เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต
นาที นี้เชื่อว่าหลายคนที่ใช้รถ คงต้องแบกภาระค่าน้ำมันกันจนไหล่แทบหลุด เพราะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้นทุกวันๆ ยิ่งเบนซิน 95 ก็เข้าวินมาก่อนเพื่อน แตะขอบสระที่ 40 บาทต่อลิตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เหลือก็กำลังตามกันมาแบบติดๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้เวลาจะเติมน้ำมันเต็มถังสักที ก็ต้องควักเงินเกือบ 2 พันบาทกันแล้ว เฮ้อ...คิดแล้วกลุ้ม ทำให้หลายคนเริ่มมองหาทางออกนานัปการมาเป็นตัวช่วยในการประหยัดงบ ซึ่งทางออกหนึ่งที่เป็นหัวข้อท็อปฮิตอยู่ขณะนี้เห็นจะไม่พ้น การเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ ที่มีราคาถูกกว่ากันเยอะ แต่ก็มักมีคำถามตามมาอีกว่า... "แล้วจะใช้ก๊าซอะไรดี ปลอดภัยหรือไม่ แล้วจะระเบิดหรือป่าว...?" วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับก๊าซแอลพีจี และเอ็นจีวี 2 พลังงานทางเลือกมาแรงสำหรับรถยนต์มาฝากกันค่ะ
**** ก๊าซแอลพีจี คืออะไร?
ก๊าซแอลพีจี(Liquefied Petroleum Gas: LPG) หรือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว คือ พลังงานธรรมชาติประเภทหนึ่งที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในนาม "ก๊าซหุงต้ม" เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เบากว่าน้ำแต่หนักกว่าอากาศจึงลอยอยู่ในระดับต่ำ มีการสะสมและลุกไหม้ได้ง่าย ดังนั้น เมื่อมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ จึงมีข้อกำหนดให้เติมสารมีกลิ่น เพื่อเป็นการเตือนภัย หากเกิดการรั่วไหลขึ้น
ในบ้านเราก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี ได้มาจากการกลั่นน้ำมันและบ่อก๊าซธรรมชาติ ในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน(ปตท. ยังมีเหลือจัดส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วยนะ) ก๊าซหุงต้มมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้แป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้ ก็คือ เป็นก๊าซที่มีค่าอ็อกเทนสูงโดยธรรมชาติ มีสองสถานะคือ มีสภาพเป็นก๊าซและเป็นของเหลว ซึ่งก๊าซแอลพีจีจะถูกบรรจุเป็นของเหลวใส่ถังภายใต้แรงดันสูง (แต่ยังต่ำกว่า เอ็นจีวี) เพื่อให้ขนถ่ายง่าย เมื่อนำไปใช้งานจะกลายสภาพเป็นไอ
นอกจากจะนิยมใช้แอลพีจีในครัวเรือนแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำก๊าซแอลพีจีมาใช้แทนน้ำมันเบนซิน ในรถยนต์ เนื่องจากราคาถูกกว่าและมีค่าออกเทนสูงถึง 105 ทำให้เมื่อนำมาใช้กับรถยนต์แล้ว มีประสิทธิภาพสูง สมรรถนะทัดเทียมกับรถที่ใช้ระบบน้ำมันเดิม จนผู้ขับขี่ไม่มีความรู้สึกแตกต่างระหว่างการใช้น้ำมันหรือก๊าซแอลพีจี
**** คุณสมบัติของก๊าซแอลพีจี
1. ก๊าซแอลพีจี อยู่ในรูปของเหลว และมีความดันต่ำ ถังก๊าซแอลพีจีมีความหนาผนังมากกว่าถังน้ำมันเบนซินมาก ทำให้โอกาสที่จะเกิดการระเบิด จากถังเนื่องจากการชนเป็นไปได้น้อย
2. ก๊าซแอลพีจี ไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างใด ทำให้การจุดระเบิดสะอาดหมดจด และยืดอายุการใช้งานได้
3. ก๊าซแอลพีจี มีออกเทนสูงกว่าน้ำมันเบนซิน จึงส่งผลให้การสตาร์ทและการทำงานของเครื่องยนต์มีความสมบูรณ์มากขึ้น
4. ราคาค่าก๊าซถูกกว่าน้ำมันเบนซินหรือดีเซล ทั้งปัจจุบันและอนาคต
5. ช่วยป้องกันปัญหาที่เรียกว่ารถกินน้ำมันเครื่อง เพราะการสึกหรอของชิ้นส่วน เมื่อใช้ก๊าซมีน้อยกว่า
6. ยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์
7. เครื่องยนต์เดินได้ราบเรียบกว่าในรอบที่ต่ำกว่า ถ้าหากได้รับการติดตั้งอย่างถูกวิธี
**** ข้อควรระวังสำหรับการใช้ LPG ในรถยนต์
1. ต้องรู้ว่าก๊าซหุงต้มคือ ก๊าซ ที่หนักกว่าอากาศ เมื่อมีการรั่วซึมจะเกาะกลุ่มกันอยู่บนพื้นในระดับต่ำ
2. ควรจะต้องตรวจเช็คการรั่วซึมตามจุดต่างๆ อย่างน้อยปีละสองครั้ง
