ขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต
2.ลำดับต่อมาก็มาที่ขั้นตอนการสตาร์ทรถและอุ่นเครื่อง ทำไม ต้องอุ่นเครื่องก็เพราะว่าเครื่องยนต์ที่ดีและสึกหรอน้อยที่สุดประหยัดที่ สุดจะทำงานอยู่ในช่วง90-95เซลเซียสแต่ด้วยความเร่งรีบของ สังคมปัจจุบันทำให้คนส่วนใหญ่มักจะขึ้นรถสตาร์ท เครื่องติดแล้วก็ขับออกไปเลยขณะที่เครื่องเย็นอยู่การหล่อลื่นจึงยังไม่ สมบูรณ์ทำให้ต้องใช้กำลังฉุดลากมากกว่าปกตินอกจากจะเปลืองน้ำมันแล้วยัง สึกหรอมากด้วยบางคนก็ใจเย็นเหลือเกินติดเครื่องทิ้งไว้นาน 4-5นาทีกว่าจะออกรถซึ่งก็อาจจะเกินความจำเป็นไปหน่อยมันดีต่อเครื่องยนต์แต่ ก็สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยใช่เหตุ และวิธีที่เหมาะสมของการอุ่นเครื่องคือ ต้อง ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดก่อนสตาร์เครื่อง(ลดโหลดของเครื่องยนต์ให้น้อยที่ สุด) และต้องอุ่นเครื่องไว้ 30-60 วินาทีในหน้าร้อนหรือ 45-90 วินาทีในหน้าหนาวหรืออากาศเย็นให้เข็มความร้อนขึ้นมาถึงขีดต่ำสุดก็เพียงพอ แล้วจากนั้นจึงค่อยเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการบางคนจะถามว่า แล้วขับมาจอดซักพักเครื่องยังร้อนอยู่เวลาจะขับอีกต้องอุ่น เครื่องหรือเปล่า อันนี้ก็ถือว่ายังจำเป็นอยู่เพื่อให้เวลากับน้ำมันหล่อลื่นที่ค้างอยู่ใน ส่วนต่างๆของระบบที่เริ่มมีความแตกต่างกันของอุณหภูมิกันแล้วได้ กลับไปหมุน วนถ่ายเทความร้อนซึ่งกันและกันเพื่อจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง เพียงแต่ระยะเวลาในการอุ่นเครื่องใช้แค่ 10-15 วินาทีก็เพียงพอแล้ว
3.การออกตัวหลาย คนยังเป็นประเภทถ้าไม่ได้ยินเสียงล้อบดถนนตอนออกตัวแล้วไม่สบายใจ การออกตัวเป็นหัวใจสำคัญของการประหยัดและลดการสึกหรอด้วยเช่นกันเพราะ เกียร์ 1 คือเกียร์ที่กินน้ำมันมากเป็นอันดับสองรองจากเกียร์ถอยหลัง เพราะต้องใช้แรงฉุดอย่างมหาศาลที่จะลากตังถังจากหยุดนิ่งให้เคลื่อนตัว การออกตัวแรงๆนอกจากจะเปลืองเชื้อเพลิงแล้วยังสึกหรอมาด้วยทั้งยางและ เครื่องยนต์ดังนั้นการออกตัวที่ดีจึงควรทำอย่างนิ่มนวลที่สุด เกียร์ออโต้ก็ควรค่อยๆปล่อยเบรคและกดคันเร่งเบาๆอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มความเร็ว ส่วนเกียร์ธรรมดาก็ค่อยไปล่อยครัชท์แล้วกดคันเร่งเลี้ยงรอบเครื่องไว้ที่ 1000-1200 รอบ ทำได้ดังนี้ก็จะนิ่มนวลประหยัดและสึกหรอต่ำไม่ควร ออกตัวด้วยเกียร์ 2 มันให้อัตราเร่งสูงกว่าก็จริงแต่การจ่ายน้ำมันก็มากไม่ต่างจากเกียร์ 1 เท่าไหร่แต่ต้องแลกมาด้วยความสึกหรอของเครื่องยนต์ที่มหาศาลเครื่องจะหมด กำลังอัดเร็วกว่าปกติมากสุดท้ายก็ยิ่งเปลืองน้ำมันแถมควันกลบตูด อีกต่างหาก ไม่นานก็ต้องบูรณะครั้งใหญ่ซึ่งจะเร็วกว่าพวกที่ใช้ตามปกติเป็นแสนโลหรือ กว่า 2ปีเลยทีเดียว(เสียตังค์โดยใช่เหตุ)
