ทำไมต้องเชื้อเพลิงทางเลือก
จากกระแสการตื่นตัวเกี่ยวกับภาวะการขาดแคลนน้ำมันและแหล่งสำรองน้ำมันดิบต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีจำนวนน้อยลงไปเรื่อย ๆ และยังมีการคาดการณ์ว่าอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าเชื้อเพลิงประเภทน้ำมันจะหมดลง ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในท้องตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เชื่อเพลิงทางเลือก (Alternative Fuels) เข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเรามากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านการใช้พลังงานภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ธุรกิจต่าง ๆ และภาคการขนส่งอีกด้วย
เพื่อเป็นการแก้ไขและป้องกันปัญหาวิกฤติด้านพลังงานในประเทศ รัฐบาลไทยโดยกระทรวงพลังงานได้สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกหลากหลายประเภทมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันได้แก่ น้ำมันไบโอดีเซล (Biodiesel fuel) น้ำมันแก๊สโซฮอล์ (Gasoholfuel) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquid Petroleum gas : LPG) และก๊าซธรรมชาติ (Compress Natural gas : CNG) เป็นต้น ทั้งนี้ จากการคาดการณ์แนวโน้มการใช้พลังงานของโลกในอนาคต โดย กระทรวงพลังงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ระบุว่าน้ำมัน (Petroleum Oil) ยังคงมีสัดส่วนการใช้สูงเป็นอันดับหนึ่ง อันดับสอง คือ ก๊าซธรรมชาติ รองลงมาคือ ถ่านหิน และคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2563 จะมีสัดส่วนการใช้น้ำมันร้อยละ 37 ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 27 ถ่านหินร้อยละ 25 พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 8 และพลังงานนิวเคลียร์ร้อยละ 3 : ซึ่งสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน และหากโลกมีการใช้พลังงานในระดับที่เป็นอยู่และไม่มีการค้นพบเพิ่มเติมแล้ว คาดว่าโลกจะมีแหล่งสำรองน้ำมันใช้ไปได้อีกประมาณ 32 ปี ก๊าซธรรมชาติอีกประมาณ 54 ปี และถ่านหินอีกประมาณ 210 ปี นับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป โดยแหล่งสำรองพลังงานดังกล่าวจะกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก สำหรับในประเทศไทยโดยเฉพาะภาคการขนส่งได้มีการนำพลังงานทางเลือกให้กับประชาชนกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะรถยนต์นั้นมีการเปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือก เช่น แก๊สโซฮอล์ (E10/E20/E85) LPG CNG และไบโอดีเซล ทดแทนการใช้น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลเนื่องจากมีราคาถูกกว่า และจากสถิติของกรมการขนส่งทางบกพบว่า ปี 2552 ประเทศไทยมีรถยนต์ที่ใช้ LPG จำนวน559,085 คันและ CNG จำนวน 133,022 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ซึ่งมีรถยนต์ที่ใช้ LPG จำนวน 541,074 คันและ CNGจำนวน 98,581 คัน
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบปริมาณมลพิษจากไอเสียรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทต่างๆ
เชื้อเพลิงหลัก | เชื้อเพลิงทางเลือก | HC | CO | PM | NOx |
---|---|---|---|---|---|
เบนซิน | E10 | ลดลง | ลดลง | ลดลง | เพิ่มขึ้น |
LPG | ไม่แตกต่าง | ลดลง 80 % | - | เพิ่มขึ้น 80 % | |
CNG | ลดลง 50 % | ลดลง 80 % | - | เพิ่มขึ้น 33 % | |
ดีเซล | ไบโอดีเซล | ลดลง 20-40 % | ลดลง 17-53 % | ลดลง 20-40 % | เพิ่มขึ้น 20-29 % |
ไอเสียจากรถที่ใช้พลังงานทางเลือก
ไอเสียของรถยนต์ยังมีสารมลพิษที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ โดยเรียกสารกลุ่มนี้ว่า “สารกลุ่ม Air Toxic” ประกอบไปด้วย สารอินทรีย์ระเหย(Volatile Organic Compound : VOCs) สารกลุ่มคาร์บอนิล(Carbonyl group) และสารโพลีไซคลิคอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon :PAHs) ซึ่งสารกลุ่มดังกล่าวนี้บางตัวมีผลการศึกษาวิจัยที่แน่ชัดแล้วว่าเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogens) และมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม หากได้รับการสัมผัสในปริมาณที่มากและเป็นระยะเวลานานทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการฯ ได้ทำการพัฒนาวิธีการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารกลุ่มนี้และได้ทำการเก็บตัวอย่างจากไอเสียของเชื้อเพลิงทางเลือกต่างๆ เปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดมาตรฐานและมาตรการต่างๆ ต่อไปในอนาคต โดยผลการตรวจวัดชนิดและปริมาณสารกลุ่ม Air Toxic จากรถยนต์ตัวอย่างในเบื้องต้น พบว่ากลุ่มรถยนต์เบนซินที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทแก๊สโซฮอล์จะพบสารชนิด VOCs และ Carbonyls สูงกว่ากลุ่มรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันดีเซลและน้ำมันไบโอดีเซล สำหรับสารมลพิษชนิด PAHs พบในไอเสียกลุ่มรถยนต์ดีเซลสูงกว่ากลุ่มรถยนต์เบนซิน
