หนึ่งในประเด็นโจมตีของกระแส “ทวงคืน” พลังงาน คือ ธุรกิจปิโตรเคมีเอาเปรียบประชาชน ทั้งใช้ LPG ในราคาถูกกว่า และแย่งของที่ผลิตได้ในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้า LPG ในราคาแพง มีผลให้ราคา LPG ภาคครัวเรือนถูกปรับขึ้น
LPG ถูกใช้ในสองแบบ หนึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่เราคุ้นเคย อีกแบบหนึ่งคือใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่เปลี่ยนก๊าซเป็นเม็ดพลาสติก เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหลากหลายชนิด อาทิ ภาชนะ กันชนรถ เบาะ แบตเตอร์รีรถยนต์ พัดลม ตู้เย็น โครงสร้างราคาของการใช้สองแบบนี้จึงแตกต่างกัน ราคาที่เป็นเชื้อเพลิงถูกควบคุม ส่วนราคาที่เป็นวัตถุดิบเป็นไปตามสัญญาซื้อขายที่อิงตลาดโลก
ความจริง คือ ปิโตรเคมีจ่ายแพงกว่าภาคประชาชนทั้งครัวเรือนและรถยนต์/ขนส่ง แต่ถูกกว่าการใช้เชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ราคารวมของ LPG ประกอบด้วยราคาเนื้อก๊าซ บวกภาษีและเงินกองทุน กับค่าการตลาดในกรณีของเชื้อเพลิง
ในส่วนของเนื้อก๊าซ LPG เชื้อเพลิงได้ราคา ณ โรงแยกก๊าซ-โรงกลั่นซึ่งถูกตรึงไว้ที่333 เหรียญ/ตันหรือ 10.70 บาท/กก. ถูกกว่าครึ่งของราคา LPG วัตถุดิบที่ 22.85บาท/กก.(เฉลี่ยปี 2556) แต่โครงสร้างภาษีและกองทุนแตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขว
ก่อนดูอัตราภาษีสรรพสามิต ควรพิจารณาคำจำกัดความว่าเป็น "ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการ.. ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี..” เช่น เหล้า บุหรี่ “หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค..” เช่น การสร้างถนนหนทางสำหรับการใช้เชื้อเพลิง “หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเชื้อเพลิงก็สร้างผลกระทบดังกล่าว
ดังนั้น รัฐจึงเก็บภาษีสรรพสามิตจาก LPG เชื้อเพลิงในอัตรา 2.17 บาท/กก. กับภาษีเทศบาลอัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% แต่การใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในปิโตรเคมีไม่เข้าข่ายคำจำกัดความข้างต้น จึงไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต แต่ก็เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เช่นกัน
ในส่วนของกองทุนน้ำมัน ปิโตรเคมีจ่าย 1 บาท/กก. โดยไม่ได้รับประโยชน์จากระบบกองทุนน้ำมันที่มีการอุดหนุนราคาเนื้อก๊าซที่โรงกลั่นและการนำเข้าเพื่อตรึงราคาไว้ที่ 10.70 บาท/กก.เพราะให้กับเชื้อเพลิงเท่านั้น LPG เชื้อเพลิงต้องจ่ายเข้ากองทุนฯขั้นที่1 ที่ 0.602 บาท/กก. และเนื่องจากรัฐบาลกำหนดราคาขายปลีก LPG เชื้อเพลิงตามภาคส่วน จึงเก็บเงินเข้ากองทุนฯขั้นที่2 แตกต่างกัน ได้แก่ ครัวเรือนยากจน 0.00 ครัวเรือนทั่วไป 4.21 ภาคขนส่ง 3.04 และอุตสาหกรรม 10.47 บาท/กก. ทั้งนี้ เงินกองทุนจาก LPG ทั้งหมดยังไม่พอสำหรับตรึงราคาขายปลีก LPG
เมื่อรวมภาษีและกองทุน กับค่าการตลาด 3.26 บาท/กก.ซึ่งสูงเทียบกับน้ำมันและน่าจะบีบลงได้ ราคาขายปลีกของ LPG เชื้อเพลิงในปัจจุบันสำหรับครัวเรือนยากจนอยู่ที่ 18.13 ครัวเรือนทั่วไป 22.63 ภาคขนส่ง 21.38 และอุตสาหกรรม 29.33 บาท/กก. เทียบกับราคาขายปลีกเฉลี่ยของปิโตรเคมี 25.52 บาท/กก.(ปี 2556)
ราคาLPG เชื้อเพลิงที่ภาคประชาชนจ่ายนั้น นอกจากจะต่ำกว่าของปิโตรเคมีแล้ว ทั้งเนื้อก๊าซและในภาพรวม แต่ยังต่ำกว่าต้นทุนหลัก คือเนื้อก๊าซธรรมชาติจากปากหลุมในอ่าวไทยด้วย!