4. การขับขี่ หลังจากออกตัวมาแล้วก็ต้องเร่งเครื่อง เกียร์ออโตก็ได้พูดไปแล้วคือกดคันเร่งลงอย่างนิ่มนวลต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และควรใช้ O/D ในความเร็วสูงซึ่งจะทำให้รอบต่ำลงมาช่วยประหยัดน้ำมัน ส่วนปุ่ม ETC นั้นถ้าไม่ได้เข่งกับใครก็ไม่ควรจะใช้บ่อยนักเพราะมันก็คือการลากเกียร์นั่น เองซึ่งจะทำให้เกิดการสึกหรอมากขึ้น เปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้นก็ยังส่งผลต่ออายุงานของเกียร์ด้วย ที่นี้มาว่ากันที่เกียร์ธรรมดา การเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นควรจะทำให้เร็วที่สุดและไปถึงเกียร์สูงสุดไวที่สุด โดยการใช้รอบเครื่องเป็นหลักและไม่ควรลากรอบเครื่องสูงเกินไป ดังนี้
- เครื่องขนาดไม่เกิน 1800 CC ควร เปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นทันทีที่ 2000 รอบ ลดเกียร์ต่ำลงทันทีที่ 1000-1200 รอบ และเลี้ยงความเร็วที่เกียร์สูงสุดไว้คงที่ที่ 2000-2200 รอบ(จุดใดจุดหนึ่ง)
- เครื่องขนาด 1800-2200 CC ควรเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นทันทีที่ 2200-2500 รอบ ลดเกียร์ต่ำลงทันทีที่ 1200-1400 รอบ และเลี้ยงความเร็วที่เกียร์สูงสุดไว้คงที่ที่ 2200-2500 รอบ(จุดใดจุดหนึ่ง)
- เครื่องขนาดมากกว่า 2200 CC ควรเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นทันทีที่ 2500-2700 รอบ ลดเกียร์ต่ำลงทันทีที่ 1300-1500 รอบ และเลี้ยงความเร็วที่เกียร์สูงสุดไว้คงที่ที่ 2500-2700 รอบ(จุดใดจุดหนึ่ง)
- เครื่องที่แบกหอยหรือเทอร์โบมาด้วยก็บวกจากที่กล่าวมาไปอีกไปอีก 500 รอบ
- เครื่องยนต์ที่เป็นดีเซลซึ่งมีแรงบิดสูงกว่าเครื่องเบนซินก็จะใช้รอบแบบ เดียวกับข้อ 4
- เครื่องยนต์ที่เป็นดีเซลที่แบกหอย หรือ เทอร์โบ มาด้วยก็จะใช้รอบแบบ เดียวกับ ข้อ 4
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความเร็วที่ เกียร์สูงสุดที่ประหยัด น้ำมันและสึกหรอต่ำสุด จะแตกต่างกันไปตามขนาดและประเภทของเครื่องยนต์ส่วน ที่ทางการประชาสัมพันธ์ว่าความเร็วที่ประหยัดและสึกหรอต่ำอยู่ที่ 60-90 กม./ชม.นั้นคือรุ่นขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 1800 CCและ เครื่องดีเซลครับเพราะรถกลุ่มนี้คือรถที่มำจำนวนมากที่สุดในบ้านเราส่วน กลุ่มที่เครื่องยนต์มีขนาดใหญ่หรือติดเทอร์โบความเร็วก็จะสูงขึ้นไปตาม ลำดับเช่นเครื่องขนาด 2000 CC ความเร็วประหยัดน้ำมัน (แต่ไม่สูงสุด)อยู่ที่ 110 กม./ชม.เป็นต้น การขับขี่ที่ดีควรรักษาความเร็วที่คงที่ไว้อย่างเสถียรภาพมากที่สุดเท่าที่ทำได้(อันนี้พวกรถที่มีการตั้งความเร็วอัตโนมัติจะได้เปรียบ)