ไอเสียของรถยนต์ยังมีสารมลพิษที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ โดยเรียกสารกลุ่มนี้ว่า “สารกลุ่ม Air Toxic” ประกอบไปด้วย สารอินทรีย์ระเหย(Volatile Organic Compound : VOCs) สารกลุ่มคาร์บอนิล(Carbonyl group) และสารโพลีไซคลิคอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon :PAHs) ซึ่งสารกลุ่มดังกล่าวนี้บางตัวมีผลการศึกษาวิจัยที่แน่ชัดแล้วว่าเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogens) และมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม หากได้รับการสัมผัสในปริมาณที่มากและเป็นระยะเวลานานทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการฯ ได้ทำการพัฒนาวิธีการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารกลุ่มนี้และได้ทำการเก็บตัวอย่างจากไอเสียของเชื้อเพลิงทางเลือกต่างๆ เปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดมาตรฐานและมาตรการต่างๆ ต่อไปในอนาคต โดยผลการตรวจวัดชนิดและปริมาณสารกลุ่ม Air Toxic จากรถยนต์ตัวอย่างในเบื้องต้น พบว่ากลุ่มรถยนต์เบนซินที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทแก๊สโซฮอล์จะพบสารชนิด VOCs และ Carbonyls สูงกว่ากลุ่มรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันดีเซลและน้ำมันไบโอดีเซล สำหรับสารมลพิษชนิด PAHs พบในไอเสียกลุ่มรถยนต์ดีเซลสูงกว่ากลุ่มรถยนต์เบนซิน
กล่าวสรุปได้ว่า
พลังงานทางเลือกยังคงมีความจำเป็นและสำคัญที่จะต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ด้านพลังงานในประเทศไทย รวมทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากรถยนต์โดยเฉพาะในชุมชนเมืองขนาดใหญ่ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมากอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เทคโนโลยีของรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงทางเลือกตลอดจนชนิดของสารมลพิษที่เกิดขึ้นจากการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดำเนินงานจากหน่วยงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง เพื่อที่จะได้นำผลการศึกษาและองค์ความรู้ที่ได้จากงานศึกษาวิจัยมาใช้ในการกำหนดมาตรฐาน และมาตรการต่างๆ ต่อไป และทำให้การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกมีประสิทธิผล และบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์
บทความโดย : คุณอิทธิพล พ่ออำมาตย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ส่วนมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------
Follow Us :
พลังงานทางเลือกยังคงมีความจำเป็นและสำคัญที่จะต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ด้านพลังงานในประเทศไทย รวมทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากรถยนต์โดยเฉพาะในชุมชนเมืองขนาดใหญ่ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมากอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เทคโนโลยีของรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงทางเลือกตลอดจนชนิดของสารมลพิษที่เกิดขึ้นจากการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดำเนินงานจากหน่วยงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง เพื่อที่จะได้นำผลการศึกษาและองค์ความรู้ที่ได้จากงานศึกษาวิจัยมาใช้ในการกำหนดมาตรฐาน และมาตรการต่างๆ ต่อไป และทำให้การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกมีประสิทธิผล และบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์
บทความโดย : คุณอิทธิพล พ่ออำมาตย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ส่วนมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------
Tag: train, knowledge, education, Training Pro, workshop, Certificate of Security product training, learning, skills, ฝึกอบรม, trainer, coaching, in house training, การอบรม, Training, Learning, Skills, สัมมนา, ประชาสัมพันธ์, สื่อโฆษณา, การเรียนรู้, การฝึกทักษะ, เสริมสร้างสติปัญญา, ค้นคว้าหาความรู้, เรียนรู้, ฝึกสมอง, เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ, รอบรู้เรื่องงานซ่อม, งานซ่อมบำรุง, ตู้จ่ายน้ำมัน, ตู้น้ำมัน, ตู้เติมน้ำมัน, ปั๊มน้ำมัน, ปั๊ม, ปั้ม, ปั้มน้ำมัน, มือจ่ายน้ำมัน, มิเตอร์น้ำมัน, สายน้ำมัน, ถังน้ำมัน, น้ำมันเบนซิล, ดีเซล, เติมน้ำมัน, แกลลอนน้ำมัน, ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน, ปั๊มเคลื่อนที่, รถน้ำมันเชื้อเพลิง, รถจ่ายน้ำมัน, รถเติมน้ำมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น