3. ก่อนที่จะมีการถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ในระบบก๊าซจะต้องปิดวาวล์ที่ถังก๊าซให้สนิท
4. จะต้องไม่เติมก๊าซมากกว่าร้อยละแปดสิบของความจุของถัง
5. ในการเติมก๊าซทุกครั้งอาจจะมีการรั่วซึมออกมานิดหน่อยตรงหัวเติมก๊าซ ให้ระวังประกายไฟในขณะนั้น
6. การจอดรถหลังเลิกใช้งานเมื่อจอดรถในที่จอด เช่น โรงรถ ควรจะปิดวาวล์ที่ถังแกส
7. โรงจอดรถถ้าเป็นไปได้ควรจะเป็นที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยเฉพาะในระดับพื้นดินต้องโปร่งโล่ง
8. ถ้าจะนำรถที่ใช้ก๊าซเข้าตรวจเช็คสภาพรถยนต์ตามปกติ ควรจะให้มีก๊าซในถังเหลือน้อยที่สุด
9. ในรถรุ่นที่ต้องปรับตั้งลิ้นไอดีไอเสียแบบกลไก ก็จะต้องมีการปรับตั้งระยะห่างของลิ้นตามปกติอย่างเข้มงวด
10. LPG จะถูกเผาไหม้ช้ากว่าน้ำมันเบนซิน การปรับตั้งไฟจุดระเบิดจึงต้องปรับตั้งล่วงหน้าเพื่อจะเผาไหม้ได้หมดจด
11. LPG ต้องใช้ประกายไฟจากหัวเทียนเข้มข้นกว่าที่ใช้ในน้ำมันเบนซิน จึงต้องเลือกใช้หัวเทียนให้ถูกต้องกับค่าความร้อน
12. LPG มีค่าอ็อกเทนประมาณ 91ถึง125 รถที่จะติดตั้งก๊าซหุงต้ม ควรจะมีอัตราส่วนกำลังอัดตั้งแต่ 10:1ขึ้นไป จึงจะใช้ประสิทธิภาพของก๊าซได้อย่างคุ้มค่า
อย่างไรก็ตาม รถยนต์ที่ใช้ LPG ถ้าวิเคราะห์กันในเรื่องของความปลอดภัยแล้ว มีความปลอดภัยไม่น้อยกว่ารถที่ใช้น้ำมันเบนซิน โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการชนทั้งหน้าหรือท้ายรถ วาล์วนิรภัยจะทำการปิดล็อคทันทีโดยอัตโนมัติ เมื่อมีก๊าซรั่วไหลออกจากถังในอัตราที่ผิดปกติจากการใช้งาน ในขณะที่ถังน้ำมันเบนซิน เมื่อถูกชนยังมีโอกาสแตกรั่วทำให้น้ำมันรั่วไหลลงพื้น
ก่อน นำรถที่ใช้งานอยู่เป็นประจำไปติดตั้งก๊าซแอลพีจี ควรจะปรับปรุงเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดเสียก่อน รถยนต์ทุกวันนี้แม้จะเป็นรถยนต์ที่ถูกพัฒนาให้ทันสมัยด้วยเทคโนโลที่สูง อุปกรณ์ในการติดตั้งก๊าซ และกรรมวิธีในการติดตั้งก็ได้รับการพัฒนาให้ตามทันกับการพัฒนาของรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งในระบบดูดหรือในระบบฉีด ก็ไม่มีปัญหาสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การวิตกกังวลกับเรื่องการสึกหรอของเครื่องยนต์เมื่อใช้ก๊าซนั้นในเทคโนโลยี ของปัจจุบัน ไม่ใช่ปัญหาที่จะต้องนำมาขบคิดกันอีกต่อไป
ในอารยะประเทศทุกภูมิภาคของโลกนี้ มีรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซ LPG ที่ใช้ร่วมกับน้ำมันเบนซินมากเป็นล้านๆ คันแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศยุโรปที่เข้มงวดกวดขันในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพราะก๊าซ คือพลังงานที่สะอาด และประหยัด อย่ารีรอหรือกริ่งเกรงถ้าหากวันนี้ท่านคิดจะติดตั้งก๊าซ LPG ในรถยนต์ของท่าน เพราะในภาวะที่ราคาของน้ำมันมีแต่ปรับราคาขึ้นเป็นรายวัน ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับวันนี้ ติดตั้งก๊าซ น่าจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าแม้ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการติด ตั้งก็ตาม
****ก๊าซเอ็นจีวีคืออะไร
ก๊าซเอ็นจีวี (Natural Gas for Vehicle: NGV) มีภาษาเชิงวิชาการว่า ก๊าซซีเอ็นจี (Compressed Natural Gas: CNG) คือ ก๊าซธรรมชาติที่มี "มีเทน" เป็นส่วนประกอบหลักและถูกอัดจนมีความดันสูง ซึ่งในบางประเทศเรียกว่า "ก๊าซธรรมชาติอัด" (ซีเอ็นจี) ซึ่งถูกอัดที่แรงดัน 200 bar หรือ 3,000 psi และถูกกักเก็บไว้ในถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดที่ถูกผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษให้ สามารถรองรับแรงดันได้ โดยมีสภาพเป็นก๊าซหรือไอที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ โดยมีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าอากาศ จึงเบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะฟุ้งกระจายไปตามบรรยากาศอย่างรวดเร็ว จึงไม่มีการสะสมลุกไหม้บนพื้นราบ
