วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปิโตรเคมี ศึกแย่งชิง LPG (2)

ในปี 2556 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ LPG เป็นวัตถุดิบ 2.6 ล้านตัน เทียบกับการใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงในภาคส่วนต่างๆ 4.8 ล้านตัน ได้แก่ ครัวเรือน 2.4 ขนส่ง 1.8 และอุตสาหกรรม 0.6 ล้านตัน แต่การผลิตในประเทศมีเพียง 5.5 ล้านตัน จึงต้องมีการนำเข้า 1.9 ล้านตันในราคาสูง

จะว่าใครใช้มากเกินไป เป็นธรรมหรือไม่ คงต้องดูเหตุผลความเป็นมาและการใช้ทรัพยากร ว่าให้ผลประโยชน์โดยรวมดีที่สุดกับประเทศหรือไม่?

บทความภาค 1 ได้อธิบายโครงสร้างภาษีและกองทุนน้ำมันที่แตกต่างกันเพราะการใช้ LPG ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้ราคา LPG ที่ปิโตรเคมีจ่ายโดยรวมจะแพงกว่าภาคครัวเรือน แต่มีข้อสงสัยว่าภายในกลุ่มปิโตรเคมีเองดูเหมือนบริษัทในเครือ ปตท.จะได้ราคาถูกกว่านอกเครือ

ปิโตรเคมีที่ผลิตสารโอเลฟินส์แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ โรงงาน Gas-based มีวัตถุดิบเป็นก๊าซอีเทนร่วมกับ LPG และโพรเพน ซึ่งล้วนมาจากโรงแยกก๊าซ ใช้ LPG 1.4 ล้านตันกับโรงงาน Liquid-based มีวัตถุดิบเป็นแนฟทาและLPG ใช้ LPG 1.2 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อจากโรงกลั่นในราคาเนื้อก๊าซ 30.2 บาท/กก. แพงกว่าที่โรงแยกก๊าซขาย 19.2 บาท/กก.มาก!

ในอดีตประเทศไทยผลิต LPG ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน แต่ไม่พอใช้ต้องนำเข้า หลังจากการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และมีการสร้างท่อส่งก๊าซมาที่ระยอง รัฐบาลเปรมฯ ได้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ให้ ปตท.สร้างโรงแยกก๊าซฯ เพื่อผลิต LPG ทดแทนการนำเข้า และให้เอกชนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยใช้ผลผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ

เกิดโครงการ Eastern Seaboard มีแผนแม่บทอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ให้มีบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) เพื่อใช้ก๊าซธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการใช้ อีเทน LPGและโพรเพนเป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติกเพื่อป้อนอุตสาหกรรมแปรรูป ทดแทนการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจประมาณ 10 เท่าโดยเฉลี่ยเทียบกับการใช้เป็นเชื้อเพลิง

NPC เป็นการร่วมทุนระหว่าง ปตท.ในฐานะผู้ผลิตวัตถุดิบ กับเอกชนผู้รับซื้อสารโอเลฟินส์ ได้แก่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย TPI HMC TPC ซึ่งเป็นผู้ลงทุนผลิตเม็ดพลาสติก PE PP และ PVC

เนื่องจากเป็นการลงทุนสูงที่มีความเชื่อมโยงแบบตายตัว จึงมีการทำสัญญาซื้อขายระยะยาว กำหนดสูตรราคาอิงตลาดโลกเพื่อให้แข่งขันกับผู้ผลิตเม็ดพลาสติกนอกประเทศได้ โดยการพึ่งพิงตลอดห่วงโซ่การผลิตทำให้มีข้อตกลงราคาที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนเท่าเทียมกัน ระหว่างโรงแยกก๊าซ โรงงานโอเลฟินส์ NPC และเอกชนผู้ผลิตเม็ดพลาสติกที่เป็นผู้ถือหุ้น

โรงงานโอเลฟินส์ในส่วนนี้เป็น Gas-based ซึ่งได้ลงทุนขยายกำลังผลิตเพื่อรองรับLPG ที่เหลือจากการขยายโรงแยกก๊าซในช่วงต่อมา เพราะจะได้ LPG เกินความต้องการในประเทศที่รวมถึงการใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้วด้วย

หลังวิกฤติปี 2540 รัฐให้ ปตท.เข้าไปมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่นที่ประสบปัญหาขาดทุน ทำให้ ปตท.เพิ่มทุนและเข้าไปถือหุ้นในหลายกิจการ เกิดบริษัทลูก ปตท.เพิ่มขึ้น อนึ่ง เอกชนที่เคยถือหุ้น NPC ภายหลังได้มีการขายหุ้นเพื่อทำกำไร แต่ยังซื้อสารโอเลฟินส์ตามสัญญาแบบเดิมอยู่

โรงโอเลฟินส์แแบบ Liquid-based ที่ใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบของเอกชนเกิดขึ้นได้ภายหลังการเปิดเสรีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2538 นำโดยกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยและTPI (IRPC ในปัจจุบัน) สามารถใช้ LPG เป็นวัตถุดิบทางเลือก หากช่วงไหนราคาวัตถุดิบตัวใดถูกกว่าเขาก็จะหันมาใช้วัตถุดิบชนิดนั้น โดย LPG ใช้สูตรราคาอิงแนฟทาในตลาดโลกหักด้วยมูลค่าผลิตผลที่น้อยกว่า ซึ่งโรงกลั่นไทยอยากขาย LPG ให้เขาเพราะช่วยลดการขาดทุนจากการขายเป็นเชื้อเพลิงในราคาควบคุม

