- คือสารที่มีคุณสมบัติในการละลายสารอื่นได้ดี ระเหยได้ง่าย มีความไวไฟสูง มักมีใช้กันในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ หรือ มีผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันโดยทั่วไป เช่นการผสมสี การพ่นสี แลคเกอร์ กาวยาง น้ำยาทำความสะอาดชิ้นงานและเครื่องจักร น้ำยาขจัดคราบรอยเปื้อน น้ำยาลบคำผิด ฯลฯ ตัวอย่างของสารที่ใช้กัน เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน โทลูอีน ไซลีน ไตรคลอ โรอีเธน ไตรคลอโรเอทธีลีน เป็นต้น
การระเหยของสาร
- คือการที่สารนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของอากาศ เราหายใจเข้าไปแล้วสารจะถูกซึ่มเข้าสู่กระแสเลือด ผ่าน หัวใจแล้วถูกสูบฉีดเข้าไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายและทำอันตรายต่ออวัยวะนั้น ๆ เช่น ตับไต สมองและเป็นอันตรายต่อ สุขภาพร่างกาย
อันตรายของสารทำละลายต่อสุขภาพ.
อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ- เฉียบพลัน หากหายใจเอาไอระเหยของสารเข้าไปมาก ๆ จะรู้สึกว่าหายใจขัด มีอาการระคายเคืองในคอ มึนศีรษะ คลื่นเหียน ระบบทางเดินอาหารอาจหยุดทำงานได้
- เรื้อรัง สารเคมีจะเข้าสู่ถุงลมปอด ซึ่มเข้าสู่กระแสเลือด และนำไปสู่อวัยวะภายในต่าง ๆทำให้เกิดโรคตับ โรคไต หรือ ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเนื้อเยื่อของระบบทางเดินหายใจ เมื่อได้รับสารทำละลายบ่อย ๆ อาจทำให้ติดสารนั้นได้เช่น การติดทินเนอร์
อันตรายต่อผิวหนัง
- เฉียบพลัน สารทำละลายมีคุณสมบัติในการละลายไขมันได้ดี หากสัมผัสที่ผิวหนังจะละลายไขมันที่ผิวหนัง ทำให้ผิวหนัง แห้ง แตก ระคายเคือง และไหม้ได้ อีกทั้งยังสามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด และทำอันตรายเช่นเดียวกับสารที่เข้าทางระบบ ทางเดินหายใจ
- เรื้อรัง หากสัมผัสกับสารทำละลายเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เป็นโรคผิวหนังอักเสบ (Contact Dermatitis)โดยมีอาการเป็นตุ่ม พุพอง รู้สึกเจ็บง่ายต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอักเสบรุนแรงขึ้น
อันตรายต่อดวงตา
- เฉียบพลัน ถ้าสารทำละลายกระเซ็นเข้าตาจะทำให้เกิดอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล เกิดอาการระคายเคือง
- เรื้อรัง เกิดจากการทำงานในบริเวณที่มีละออง ไอระเหยของสารทำลายเป็นเวลานาน ๆ มีอาการคือ ตาพร่ามัว เยื่อบุตาระคายเคือง สมรรถภาพการมองเห็นเสื่อมแบบถาวร
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารละลาย.
- การหายใจ ให้นำผู้นั้นออกมารับอากาศบริสุทธิ์ บางครั้งอาจต้องทำการผายปอด หากผู้ได้รับสารหยุดหายใจ
- การกิน ห้ามให้ดื่มกินอะไรตามไป นอกจากมีระบุไว้ในเอกสารความปลอดภัยของสารเคมีตัวนั้น ๆ (MSDS : Material Safety Data Sheet) แล้วนำส่งแพทย์ทันที
- ผิวหนัง เปิดน้ำให้ชะผ่านบริเวณที่โดนสารละลาย 15-20 นาที โดยห้ามทำการขัดถูบาดแผล ขณะเดียวกันก็ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีออกในขณะที่น้ำยังชะอยู่ ปิดแผลด้วยผ้าหรือวัสดุที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ห้ามใส่ครีมลงบนแผล ดูอาการหากไม่ดีขึ้น ให้พาไปพบแพทย์
- ตา ให้ไปที่ที่ล้างตาที่ใกล้ที่สุดทันที หากไม่มีให้ไปที่ก๊อกน้ำ สำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ให้ถอดออกเพราะ จะเป็นตัวจับสารทำละลายไว้ ให้น้ำชะล้างตา 15-20 นาที โดยล้างจากหัวตาไปหางตา โดยให้ตาที่โดนสารนั้นอยู่ข้างล่างเพื่อ ไม่ไห้ตาอีกข้างรับสารไปด้วย ห้ามใส่ครีม ดูอาการหากยังไม่ดีขึ้นให้พาไปพบแพทย์
ข้อแนะนำสำหรับผู้ทำงาน กับ สารทำละลาย.