**** คุณสมบัติของก๊าซเอ็นจีวี
1. อุณหภูมิติดไฟของก๊าซเอ็นจีวีนั้นสูงกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ ติดไปยาก ทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดไฟไหม้เมื่อก๊าซรั่วหรืออุบัติเหตุ
2. ก๊าซเอ็นจีวี ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปไอ ซึ่งมีแรงดันสูง จึงทำให้ไม่มีอากาศเข้าไปผสม จึงไม่ก่อให้เกิดการผสมกันระหว่างก๊าซ จึงลดโอกาสในการติดไฟและระเบิดได้
3. ก๊าซเอ็นจีวี ก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สะอาดหมดจด และไม่ก่อให้เกิดการสกปรกของน้ำมันเครื่อง จึงสามารถยืดอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องได้
4. ก๊าซเอ็นจีวี ไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างใด ทำให้การจุดระเบิดสะอาดหมดจด และยืดอายุการใช้งานได้
5. ก๊าซเอ็นจีวี ไม่ส่งผลเสียต่อลูกสูบและกระบอกสูบ ทำให้เกิดการหล่อลื่นที่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น
6. ก๊าซเอ็นจีวี มีออกเทนสูงกว่าน้ำมันเบนซิน จึงส่งผลให้การสตาร์ทและการทำงานของเครื่องยนต์มีความสมบูรณ์มากขึ้น
7. ก๊าซเอ็นจีวี ก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สะอาดหมดจด ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น จึงช่วยลดมวลไอเสีย และส่งผลต่อการลดมลพิษในอากาศโดยตรง
8. มีสัดส่วนของคาร์บอนน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นและมีคุณสมบัติเป็นก๊าซ ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์มากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกจากเครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ มีปริมาณต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น
9. เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดควันดำหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพของประชาชน จึงสามารถลดปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
10. เป็นเชื้อเพลิงที่สามารถผลิตได้ในประเทศ จึงมีราคาถูกกว่าน้ำมัน และสามารถประหยัดเงินตราต่างประเทศจากการลดการนำเข้าน้ำมันดิบ
11. เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ที่มีความปลอดภัยมากที่สุด เพราะมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ ดังนั้นเมื่อเกิดรั่วไหล ก๊าซเอ็นจีวีจะไม่สะสมอยู่บนพื้นดินจนเกิดการลุกไหม้เหมือนเชื้อเพลิงอื่นๆ และอุณหภูมิที่จะทำให้ก๊าซเอ็นจีวีสามารถลุกติดไฟในอากาศเองได้ก็ต้องสูงถึง 650 องศาเซลเซียส
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของข้อด้อยนั้นรถยนต์ที่จะใช้ก๊าซเอ็นจีวีได้ต้องเป็นรถที่มีเครื่อง ยนต์ ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานก๊าซเอ็นจีวีโดยเฉพาะ หรือไม่ก็ต้องเป็น "เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงสองระบบ" หรือ "เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงร่วม" ที่ผ่านการดัดแปลงและติดตั้งอุปกรณ์พิเศษที่ทำให้เครื่องยนต์ใช้ได้ทั้ง น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และก๊าซเอ็นจีวี
ปัจจุบันอุปกรณ์สำหรับการดัดแปลงเครื่องยนต์ดังกล่าวต้องนำเข้าจากต่าง ประเทศ จึงมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งอุปกรณ์ใช้ก๊าซเอ็นจีวีระบบ "เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงร่วม" (ดีเซล-เอ็นจีวี) มีราคาสูงถึง 400,000-500,000 บาท และอุปกรณ์ใช้ก๊าซเอ็นจีวีระบบ "เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงสองระบบ"(เบนซิน-เอ็นจีวี) มีราคา 30,000-50,000 บาท นอกจากนี้ รถเอ็นจีวีจะมีกำลัง "ต่ำ" กว่ารถทั่วไปตามท้องตลาด แต่ถ้าวิ่งในเมืองปัญหาข้อนี้จะไม่มีผลกระทบมากนัก
รู้จัก ก๊าซธรรมชาติทั้งสองชนิดกันแล้ว ทีนี้เราจะมาเปรียบเทียบจุดเด่นจุดด้อยของก๊าซทั้งสองชนิดให้เห็นกันแบบชัดๆ เพื่อง่ายต่อการตัดสินใจค่ะ...