เพราะราคา LPG หน้าโรงแยกก๊าซที่ตรึงไว้ 333 เหรียญ/ตันนั้น มาจากราคาก๊าซธรรมชาติปากหลุมที่ 236 เหรียญ/ตัน บวกค่าใช้จ่ายในการแยกก๊าซ 97 เหรียญ/ตัน(ปี 2551) ปัจจุบันราคาปากหลุมขึ้นไปถึง 360 เหรียญ/ตัน ราคาขาย LPG เป็นเชื้อเพลิงหน้าโรงแยกก๊าซจึงไม่พอแม้แต่จะซื้อก๊าซธรรมชาติมาผลิต ทั้งนี้ ราคาก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมเพิ่มขึ้นตามสูตรราคาที่มีบางส่วนแปรผันตามอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเตาในตลาดโลก
โรงแยกก๊าซไม่ได้รับการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมัน ปตท.จึงต้องรับภาระการขาดทุนในส่วนนี้ อาจฟังดูสะใจ แต่ถ้ามองในภาพรวมแล้วจะดีกับประเทศไทยแน่หรือ? โปรดรอดูในบทความภาค 2
การตรึงราคา LPG ให้ต่ำกว่าต้นทุนมีผลกระทบอย่างน้อย 2 ทาง
(1) ราคาขายปลีกของไทยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ผลคือการลักลอบไปขายทำกำไร ไม่มีใครรู้ปริมาณที่ชัด แต่ที่แน่คือเงินอุดหนุนของคนไทยถูกนำไปให้ประเทศเพื่อนบ้าน แม้ได้มีการปรับราคา LPG ครัวเรือนขึ้นไปกว่า 4 บาท/กก. ราคาขายปลีกไทยก็ยังต่ำ ปัจจุบันราคากัมพูชา พม่า ลาว เวียดนามสูงกว่าถึง 80 -150% ความเสี่ยงของการลักลอบจึงยังคงอยู่
(2) ราคา LPG ที่ใช้ในรถยนต์ต่ำกว่าเชื้อเพลิงทางเลือกมาก เทียบตามค่าความร้อนเบนซิน95 กลุ่มเบนซินราคาสูงกว่า LPG ถึง 131-165% ดีเซล 48% ผลก็คือคนหันมาใช้ LPG กันมากจนการใช้ในรถยนต์เพิ่มขึ้นเกือบ 26% ต่อปี! ในช่วง10 ปีตั้งแต่ตรึงราคาโรงแยกก๊าซ (ไม่รวมการใช้ที่ลักลอบจากภาคครัวเรือน) ผลที่สุดคือ LPG ที่ผลิตในประเทศไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าซึ่งราคาสูง เฉลี่ย 943 เหรียญ/ตันในครึ่งแรกของปี 2557 กว่า 3เท่าของที่ตรึงไว้ 333 เหรียญ/ตัน
นำไปสู่วงจรอุบาทว์ในช่วงที่ผ่านมา ที่ต้องเก็บเงินเข้ากองทุนจากผู้ใช้เบนซินและแก๊สโซฮอลล์สูงขึ้นเพื่อไปชดเชยการนำเข้า LPG ที่มากขึ้น ทำให้ราคาเบนซินและแก๊สโซฮอลล์ยิ่งแพง คนก็ยิ่งหันมาใช้ LPG อัตราการใช้ก็ยิ่งเพิ่มเร็วขึ้น ทำให้ต้องนำเข้ามากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้น้ำมันเบนซินและดีเซลเหลือใช้ ต้องส่งออกมากเกินจำเป็น กลายเป็นเป้าโจมตีอีกอย่างของฝ่าย “ทวงคืน”
ในปี 2556 ซึ่งเริ่มมีการขึ้นราคาภาคครัวเรือนบ้างแล้ว การใช้ LPG ในภาคขนส่ง 1.8 ล้านตัน มีปริมาณไม่ห่างจากการนำเข้า LPG 1.9 ล้านตันนัก หากไม่มีการบิดเบือนราคา LPGขนส่งให้ต่ำกว่าเชื้อเพลิงทางเลือก การนำเข้า LPG จะน้อยลงมาก
แต่เรื่องคงไม่จบง่ายๆ เพราะการแก้ปัญหาถูกจุดย่อมสร้างความไม่พอใจต่อผู้เสียประโยชน์ อีกทั้งความเกลียดชังปิโตรเคมีได้ถูกจุดกระแสแล้ว จึงควรจะดูความเป็นมาของการใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในปิโตรเคมีซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางอีสเทอร์นซีบอร์ด อดีตแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย (โปรดติดตามตอนต่อไป)
