วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

“มารู้จักกับ 3 เปลี่ยน” เมื่อใช้แก๊สโซฮอล์เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์


หลายคนคงเคยตั้งข้อสงสัยว่าการนำแอลกอฮอล์มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเบนซินในปัจจุบันจะเกิดอะไรขึ้นกับรถยนของตนเองหรือไม่? รถยนต์ของเราใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้หรือเปล่า? มีอะไรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเกี่ยวกับรถยนต์ของตนเองหรือไม่? ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร? บทความนี้อาจช่วยคลี่คลายคำถามในใจของท่านได้

“เปลี่ยนที่หนึ่ง” คุณสมบัติของน้ำมันแก๊สโซลฮอล์

น้ำมันแก๊สโซฮอล์เกิดจากการผสมระหว่างเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ร้อยละ 99.5 โดยปริมาตร ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 (ชนิดที่มีคุณสมบัติบางตัวต่างจากเบนซิน 91 ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน) ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน (เรียกว่า E-10) จึงได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ออกเทน 95 ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน

เอทานอลเป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น การผสมแอลกอฮอล์ลงในน้ำมันเบนซินข้างต้นเป็นในลักษณะของสารเติมแต่งปรับปรุงค่าออกซิเจเนทและออกเทนของน้ำมันเบนซิน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนสารเติมแต่งชนิดอื่นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ เมทิลเทอร์เทียรีบิวทิลอีเทอร์ (MTBE)

ถึงแม้ว่ากรมธุรกิจพลังงานได้พัฒนาและกำหนดมาตรฐานของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ขึ้นโดยให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันเบนซินออกเทน 91 และน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ให้มากที่สุด แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติบางอย่างที่แตกต่างไปจากน้ำมันเบนซิน ที่สำคัญได้แก่ แอลกอฮอล์ให้ค่าพลังงานต่อลิตรต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน แอลกอฮอร์ให้ค่าพลังงานความร้อนเพียง 20.5 เมกกะจูลต่อลิตร ขณะที่น้ำมันเบนซินให้ค่าความร้อนที่ 32.1 เมกกะจูลต่อลิตร

น้ำมันเบนซิน 95 ที่จำหน่ายในประเทศไทย ประกอบด้วยน้ำมันร้อยละ 95 อีกร้อยละ 5 เป็นสาร MTBE เพื่อต้านการน๊อคของเครื่องยนต์แทนตะกั่ว ขณะที่น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่จำหน่ายประกอบด้วยน้ำมันร้อยละ 90 ส่วนอีกร้อยละ 10 เป็นสารเอทานอล

ค่าพลังงานของสาร MTBE กับเอทานอลนั้นมีค่าใกล้เคียงกันมาก ค่าพลังงานของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ที่จำหน่ายทั่วไปจึงมีค่าพลังงานแตกต่างไปจากน้ำมันเบนซิน 95 อยู่เพียงร้อยละ 5 เท่านั้น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E-20 และ E-85 มีค่าพลังงานที่ลดลงกว่า E10

“เปลี่ยนที่สอง” การทำงานของเครื่องยนต์

โดยทฤษฎีและคุณสมบัติของน้ำมันแก๊สโซฮอล์แล้ว น้ำมันแก๊สโซฮอล์สามารถใช้ได้กับรถยนต์เครื่องยนต์เบนซินทุกรุ่นที่มีระบบเชื้อเพลิงแบบหัวฉีด (รถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นไป) เนื่องจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์มีคุณสมบัติที่เหมือนกับน้ำมันเบนซินออกเทน 91 และ 95 และมีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์ของมาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนด ได้แก่ มีค่าออกเทน ไม่ต่ำกว่า 95.0 และ มีค่าความดันไอไม่สูงกว่า 65 กิโลปาสคาล ค่าความดันไอยิ่งมากทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก

ปัจจุปันได้มีการพัฒนาคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ขึ้นตามความจำเป็นและมาตรการต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์กันอย่างแพร่หลาย กรมธุรกิจพลังงานจึงได้มีการเพิ่มสัดส่วนโดยปริมาตรของเอทานอลในการผสมกับน้ำมันเบนซินตั้งแต่ร้อยละ 10 เรียกว่า E-10 ร้อยละ 20 เรียกว่า E-20 และร้อยละ 85 เรียกว่า E-85 ทำให้การเลือกใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์กับรถยนต์จะต้องมีความเหมาะสมและเป็นไปตามการออกแบบรถยนต์โดยเฉพาะ

รถยนต์ที่จะใช้น้ำมัน E 20 ได้ จะต้องเป็นรถยนต์ที่ออกแบบมาเฉพาะ โดยมีการพัฒนาอุปกรณ์บางอย่างในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณเอทานอลที่สูงขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ E 20 นั้น จะส่งผลถึงความสามารถในการกัดกร่อนยาง และโลหะ หรือทองแดง ในระบบเก็บส่งน้ำมันในเครื่องยนต์ เป็นต้น

ชิ้นส่วนที่สัมผัสกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์โดยตรง เช่น ถังน้ำมัน ท่อส่งน้ำมัน หัวฉีด คาบูเรเตอร์ ที่ทำจากโลหะ ทองเหลือง ทองแดง ยาง พลาสติก จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม รวมถึงระบบสมองกลไฟฟ้า (Electronic Control Unit; ECU) ที่ต้องปรับ-เพิ่มการสั่งระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้สามารถปรับส่วนผสมของระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศ ทำให้รถยนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว มีความสามารถในการใช้น้ำมันเบนซินปกติ น้ำมัน E10, E20 และ E85 หรือผสมกันได้โดยอัตโนมัติ

