กับการออกแบบโปรมแกรมควบคุมและการปรับตั้งอัตราส่วนผสมก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดีเซล ระบบนี้จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและช่วยลดปริมาณควันดำลง

แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลัง และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และวิชาการ.คอม

วิธีการดูแลรถยนต์ที่ใช้ NGV

วิธีการดูแลรถที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ


ข้อควรระวังในการเติมก๊าซ



แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา : สำนักงานนโยบายและวางแผนพลังงาน

การติดตั้ง NGVเบนซิน

การติดตั้ง NGV ทดแทนน้ำมันเบนซิน

สำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือ NGV ทดแทนน้ำมันเบนซิน ถ้าติดตั้งระบบ NGV เพียงแค่ปรับสวิตช์เลือกใช้เชื้อเพลิงเท่านั้น คุณก็จะสามารถเลือกใช้น้ำมันเบนซิน หรือก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงก็ได้ ซึ่งรูปแบบการใช้ NGVทดแทนน้ำมันเบนซิน
แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
- ระบบฉีดก๊าซ หรือ Injection เหมาะกับรถเครื่องยนต์หัวฉีดประกอบด้วยชุดอุปกรณ์หลักๆ คือ ชุดควบคุมอิเล็คทรอนิคส์ อุปกรณ์ปรับความดันก๊าซ อุปกรณ์ปรับเวลาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ สวิตช์เลือกชนิดเชื้อเพลิง ถังก๊าซ ชุดจ่ายก๊าซและตัวตรวจวัดออกซิเจน ระบบนี้จะมีการจ่ายเชื้อเพลิงก๊าซด้วยหัวฉีดที่ท่อไอดีของแต่ละสูบโดยเฉพาะ และควบคุมส่วนผสมแบบใช้อากาศพอดี เพื่อการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ซึ่งจะใช้กับเครื่องยนต์แบบหัวฉีดเท่านั้น
- ระบบดูดก๊าซ หรือ Fumigation ซึ่งเหมาะสำหรับรถเครื่องยนต์คาบูเรเตอร์ จะมีอุปกรณ์ผสมก๊าซและอากาศ ทำหน้าที่ผสมอากาศ ที่เครื่องยนต์ดูดเข้าไปกับก๊าซ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม กับการเผาไหม้ก่อนที่จะจ่ายเข้าเครื่องยนต์ อุปกรณ์หลักๆ ก็ได้แก่ ถังก๊าซ หัวเติมก๊าซ หม้อต้มหรืออุปกรณ์ปรับความดันก๊าซ อุปกรณ์ปรับเวลาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ และสวิตช์เลือกชนิดเชื้อเพลิง

ระบบดูดก๊าซแบ่งรูปแบบควบคุมการจ่ายก๊าซเป็น 2 รูปแบบ คือ
- แบบวงจรเปิด (Open Loop) และแบบวงจรปิด (Close Loop) ปริมาณก๊าซที่จ่ายจะเข้าไปผสมกับอากาศที่บริเวณท่อร่วมไอดี โดยอาศัยแรงดูดจากอากาศที่ป้อนเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ทั้งนี้ปริมาณก๊าซที่จ่ายจะขึ้นอยู่กับการปรับตั้งสกรูปรับก๊าซหรือวาล์วจ่ายก๊าซที่ผู้ติดตั้งทำการปรับแต่ง ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถควบคุมประสิทธิภาพการเผาไหม้ของก๊าซให้สมบูรณ์ได้ในทุกช่วงการทำงานของเครื่องยนต์ตามสภาวะการขับขี่ต่างๆ

- แบบวงจรปิด นอกจากอุปกรณ์พพื้นฐาน ระบบนี้ยังประกอบด้วยชุดควบคุมอิเล็คทรอนิคส์ (Electronic Control Unit) ชุดควบคุมการจ่ายก๊าซ (Actuator) ตัวตรวจวัดตำแหน่งปีกผีเสื้อ (Throttle Position Sensor)และตัวตรวจวัดออกซิเจน (Oxygen Sensor) แบบวงจรนี้จะควบคุมส่วนผสมแบบใช้อากาศพอดีสำหรับการเผาไหม้ (Lambda=1) ทำให้เกิดการเผาไหม้ของก๊าซสมบูรณ์ ทั้งนี้ปริมาณก๊าซที่จ่ายไปผสมกับอากาศที่บริเวณท่อร่วมไอดีจะถูกควบคุมโดยชุดควบคุมการจ่ายก๊าซ ซึ่งจะมีชุดควบคุมอิเล็คทรอนิคส์ควบคุมการเปิด-ปิดของโซลินอยล์วาล์วอีกทีหนึ่ง ปริมาณก๊าซที่จ่ายจะมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณออกซิเจน ที่เหลือจากการเผาไหม้ในท่อไอเสีย โดยใช้ตัวตรวจวัดออกซิเจน และตำแหน่งการเปิดปิดของปีกผีเสื้อมาประมวลผลการจ่ายปริมาณก๊าซให้เหมาะกับการทำงานของเครื่องยนต์ ตามสภาวะการขับขี่ต่างๆ