5. ความเร็วปลายหรือความเร็วสูงสุดในการเดินทาง ถ้ามีการวิ่งระยะยาวๆไกลๆและต้องการใช้ความเร็วสูงแต่ประหยัดน้ำมันและการ สึกหรอต่ำอันนี้ต้องอาศัยธรรมชาติเรื่องแรงเสียดทานและแรงโน้มถ่วง มาช่วย ซึ่งจะใช้ได้เฉพาะรถคันโตๆน้ำหนักมากๆเท่านั้น จะมีจุดๆหนึ่งที่หน้ายางจะสัมผัสถนนเต็มหน้าพอดีและตั้งฉาก(ไม่เหมือนกับที่ เห็นว่าเหมือนยางแบนตอนจอดอยู่)คือเหมือนว่าน้ำหนักตัวของรถน้อย ลงนั่นคือจุดที่ก่อนที่รถจะลอยตัว(แต่ชาว บ้านมักเรียกรถลอยตัว)ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่รถยังคงเสถียรภาพการเกาะถนนอยู่ รถแต่ละรุ่นจะได้ความเร็วที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถและตัว สปอยด์เลอร์ที่ติดมาจุดนี้หาได้โดยค่อยๆกดคันเร่งเพิ่มความ เร็วขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงจุดๆหนึ่งจะพบ ว่าความเร็วรถจะเพิ่มขึ้นเองอย่างรวดเร็วจนต้องถอนคันเร่ง เช่นโดยทั่วไป รถ ขนาด 2000-2200 CC จะ อยู่ที่ 130-150 กม./ชม.เมื่อหาความเร็วดังกล่าวได้แล้วเวลาที่เดินทางก็ควรใช้ความเร็วนั้นๆ ส่วนที่บอกว่าไม่เหมาะกับรถเล็กๆนั้นก็เพราะว่าน้ำหนักรถน้อยถ้าขับเร็วก็จะ เกิดแรงต้านจนหนีศูนย์ยิ่งเปลืองเชื้อเพลิงและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และ ความเร็วที่ว่าของรถเล็กๆก็อยู่ราวๆ แค่110-120 กม./ชม.เท่านั้น ยิ่งบางคนไปติดสปอยด์เลอร์มาท่านทราบหรือไม่ว่าสปอยด์เลอร์จะเริ่มทำงานเกิด แรงกดและลมหมุนวนจนเกิดแรงส่งที่ความเร็วเกิน 120 กม./ชม.ขึ้นไป ดัง นั้นการใส่สปอยด์เลอร์ในรถเล็กๆจึงเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้รถและเปลือง เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ในรถเล็กนั้นนอกจากความสวยงามและประดับไฟเบรคแล้วสปอยด์เลอร์ก็ไม่ได้ช่วย อะไรเลยเพราะจะเกิดแรงหนีศูนย์ก่อนสปอยด์เลอร์จะทำงานแทนที่จะช่วยในการทรง ตัวกับไปเสริมแรงส่งหนีศูนย์ไปอีกรถเล็กที่ติดสปอยด์เลอร์ในความ เร็วสูงจึงควบคุมยากกว่ารถที่ไม่ติด สปอยด์เลอร์ครับ บางคนก็เถียงว่าถ้ามันไม่ดีทำไมมันติดตั้งมาจากโรงงานเลย อันนี้ก็เป็นเรื่องทางธุรกิจครับแต่รุ่นเดียวกันไม่ติดก็มี ผมเคยไปซื้อรถที่บอกว่าแถมสปอยด์เลอร์ด้วยผมบอกว่าถ้าผมไม่เอาสปอยด์เลอร์ นี่จะลดราคาให้ผมเท่าไหร่ คำตอบคือ 10000 บาทครับผมก็เลยให้เขาถอดออกท่าน ก็ลองพิจรณาดูเองก็แล้วกันเพราะถ้าผมอยากติดจริงๆผมมาหาข้างนอกทำสีด้วย ก็ไม่เกิน 5000 บาทหรอกครับ ยิ่งบางรุ่นก็บังคับมาเลยถอดไม่ได้เพราะเจาะรูไว้แต่เราเป็นคนจ่ายตังค์นะ ครับอย่าลืมการเดินทางไกลควรหยุดพักรถทุก 2 ชม.หรือ 200 กม.การหยุดแต่ครั้งไม่ควรต่ำกว่า 15 นาทีควรจอดในที่ร่มและเปิดฝากระโปรงหน้าไว้เพื่อให้น้ำมันเครื่อง/น้ำมัน เกียร์หรือน้ำมันเบรคได้คายความร้อนจะได้กลับมามีคุณสมบัติที่ดีอีกครั้ง
6. การเบรค ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการเบรคที่รุนแรงทางที่ดีควรใช้การลดความเร็วและ การลดเกียร์ลงมาเรื่อยๆ พูดง่ายๆก็ใช้ความเร็วให้เหมาะสมนั่นแหละเพราะ การเบรคที่รุนแรงนอกจากการสึกหรอของระบบเบรคแล้ว ยังมีน้ำมันเชื้อเพลิงที่ค้างในห้องเผาไหม้จำนวนมาก (เพราะปล่อยคันเร่งทันที ทันใด) ที่อาจจะซึมผ่านไปผสมกับน้ำมันเครื่องส่งผลให้น้ำมันเครื่องเสื่อม สภาพเร็วกว่าปกติและส่งผลต่อการสึกหรอของเครื่องยนต์ตามมา