แก๊ซโซฮอล์อาจมีผลกระทบต่อเครื่องยนต์เบนซินที่มีระบบแบบคาบิวเรเตอร์ เนื่องจาก แรงดันไอของแอลกอฮอล์ที่ผสมในน้ำมันเบนซินจะมีแรงดันสูงกว่าน้ำมันเบนซินที่อุณหภูมิปกติจึงอาจจะทำให้เอทานอลเกิดการแยกตัวเป็นไอในท่อส่งเชื้อเพลิงขึ้นได้ในบางครั้ง เรียกว่า “vapor lock” ซึ่งหากถังน้ำมันรถยนต์กับระบบคาร์บิวเรเตอร์อยู่ห่างกันมากเกินไปและท่อเชื้อเพลิงมีขนาดเล็กมากเกินไปอาจทำให้มีการสูญเสียแรงดันในท่อมากเกินไปเนื่องจากความฝืดที่น้อย ส่งผลก็คือเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวจากถังเชื้อเพลิงอาจเกิดแยกตัวเป็นไอขึ้นในท่อได้ซึ่งอาจทำให้การวิ่งของรถยนต์มีอาการสะดุดได้ในบางจังหวะ แต่ผลกระทบจาก “vapor lock” มีไม่มาก อาจทำให้การขับขี่รถยนต์มีอาการสะดุดบ้างเท่านั้น และก็มีปัญหาบ้างกับรถยนต์บางรุ่นเท่านั้น

จากรายงานประสบการณ์ในประเทศบราซิลและรายงานวิจัยต่างๆ มีผลสอดคล้องกันว่าแอลกอฮอล์ในน้ำมันมากกว่าร้อยละ 5 จะส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์ กล่าวคือ รถยนต์ที่สามารถเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีเอทานอลเป็นส่วนผสมมากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไปจะต้องเป็นรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ที่ได้รับการปรับแต่งและออกแบบมาจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์โดยเฉพาะ เพื่อรองรับการกัดกร่อนของแอลกอฮอล์ได้ รวมถึงการตั้งค่าการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ และพลังไฟฟ้าในการจุดระเบิดเครื่องยนต์ให้เหมาะสม

“เปลี่ยนที่สาม” มลพิษจากการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์

จากการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนำน้ำมันแก๊สโซฮอล์มาใช้กับรถยนต์ในด้านปริมาณและชนิดของสารมลพิษพบว่าการเผาไหม้ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์จะทำให้เกิดสารมลพิษชนิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนน้อยกว่าการเผาไหม้ของน้ำมันเบนซินทั่วไป ยกเว้นปริมาณก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น

งานศึกษาวิจัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันนี้ได้ให้ความสำคัญและสนใจกับ “สารกลุ่มคาร์บอนิล” เป็นคือสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในกลุ่มสารก่อมะเร็ง การศึกษาวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศพบว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์จะมีปริมาณการปล่อยสารกลุ่มคาร์บอนิล อันได้แก่ สารฟอร์มัลดิไฮด์ และสารอะเซตัลดีไฮด์ออกมามากกว่ารถยนต์เบนซิน ซึ่งกรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินงานทางด้านมาตรการและงานศึกษาวิจัยเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีร่วมกับหลายหน่วยงานได้ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยนำร่องในการส่งเสริมการใช้เอทานอลในรถโดยสารขนาดใหญ่ เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลในประเทศไทย ซึ่งห้องปฏิบัติการตรวจวัดมลพิษจากยานพาหนะ กรมควบคุมมลพิษ รับผิดชอบการทดสอบประเมินผลกระทบด้านสารมลพิษที่ระบายออกมาจากไอเสียและการตรวจประเมินด้านสมรรถนะของเครื่องยนต์ โดยข้อมูลด้านเทคนิคที่ได้จากการทดสอบจะนำไปใช้ในการพิจารณาส่งเสริมการใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงตลอดจนใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดมาตรการและมาตรฐานไอเสียรถยนต์ให้มีความเหมาะสมในอนาคต

บทความโดย : คุณอิทธิพล พ่ออามาตย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ส่วนมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & SkillsTel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------

Follow Us :
Blogger-IconFacebook-IconGoogle-Plus-IconPinterestTwitter-IconYouTube-Icon
----------------------------------------------------------------------------------------------

TheTrainingPro Tweet
Tag: train, knowledge, education, Training Pro, workshop, Certificate of Security product training, learning, skills, ฝึกอบรม, trainer, coaching, in house training, การอบรม, Training, Learning, Skills, สัมมนา, ประชาสัมพันธ์, สื่อโฆษณา, การเรียนรู้, การฝึกทักษะ, เสริมสร้างสติปัญญา, ค้นคว้าหาความรู้, เรียนรู้, ฝึกสมอง, เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ, รอบรู้เรื่องงานซ่อม, งานซ่อมบำรุง, ตู้จ่ายน้ำมัน, ตู้น้ำมัน, ตู้เติมน้ำมัน, ปั๊มน้ำมัน, ปั๊ม, ปั้ม, ปั้มน้ำมัน, มือจ่ายน้ำมัน, มิเตอร์น้ำมัน, สายน้ำมัน, ถังน้ำมัน, น้ำมันเบนซิล, ดีเซล, เติมน้ำมัน, แกลลอนน้ำมัน, ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน, ปั๊มเคลื่อนที่, รถน้ำมันเชื้อเพลิง, รถจ่ายน้ำมัน, รถเติมน้ำมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...