          เครื่องยนต์แบบหัวฉีดก็สามารถตั้งระบบดูดก๊าซได้ ซึ่งค่าติดตั้งมีราคาถูกกว่าระบบฉีดก๊าซแต่สมรรถนะของเครื่องยนต์จะลดลงเล็กน้อย เพราะอาจเกิดปัญหาเรื่องการเผาไหม้ ควรเลือกติดตั้งระบบที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของเราน่าจะปลอด ภัยกว่า
แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลัง และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และวิชาการ.คอม

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เจาะลึก E85 พลังงานทางเลือกที่คุณควรรู้!!!

เจาะลึก E85 พลังงานทางเลือกที่คุณควรรู้!!!

ทุกวันนี้ไม่เห็นมีใครไม่บ่นเรื่องราคาน้ำมัน แพง จะขึ้นทีลงที เรียกว่าเฮกันยกใหญ่ จนจับตาทุกฝีก้าวของบริษัทยักษ์ใหญ่พลังงานในไทย แต่ว่า ทุกวันนี้พลังงานทางเลือกมีการรุดหน้าไปมาก หนึ่งในนั้นเป็นพลังงานทางเลือก E85 ที่เริ่มมีมากขึ้นทุกวัน

น้ำมัน E85 เชื่อว่าหลายคนคงเริ่มคุ้นเคยมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากราคาน้ำมัน และ ความสามารถของรถยนต์หลายรุ่นทุกวันนี้ที่สามารถใช้พลังงานทางเลือกที่หลาก หลายมากขึ้น

ราคาที่เพียงแค่ลิตรละประมาณ 25 บาท ใช้ได้ยาวนานพอกับน้ำมันจริง หลายคนขับบอกว่ารู้สึกว่าแรงขึ้น เคยตั้งตำถามไว้ไหม ว่าทำไม เพราะ และ แล้ว ทำไมถึงเรียก E85 แล้วต่างจากนั้นมันทั่วไปอย่างไร ได้เวลาที่คุณจะต้องรู้จักมันจริงๆเสียที

E85 ...ทีเด็ดพลังงานทางเลือก

ถ้า พูดถึง คำว่า E85 แล้ว เราหลายคนน่าจะรู้จักมันพอสมควร บ้าง แต่ E85 เป็นชื่อที่ทดแทนจากการเรียกตามสวนผสมขงน้ำมันพลังงานทางเลือก ซึ่งใช้เอทานอลซึ่งเป็นแอลลกฮอล์ที่ได้จากการสกัดจากพืช ผสมเข้ากับเนื้อน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ตั้งแต่อดีตมาจวบจนปัจจุบัน

น้ำมัน E85 ได้รับความนิยมอย่างมากในยุโรป และเช่นเดียวกับในบางประเทศในแอฟริกาใต้ โดยเฉพาะในบราซิล ซึ่งค่อนข้างให้ความสำคัญในเรื่องพลังงานทางเลือกตัวนี้ ส่วนในประเทศไทยพลังงานทางเลือก E85 ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่เพิ่งจะมานิยมในพักหลัง เนื่องจากการรองรับของรถยนต์ที่มีมากขึ้นในตลาดปัจจุบัน



ข้อดีของ E85 ไม่บอกก็คงรู้ว่ามันมีราคาค่อนข้างถูกพอสมควร เมื่อเทียบกับน้ำมันทั่วไป โดยมีราคาถูกกว่าน้ำมันแก็สไซฮอล 95 ที่อัตราผสมเททานอลร้อยละ 10 ถึง 16 บาท และ ยังถูกกว่า E20 ซึ่งเป็นมาตรฐานในรถยนต์ปัจจุบันถึง 11.2 บาท (ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์) จนพูดได้อย่างเต็มปากว่ามีความแตกต่างทางด้านราคาจนน่าพอใจ