- ผู้ใช้ควรศึกษาคุณสมบัติและอันตรายของสารทำละลายชนิดที่ใช้อยู่ ซึ่งหาดูได้จากเอกสารความปลอดภัยของสารเคมี (MSDS : Material Safety Data Sheet) หรือฉลากที่ติดมากับผลิตภัณฑ์
- ใช้สารทำละลายด้วยความระมัดระวัง และถูกต้องตามคำแนะนำ
- ในส่วนของงานที่ใช้สารทำละลายควรทำในระบบปิด หรือมีการระบายอากาศที่ดี ควรแยกการทำงานนี้ออกจากส่วนอื่น เพื่อป้องกันผู้อื่นไม่ให้รับสารเข้าไป
- ป้องกันไม่ให้สารทำละลายเข้าสู่ร่างกาย โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันที่ถูกต้อง และเหมาะสมขณะทำงาน รวมทั้งทราบถึงวิธีการใช้และการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี
- ห้ามใช้สารทำละลายล้างทำความสะอาดมือหรืออวัยวะอื่น ๆ
- ห้ามสูบบุหรี่ขณะทำงาน เพราะทำให้สารทำละลายเข้าสู่ร่างกาย และอาจเกิดอัคคีภัยได้เพราะมีความไวไฟสูง
- หลังทำงานควรล้างมือหรืออาบน้ำให้สะอาดด้วยสบู่
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ควรใช้ขณะทำงาน
- อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจชนิดป้องกันละออง ไอระเหยของสารเคมี
- อุปกรณ์ป้องกันสารเคมีกระเด็นเข้าตา
- ถุงมือยาง ผ้ากันเปื้อนสำหรับสารเคมี ตามชนิดของสารทำละลาย
หลักการป้องกันอันตราย และ เหตุการฉุกเฉิน
- ต้องจัดสถานที่สำหรับเก็บสารทำละลายให้เป็นสัดส่วน ห้ามเก็บรวมกับสารเคมีตัวอื่น ๆ เช่น กรด ด่าง หรือสารไวไฟ
- เก็บสารทำละลายไว้ในภาชนะปิด อยู่ในที่เย็น การระบายอากาศดี และควรแบ่งสารทำละลายมาใช้คราวละน้อย ๆ
- กรณีการเกิดเพลิงไหม้ สารทำละลายบางชนิดสามารถสลายตัวแล้วให้แก๊สพิษ ดังนั้นในการดับเพลิงต้องสวมอุปกรณ์ ป้องกันระบบหายใจ
- น้ำยาดับเพลิงควรใช้ชนิดโฟม ที่ไม่ละลายในตัวทำละลาย
- ในกรณีทำสารทำละลายหก รั่ว ต้องรีบดำเนินการควบคุมให้เร็วที่สุด โดยปฎิบัติตามคู่มือแนะนำความปลอดภัย
- สารทำละลายบางชนิดเป็นสารไวไฟ การนำมาใช้งานจะต้องระมัดระวัง ห่างจากแหล่งความร้อนหรือประกายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต้องใช้ต้องเป็นแบบป้องกันการเกิดประกายไฟ หรือการระเบิด เช่น มอเตอร์ สวิทช์
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: +6689 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Villege, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
-----------------------------------------------------
Tag:ฝึกอบรม,การอบรม,Training,Learning,Skills,สัมมนา,ประชาสัมพันธ์,สื่อโฆษณา,การเรียนรู้,การฝึกทักษะ,เสริมสร้างสติปัญญา,ค้นคว้าหาความรู้,เรียนรู้,ฝึกสมอง,เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ,รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,E20,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น