****จุดเด่นของแอลพีจี
1. ค่าติดตั้งถูกกว่า ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ ถ้าเป็นระบบดูดก๊าซ(Mixer) มีค่าใช้จ่าย 15,000-28,000 บาท ส่วนระบบฉีดก๊าซ(Injection) มีค่าใช้จ่ายราวๆ 35,000-43,000 บาท
2. มีความจุก๊าซมากกว่า กล่าวคือ ถังก๊าซที่มีขนาดเท่ากัน แต่แอลพีจีสามารถบรรจุปริมาณก๊าซได้มากกว่า
3. มีสถานีบริการ จำนวนแพร่หลายมากกว่า
****ข้อด้อยแอลพีจี
1. เป็นก๊าซที่ติดไฟง่ายกว่าเอ็นจีวี มีราคาสูงกว่า
2. ภาครัฐมีแผนที่จะปล่อยราคาก๊าซให้ลอยตัวเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งจะส่งผลให้ก๊าซแอลพีจี มีราคาสูงขึ้นอีกในอนาคต
****จุดเด่นของก๊าซเอ็นจีวี
1. ภาครัฐให้การสนับสนุน มีนโยบายในเรื่องของการกำหนดราคา ทำให้ราคาอยู่ในการควบคุม
2. มีรถยนต์ที่ใช้เอ็นจีวี ประกอบจากโรงงานโดยตรง
3. ปลอดภัยกว่า ทั้งในแง่คุณสมบัติของมันเองที่เบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหล ก็จะฟุ้งกระจายไปบนอากาศอย่างรวดเร็ว และอู่ที่รับติดตั้งเอ็นจีวี ผ่านการรับรองจาก ปตท.
**** ข้อด้อยก๊าซเอ็นจีวี
1. เรื่องสถานีบริการมีจำนวนน้อย โดยขณะนี้มีสถานีบริการเอ็นจีวีที่เปิดให้บริการแล้วจำนวน 176 แห่ง และกำลังจะเปิดอีก 59 แห่งในปีนี้
2. ค่าติดตั้งค่อนข้างสูง โดยระบบดูดก๊าซจะมีค่าใช้จ่าย 38,000-43,000 บาท ส่วนระบบฉีดก๊าซ เป็นระบบที่มีอีซียู ควบคุมกรจ่ายก๊าซตามลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ จะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 58,000-63,000 บาท
ได้รับข้อมูลเบื้องต้นกันไปแล้ว ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของคุณๆ ที่จะต้องตัดสินใจกันเองแล้วหละค่ะว่า จะเลือกพลังงานทางเลือกชนิดใด
ข้อมูลจาก : นสพ.คมชัดลึก
ฉบับวันที่ 20 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2551
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: +6689 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------
Follow Us :
Tag: train,
knowledge, education, Training Pro, workshop, Certificate of Security
product training, learning, skills, ฝึกอบรม, trainer, coaching, in house
training, การอบรม, Training, Learning, Skills, สัมมนา, ประชาสัมพันธ์,
สื่อโฆษณา, การเรียนรู้, การฝึกทักษะ, เสริมสร้างสติปัญญา,
ค้นคว้าหาความรู้, เรียนรู้, ฝึกสมอง, เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ,
รอบรู้เรื่องงานซ่อม, งานซ่อมบำรุง, ตู้จ่ายน้ำมัน,
ตู้น้ำมัน, ตู้เติมน้ำมัน, ปั๊มน้ำมัน, ปั๊ม, ปั้ม, ปั้มน้ำมัน,
มือจ่ายน้ำมัน, มิเตอร์น้ำมัน, สายน้ำมัน, ถังน้ำมัน, น้ำมันเบนซิล, ดีเซล,
เติมน้ำมัน, แกลลอนน้ำมัน, ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน, ปั๊มเคลื่อนที่,
รถน้ำมันเชื้อเพลิง, รถจ่ายน้ำมัน, รถเติมน้ำมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น