แต่แม้จะเป็นน้ำมันที่มีราคาถูกจนน่าใจหาย ซึ่งแม้แต่คอแก๊สยังชายตามามอง แต่กลับมีสมรรถนะในการจุดวาบไฟหรือขุดระเบิดที่ดีกว่าด้วยค่าออกเทนถึง 105 ดีกว่าน้ำมันธรรมดาเสียอีก และยังปล่อยไอเสียต่ำกว่า จึงไม่น่าแปลกใจที่มันจะได้รับความนิยม

ประหยัดกว่า ดีกว่า แต่ซดกว่า …จริงหรือเท็จ

ถึงทุกอย่างฟังดูน้ำมัน E85 จะมีภาษีดีว่าในทุกมุมมอง แต่ก็เฉกเช่นพลังงานทางเลือกหลายๆ ตัวที่เราคุ้นเคย น้ำมัน E85 นั้นมีความแตกต่างในเรื่องเนื้อน้ำมันที่สูบเข้าสู่เครื่องยนต์คุณ

เมื่อสักพักใหญ่มาแล้ว ทางผู้เขียนเคยได้ไปเยี่ยมชมโรงงาน ผลิตเอทานอลรายใหญ่ของประเทศที่ชื่อ เพโทรกรีน โดยในครั้งนั้น ได้มีโอกาสสอบถามตามความจริงที่เกิดขึ้นจากการใช้รถยนต์ ที่รองรับพลังงานทางเลือก E85 ซึ่งตามคำกล่าวของผู้ผลิตเองก็ยังยอมรับว่า การใช้พลังงานทางเลือก น้ำมัน E85 จะซดน้ำมันกว่าราว ร้อยละ 20

เนื่องจากจะต้องมีการจ่ายน้ำมันเข้าไปสู่ห้องเผาไหม้มากกว่า โดยทางผู้ผลิตเองได้นำรถยนต์รุ่นหนึ่งในกลุ่มซิตี้คาร์ (ตอนนั้นยังไม่มีคันไหนสามารถใช้ E85 ได้ แต่ใช้วิธีการดัดแปลงให้สามารถรองรับได้ มาเปรียบเทียบหาอัตราประหยัดน้ำมัน

โดยจากการทดลอง ด้วยการเติมน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ 91 รถจะมีอัตราประหยัดน้ำมันเมืองที่ 11 ก.ม./ลิตร และมีค่าใช้จ่าย กิโลเมตรละ 3.15 บาท/กิโลเมตร ส่วนนอกเมืองทำได้ 16 ก.ม./ลิตร และมีค่าใช้จ่ายกิโลเมตรและ 2.17 บาท/ก.ม.

เช่นเดียวกันเมื่อเติมแก๊สโซฮอล์ E20 กลับมีอัตราประหยัดลดลงเหลือ 10.56 ก.ม./ลิตรและมีค่าใช้จ่ายราวๆ 3.05 บาทต่อกิโลเมตร ส่วนนอกเมืองมีอัตราประหยัด 15.36 กิโลเมตร/ลิตร และมีค่าใช้จ่ายต่อการเดินทาง 2.10 บาท/กิโลเมตร

ส่วนท้ายสุด เติมพลังงานทางเลือก E85 ในเมืองมีอัตราประหยัดลดลงมาอยู่ที่ 8.25 กิโลเมตร/ลิตร แต่กลับกันด้วยราคาน้ำมันที่ถูกลง ทำให้มีค่าใช้จ่ายเดินทางเพียง 2.59 บาท/กิโลเมตร และเช่นเดียวกันสำหรับนอกเมือง ลดลงเช่นกันจนมาอยู่ที่ 12 กิโลเมตร/ลิตร แต่มีราคาค่าใช้จ่ายในการเดินทางถูกลงเพียง 1.78 บาท/กิโลเมตร

รถใช้ E85 เรื่องนี้ต้องเข้าใจ

ฟังดูแล้วเรื่องน้ำมัน E85 ก็คงเป็นที่สนใจของใครหลายคนใช่น้อย มาถึงตรงนี้เชื่อเลยว่าหลายคนอาจจะมองรถของตัวเองแล้วว่าจะทำอย่างไรให้ใช้ E85 ได้ ซึ่งที่จริงมันก็ไม่ยาก แต่ไม่ใช่เพียงเขาบอกว่ากล่องเสียบแล้วใช้ได้ จะรีบหุนหันพันแล่นเสียงเงินโดยทันที

