วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากคลังเชื้อเพลิงจังหวัดระยอง ปี ๒๕๕๔

การจ่ายน้ำมันแบบ Bottom Loading กับระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงกรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบปริมาณสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds; VOCs) จากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการเก็บและจำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง ในช่วงระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 ถึงวันที่ 25 มีนาคม 2554 เพื่อติดตามตรวจสอบปริมาณสารอินทรีย์ระเหยที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการขนถ่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์จากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงสู่รถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
  • บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด
  • บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) และ
  • บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน)
ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์จากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงเหล่านี้ อยู่ในช่วงตั้งแต่ 3.1 - 3,192 ล้านลิตรต่อปี ความถี่ในการขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ประมาณ 30 - 150 เที่ยวต่อวัน

ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ Carbon Adsorption
การตรวจวัดทำหลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนหัวจ่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ที่ลานจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจาก Top Loading เป็น Bottom Loading และ/หรือ Top Modified Loading ร่วมกับการใช้ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (Vapor Recovery Unit ; VRU) เช่น ระบบ Membrane ระบบ Refrigeration และระบบ Carbon Adsorption เป็นต้น

ผลการตรวจวัดปริมาณสารประกอบอินทรีย์ระเหย

จากการตรวจวัดปริมาณสารประกอบอินทรีย์ระเหยทั้งหมด (Total Volatile Organic Compounds ; Total VOCs) พบว่า ประสิทธิภาพของระบบ VRU อยู่ในช่วง 90 - 99.09 % มีผลการตรวจวัดปริมาณ
Total VOCs ก่อนเข้าระบบ VRU ค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ชั่วโมง อยู่ในช่วง 28.79 - 186.72 mg/l as propane ปริมาณ Total VOCs หลังออกจากระบบ VRU และถูกปล่อยทิ้งออกสู่บรรยากาศ ค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ชั่วโมง อยู่ในช่วง 1.05 - 4.45 mg/l as propane ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด (มาตรฐานไอน้ำมันเบนซินจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปล่อยทิ้งออกสู่บรรยากาศในขณะที่มีการรับหรือจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงในเวลา 1 ชั่วโมง จะต้องมีค่าเฉลี่ยไม่เกิน 17 มิลลิกรัมต่อลิตร)
จากการติดตามตรวจสอบเห็นได้ว่าการปรับเปลี่ยนหัวจ่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ที่ลานจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจาก Top Loading เป็น Bottom Loading และ/หรือ Top Modified Loading ร่วมกับการใช้ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (Vapor Recovery Unit ; VRU) สามารถช่วยลดปริมาณสารอินทรีย์ระเหยที่ถูกระบายออกสู่บรรยากาศได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลดีในการปรับปรุงคุณภาพอากาศของจังหวัดระยอง
จุดเก็บตัวอย่างไอระเหยน้ำมันเบนซินก่อนเข้าระบบ VRU ด้วย Tedlar bag ขณะโหลดน้ำมันแบบ Bottom Loading
จุดเก็บตัวอย่างไอระเหยน้ำมันเบนซินก่อนเข้าระบบ VRU ด้วย
Tedlar bag ขณะโหลดน้ำมันแบบ Bottom Loading

จุดเก็บตัวอย่างไอระเหยน้ำมันเบนซินหลังออกจากระบบ VRU ด้วย Tedlar bag
จุดเก็บตัวอย่างไอระเหยน้ำมันเบนซินหลังออกจากระบบ VRU ด้วย Tedlar bag
โดย: ฐิติรัชช์ เพ็ญตระกูลชัย นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ส่วนมลพิษจากยานพาหนะ
http://aqnis.pcd.go.th/en/node/3397
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------
Follow Us :
Blogger-IconFacebook-IconGoogle-Plus-IconPinterestTwitter-IconYouTube-Icon
----------------------------------------------------------------------------------------------
Tag: train, knowledge, education, Training Pro, workshop, Certificate of Security product training, learning, skills, ฝึกอบรม, trainer, coaching, in house training, การอบรม, Training, Learning, Skills, สัมมนา, ประชาสัมพันธ์, สื่อโฆษณา, การเรียนรู้, การฝึกทักษะ, เสริมสร้างสติปัญญา, ค้นคว้าหาความรู้, เรียนรู้, ฝึกสมอง, เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ, รอบรู้เรื่องงานซ่อม, งานซ่อมบำรุง, ตู้จ่ายน้ำมัน, ตู้น้ำมัน, ตู้เติมน้ำมัน, ปั๊มน้ำมัน, ปั๊ม, ปั้ม, ปั้มน้ำมัน, มือจ่ายน้ำมัน, มิเตอร์น้ำมัน, สายน้ำมัน, ถังน้ำมัน, น้ำมันเบนซิล, ดีเซล, เติมน้ำมัน, แกลลอนน้ำมัน, ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน, ปั๊มเคลื่อนที่, รถน้ำมันเชื้อเพลิง, รถจ่ายน้ำมัน, รถเติมน้ำมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...