7. การถอยรถ ในรถเกียร์อัตโนมัติคงไม่มีปัญหาเท่าไหร่กับการถอยหลังเพราะยังไงก็ต้องหยุด รถให้สนิทอยู่แล้วจึงจะโยกเข้าเกียร์ถอยหลังได้แต่ในรถเกียร์ ธรรมดาควรทำอย่างไร สิ่งที่ควรทำก็คือทำแบบเกียร์อัตโนมัติเขาโดยเหยียบเบรคให้รถหยุดสนิทก่อน แต่ถึงแม้รถจะหยุดสนิทแล้วก็ควรทิ้งระยะเวลาไว้เล็กน้อยประมาณ 3-5 วินาทีก่อนเข้าเกียร์เพื่อให้เวลากับเพลาหรือเฟืองที่ยังมีแรงเฉื่อยอยู่ได้ หยุดหมุนเสียก่อนไม่เช่นนั้นเมื่อต้องหมุนไปอีกทางในทางกลับกันก็ จะเกิดการสึกหรออย่างมากและ ยังเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้นที่ต้องใช้แรงฉุดมากขึ้นหรือบางทีก็ส่งเสียงแก๊ก ๆออกมาทีเดียว ที่ผมทำอยู่ก็ใช้การนับในใจ 1......2.....3.....4.......5 แล้วจึงเข้าเกียร์ถอยหลังซึ่งจะไม่มีเสียงใดๆเล็ดลอดออกมาโดยทั่ว ไปแล้วเกียร์ถอยหลังจะมีอัตราทดและแรงมากที่สุดกว่าทุกเกียร์(มีไม่ กี่รุ่นที่ทำเกียร์ 1 สูงกว่าเกียร์ถอยหลัง)ดังนั้นจึงเป็นเกียร์ที่ใช้น้ำมันมากที่สุดจึงควร นิ่มนวลในการเร่งและปล่อยครัชท์มากที่สุด
8. การจอดรถ ก่อนถึงที่หมายซัก 100-200 เมตรควรปิดAC หรือคอมเพรสเซอร์ของแอร์เหลือไว้เฉพาะพัดลมเพราะยังคงมีความเย็นในระบบอยู่ การกระทำดังกล่าวนอกจากจะช่วยประหยัดน้ำมันแล้ว พัดลมยังช่วยเป่าไล่ความชื้นออกจากตู้แอร์ทำให้ไม่มีกลิ่นอับชื้น ความชื้นในตู้แอร์หมดไปการผุกร่อนของตู้แอร์และระบบก็ลดลงซ้ำยัง ไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรค-เชื้อราโดยเฉพาะเชื้อริโอจีอีโบลา(ที่ กำลังดังเพราะคร่าไปหลายชีวิตแล้ว) เมื่อถึงที่หมายและรถจอดสนิทแล้วก็ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดฟัง เสียงว่าพัดลมไฟฟ้าทำงานอยู่หรือเปล่าควรปล่อยให้พัดลมทำงานจนหยุดก่อน จึงดับเครื่องยนต์ อย่าลืมดึงเบรคมือขึ้นด้วยไม่งั้นมีสิทธิ์เป็นข่าวได้เหมือนกัน ที่เห็นมามากคือมักจะเบิ้ลเครื่องหรือเร่งเครื่องขึ้นไปรอบสูงๆก่อนดับ เครื่องโดยเข้าใจว่าจะทำให้เครื่องติดง่ายในครั้งต่อไปอันนี้อันตรายต่อ เครื่องยนต์มากเพราะน้ำมันเชื้อเพลิงจะตกค้างและปนไปอยู่กับน้ำมัน เครื่องทำให้น้ำมัน เครื่องเสื่อมสภาวะการหล่อลื่นสึกหรอมากขึ้น แถมน้ำมันที่ค้างก็เหมือนการทิ้งไปเปล่าๆ
9. ต่อมาก็เป็นเรื่องลมยาง ควรจะตรวจเช็คลมยางอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 10 วันครั้ง ที่ผมทำอยู่คือเพื่อกันลืมผมจะเช็ควันที่ลงท้ายด้วยเลขศูนย์ครับ ลมยางก็ต้องได้ตามที่บริษัทผู้ผลิตเขาแนะนำซึ่งส่วนใหญ่จะมีในคู่มือหรือบาง รุ่นก็ติดไว้ให้ตามขอบประตูที่รถให้เลยถ้าลมยางอ่อนเกินไปก็จะทำ ให้รถซดน้ำมันมากขึ้นและขอบยางก็จะสึกมากขึ้นอายุ ยางก็ลดลง แต่ถ้าแข็งเกินไปมันประหยัดน้ำมันก็จริงแต่ยางก็จะสึกตรงร่องกลางๆมากเสื่อม เร็วเช่นกันซ้ำร้ายยังส่งผลกระทบไปถึงลูกหมาก ลูกปืนที่จะกลับบ้านเก่าเร็วกว่าปกติ