ที่จริงรถที่ใช้พลังงานทางเลือก E85 ได้นั้น ถูกเรียกว่า Flex Fuel Vehicle หรือว่า FFV ซึ่งหมายถึงเป็นรถยนต์ที่สามารถเติมน้ำมันได้หลากรูปแบบ ทั้งเบนซิน และแก๊สโซฮอล ซึ่งแม้รถที่เราเห็นนี้จะมีหน้าตาคล้ายกับรุ่นที่เราขับ แต่ก็ต้องมีการดัดแปลงในหลายๆ เรื่อง เพื่อให้รองรับต่อการใช้งานพลังงานทางเลือกเช่นกัน

ในแง่หนึ่งด้วยส่วนผสมที่เป็นแอลกอฮอลล์มากกว่า ทำให้น้ำมัน E85 มีคุณสมบัติกัดกร่อนมากกว่า น้ำมันเบนซินทุกชนิดที่มีอยู่ในตลาด ซึ่งทำให้ต้องมีการปรับแต่ชิ้นส่วนโดยเฉพาะส่วนประกอบที่เป็นยางต่างๆ ซึ่งสัมผัสตรงต่อน้ำมัน เช่น โอริงหัวฉีด ท่อยางทางเดินน้ำมัน ทั้งหมดนี้ ต้องใช้ท่อที่มีคุณสมบัติทนฤทธิ์กัดกร่อนเป็นพิเศษ

นอกจากนี้ ชุดถังน้ำมันก็ต้องเป็นวัสดุที่ทนการกัดกร่อน เช่นถังพลาสติกแบบพิเศษ รวมถึงปั้มเชื้อเพลิงที่คอยส่งตรงไปยังเครื่องยนต์ก็เช่นกัน ควรจะรองรับการทนการกัดกร่อนของ E85 และท้ายสุดต้องมีตัวจูนการสั่งจ่ายน้ำมันซึ่งจะสามารถวัดอัตราส่วนผสมของ น้ำมันในระบบได้ ไปประมวลผลต่อการสั่งจ่ายจากคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมเครื่องยนต์หรือ ECU

ฟังดูแล้วคงไม่หมูอย่างที่คิดเลยใช่ไหมครับ ..สำหรับการจะทำให้รถคันหนึ่งสามารถใช้พลังงานทางเลือกสุดเจ๋ง E85 ได้ ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงพวกกล่องที่ปรับให้รถคุณรองรับ E85 ได้ ราคา 3,000 ยันหลายหมื่น ว่าจะใชได้ได้หรือเปล่า ถามว่าติดแล้วใช้ได้หรือไม่ .ได้แน่นอน แต่ไม่ใช่ในระยะยาวยันชั่วลูกชั่วหลาน เพราะไม่ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์โดยเฉพาะท่อยาง ก็ท่อยางจะต้องซาโยนาระก่อนแน่นอน

อย่างไรก็ดี แม้รถเก่าจะปรับแต่งยากหรือมีค่าใช้จ่ายสูง แต่รถใหม่ทุกวันนี้หลายรุ่นเริ่มยอมรับพลังงานทางเลือกมากขึ้น ซึ่งรถเหล่านี้หลายรุ่นก็ไม่ได้มีราคาที่แพงอย่างคิด และรถที่ใช้ E85 ได้ในบ้านเราทุกวันนี้ มีวางจำหน่ยมากขึ้นหลายยี่ห้อกว่าเดิม ได้แก่

- Chevrolet Sonic 1.6
Chevrolet Captiva Gasoline
Chevrolet Cruze
Honda City 2014
Honda Jazz 2014
Honda Accord
Honda CR-V
Toyota Corolla 2014 รุ่น 1.8
Volvo S60 DRIVe
Volvo S80 DRIVe

และในอนาคตอันใกล้นี้ อาจจะมีตามออกมาเพื่อวางตลาดเพิ่มเติมอีกในอนาคต

แม้น้ำมัน E85 จะประหยัด จะดี แต่ทุกวันนี้ปัญหาหลักสำคัญ ยังคงเป็นเรื่องจำนวนสถานีบริการที่ยังคงน้อยอยู่ในการหาเติม แต่ที่ผ่านมาก็มีการพัฒนามากขึ้น และถ้าคุณสนใจที่จะหันมาคบหาพลังงานที่มีความประหยัด และเปี่ยมด้วยสมรรถนะ น้ำมัน E85 ก็เป็นทางออกที่ดีไม่น้อย

แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา : เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง
ข้อมูลบางส่วนจากการสัมมนา ของ บริษัท เพโทรกรีน จำกัด
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...