ด้วยความยืดหยุ่นดังกล่าว ทำให้สัญญาซื้อขาย LPG ประเภทนี้เป็นแบบระยะสั้น และถึงแม้ราคา LPG สำหรับโรงงานโอเลฟินส์แบบ Liquid-based จะสูงกว่าราคาสำหรับโรงงาน Gas-based แต่ก็เป็นราคาที่เพิ่มกำไรให้กับเขาเทียบกับการใช้แนฟทา

ถ้าเห็นภาพรวมอย่างนี้ คงไม่อาจสรุปได้ว่า ปิโตรเคมีแย่ง LPG ที่เป็นเชื้อเพลิง หรือว่า ปตท. ตั้งราคาเอาเปรียบบริษัทนอกเครือ

ข้อสงสัยอีกอย่างคือ การที่โรงแยกก๊าซซื้อก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยซึ่งราคาถูกกว่าก๊าซที่ส่งทางท่อจากพม่าประมาณ 36% ทำให้ก๊าซที่เหลือสำหรับผลิตไฟฟ้ามีต้นทุนเฉลี่ยสูงกว่า สาเหตุเพราะก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็น “ก๊าซเปียก” สามารถแยกในโรงแยกก๊าซได้ แต่ของพม่าเป็น “ก๊าซแห้ง” ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เท่านั้น เมื่อมีการทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติต้นปี 2554 รัฐบาลก็ได้ยืนยันโครงสร้างแบบเดิมเนื่องจาก “จะทำให้ประเทศได้ผลประโยชน์สูงสุด”

หากเทียบกับต่างประเทศ ในซาอุดิอาระเบีย บริษัทปิโตรเคมี Sabic ถูกมองว่ามีต้นทุนต่ำอย่างที่สุดเพราะได้ราคาวัตถุดิบที่ดีมากจากบริษัทแม่ ส่วนในมาเลเซีย ปิโตรนาสเคมีก็ถูกประเมินว่าได้ราคาอีเทนที่ต่ำพอๆกับคู่แข่งในตะวันออกกลาง อาจต่ำกว่า 50% ของราคาตลาดภายนอก

ต่อการเรียกร้องให้ปิโตรเคมีจ่ายราคานำเข้า เพื่อจัดสรรของถูกในประเทศให้กับภาคครัวเรือนและขนส่ง คงต้องพิจารณาผลกระทบต่อธุรกิจปิโตรเคมีไทยซึ่งรวมถึงโรงงานเครือซิเมนต์ไทย ให้รอบคอบ เพราะจะมีผลถึงกิจการต่อเนื่องและการจ้างงานของประชาชนเป็นแสนๆ ตลอดจนผลต่อภาษีที่รัฐจะเก็บได้ เพราะปิโตรเคมีสร้างรายได้ให้ประเทศถึง 680,000 ล้านบาท (6% ของ GDP) และสร้างรายได้ VAT เพิ่มให้รัฐเป็นเงิน 31,000 ล้านบาท

สถาบัน TDRI ได้เสนอให้ “ปรับราคา LPG, NGV, ก๊าซธรรมชาติให้เป็นราคาใกล้ราคานำเข้าสำหรับผู้ใช้ทุกกลุ่ม รวมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิตก๊าซในประเทศ และให้การเลือกใช้ประเภทของพลังงานมีประสิทธิภาพ” โดยให้เก็บส่วนต่างจากต้นทุนเข้ากองทุนเพื่อไว้อุดหนุนผู้มีรายได้น้อย นับเป็นข้อเสนอที่สวนกระแสมากทีเดียว

บทความภาค 1 ได้ชี้ให้เห็นว่าหากกำหนดราคา LPG ขนส่งให้เหมาะสมกับการที่ผู้ใช้รถมีทางเลือกเชื้อเพลิงหลายอย่าง การนำเข้า LPG ราคาแพงอาจแทบไม่เกิดขึ้น ประเทศไทยอาจมีทางออกที่ยั่งยืนโดยไม่ต้องสวนกระแสมากก็เป็นได้

เป็นหน้าที่ของผู้บริหารประเทศที่จะต้องหาความสมดุลในการกำหนดนโยบายให้เกิดความเป็นธรรมและสร้างประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนให้กับคนไทย

# ลงในโพสต์ทูเดย์ พุธ 17กันยายน 2557
ที่มา.https://www.facebook.com/notes/อานิก-อัมระนันทน์/ปิโตรเคมี ศึกแย่งชิง LPG (2)
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------

Follow Us :
Blogger-IconFacebook-IconGoogle-Plus-IconPinterestTwitter-IconYouTube-Icon
----------------------------------------------------------------------------------------------
Tag: train, knowledge, education, Training Pro, workshop, Certificate of Security product training, learning, skills, ฝึกอบรม, trainer, coaching, in house training, การอบรม, Training, Learning, Skills, สัมมนา, ประชาสัมพันธ์, สื่อโฆษณา, การเรียนรู้, การฝึกทักษะ, เสริมสร้างสติปัญญา, ค้นคว้าหาความรู้, เรียนรู้, ฝึกสมอง, เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ, รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...