10. สุดท้ายก็คงเป็นเรื่องการเก็บสัมภาระไว้ในรถ ไม่ควรเก็บของไว้ในรถมากเกินไปควรเก็บที่จำเป็นจริง(แต่ส่วนใหญ่มักอ้างว่า จำเป็นทั้งนั้น) เพราะของที่ใส่ในรถก็เป็นการเพิ่มน้ำหนักรถก็ทำให้กินน้ำมันโดยใช่เหตุเช่น กันนอก จากนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นๆอีกเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการเดินทางเช่นการศึกษาเส้น ทาง การเลือกเส้นทางในการเดินทาง ให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่รถติด(มากๆ)หรือเลือกใช้เส้นทางที่ใกล้ที่สุด เป็นต้นสิ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้คงบังคับให้ปฎิบัติไม่ได้หรือทำ ทั้งหมดก็คงยาก แต่ถ้าฝึกไปเรื่อยๆมันก็จะเป็นนิสัยแล้วค่อยเพิ่มสิ่งที่ยังไม่ไดทำเข้าไป เรื่อยๆ สุดท้ายวันหนึ่งคุณจะพบว่าตัวเองเป็นคนขับรถที่ดี ประหยัดน้ำมันและรถที่ใช้งานอยู่ก็ทนทานไม่จุกจิกเหมือนรถข้างๆบ้านที่ออกมา พร้อมๆกัน ว่างๆก็ช่วยไปบอกต่อเขาหน่อยก็แล้วกันนะครับ
การขับรถบน ถนนที่ลื่น การขับรถบนถนนที่ลื่น หากคุณต้องขับรถในหน้าฝน ซึ่งถนนมักลื่นเปียกอยู่เสมอ คุณจำเป็นต้องระวัง เป็นพิเศษเพื่อลดอัตราความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยลงหลุม บ่อ อิฐ ตะปู และเศษสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะหากละเลยอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ในสภาพฝนตก การเร่งความเร็วและเบรกแรง ๆ สามารถทำให้รถลื่นไถลได้ จึงจำเป็นต้องระมัดระวังและสร้างสมาธิในการขับมากเป้นพิเศษ อย่างไรก็ตามจำไว้ว่า
หากเกิดการลื่นไถลขึ้น สิ่งที่คุณควรทำคือ
1.อย่าตกใจ
2.ยกเท้าออกจากคันเร่ง
3.เหยียบเบรกเบา ๆ
4.หมุนพวงมาลัยไปทิศทางเดียวกับหน้ารถจนกระทั่งคุณสามารถควบคุมรถได้
ถ้า คุณติดหล่ม !!
1.อย่าเร่งเครื่อง การโม่บดอย่างแรงจะทำให้หลุมลึกขึ้น
2.โรยกรวดทราย หรือขยะ (วัสดุที่เพิ่มการเสียดสีของล้อ) ด้านหน้าของยางทั้งหมดเพื่อรองรับการ บด โดยเฉพาะล้อท้าย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ยางยึดเกาะจนเคลื่อนออกจากหลุม
3.ถ้าปฏิบัติตามวิธีทั้งหมดแล้ว แต่คุณยังไม่สามารถออกจากหลุมได้ ให้โทรขอความช่วยเหลือจากบริการปัญหารถเสีย
ที่มา.http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=77463&name=content1&area=
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: +6689 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Villege, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
-----------------------------------------------------
Tag:ฝึกอบรม,การอบรม,Training,Learning,Skills,สัมมนา,ประชาสัมพันธ์,สื่อโฆษณา,การเรียนรู้,การฝึกทักษะ,เสริมสร้างสติปัญญา,ค้นคว้าหาความรู้,เรียนรู้,ฝึกสมอง,เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ,รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,E20,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น