# ลงในโพสต์ทูเดย์ พุธ 10กันยายน 2557
ดังนั้น รัฐจึงเก็บภาษีสรรพสามิตจาก LPG เชื้อเพลิงในอัตรา 2.17 บาท/กก. กับภาษีเทศบาลอัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% แต่การใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในปิโตรเคมีไม่เข้าข่ายคำจำกัดความข้างต้น จึงไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต แต่ก็เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เช่นกัน
ในส่วนของกองทุนน้ำมัน ปิโตรเคมีจ่าย 1 บาท/กก. โดยไม่ได้รับประโยชน์จากระบบกองทุนน้ำมันที่มีการอุดหนุนราคาเนื้อก๊าซที่โรงกลั่นและการนำเข้าเพื่อตรึงราคาไว้ที่ 10.70 บาท/กก.เพราะให้กับเชื้อเพลิงเท่านั้น LPG เชื้อเพลิงต้องจ่ายเข้ากองทุนฯขั้นที่1 ที่ 0.602 บาท/กก. และเนื่องจากรัฐบาลกำหนดราคาขายปลีก LPG เชื้อเพลิงตามภาคส่วน จึงเก็บเงินเข้ากองทุนฯขั้นที่2 แตกต่างกัน ได้แก่ ครัวเรือนยากจน 0.00 ครัวเรือนทั่วไป 4.21 ภาคขนส่ง 3.04 และอุตสาหกรรม 10.47 บาท/กก. ทั้งนี้ เงินกองทุนจาก LPG ทั้งหมดยังไม่พอสำหรับตรึงราคาขายปลีก LPG
เมื่อรวมภาษีและกองทุน กับค่าการตลาด 3.26 บาท/กก.ซึ่งสูงเทียบกับน้ำมันและน่าจะบีบลงได้ ราคาขายปลีกของ LPG เชื้อเพลิงในปัจจุบันสำหรับครัวเรือนยากจนอยู่ที่ 18.13 ครัวเรือนทั่วไป 22.63 ภาคขนส่ง 21.38 และอุตสาหกรรม 29.33 บาท/กก. เทียบกับราคาขายปลีกเฉลี่ยของปิโตรเคมี 25.52 บาท/กก.(ปี 2556)
ราคาLPG เชื้อเพลิงที่ภาคประชาชนจ่ายนั้น นอกจากจะต่ำกว่าของปิโตรเคมีแล้ว ทั้งเนื้อก๊าซและในภาพรวม แต่ยังต่ำกว่าต้นทุนหลัก คือเนื้อก๊าซธรรมชาติจากปากหลุมในอ่าวไทยด้วย!
เพราะราคา LPG หน้าโรงแยกก๊าซที่ตรึงไว้ 333 เหรียญ/ตันนั้น มาจากราคาก๊าซธรรมชาติปากหลุมที่ 236 เหรียญ/ตัน บวกค่าใช้จ่ายในการแยกก๊าซ 97 เหรียญ/ตัน(ปี 2551) ปัจจุบันราคาปากหลุมขึ้นไปถึง 360 เหรียญ/ตัน ราคาขาย LPG เป็นเชื้อเพลิงหน้าโรงแยกก๊าซจึงไม่พอแม้แต่จะซื้อก๊าซธรรมชาติมาผลิต ทั้งนี้ ราคาก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมเพิ่มขึ้นตามสูตรราคาที่มีบางส่วนแปรผันตามอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเตาในตลาดโลก
โรงแยกก๊าซไม่ได้รับการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมัน ปตท.จึงต้องรับภาระการขาดทุนในส่วนนี้ อาจฟังดูสะใจ แต่ถ้ามองในภาพรวมแล้วจะดีกับประเทศไทยแน่หรือ? โปรดรอดูในบทความภาค 2
การตรึงราคา LPG ให้ต่ำกว่าต้นทุนมีผลกระทบอย่างน้อย 2 ทาง
(1) ราคาขายปลีกของไทยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ผลคือการลักลอบไปขายทำกำไร ไม่มีใครรู้ปริมาณที่ชัด แต่ที่แน่คือเงินอุดหนุนของคนไทยถูกนำไปให้ประเทศเพื่อนบ้าน แม้ได้มีการปรับราคา LPG ครัวเรือนขึ้นไปกว่า 4 บาท/กก. ราคาขายปลีกไทยก็ยังต่ำ ปัจจุบันราคากัมพูชา พม่า ลาว เวียดนามสูงกว่าถึง 80 -150% ความเสี่ยงของการลักลอบจึงยังคงอยู่
(2) ราคา LPG ที่ใช้ในรถยนต์ต่ำกว่าเชื้อเพลิงทางเลือกมาก เทียบตามค่าความร้อนเบนซิน95 กลุ่มเบนซินราคาสูงกว่า LPG ถึง 131-165% ดีเซล 48% ผลก็คือคนหันมาใช้ LPG กันมากจนการใช้ในรถยนต์เพิ่มขึ้นเกือบ 26% ต่อปี! ในช่วง10 ปีตั้งแต่ตรึงราคาโรงแยกก๊าซ (ไม่รวมการใช้ที่ลักลอบจากภาคครัวเรือน) ผลที่สุดคือ LPG ที่ผลิตในประเทศไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าซึ่งราคาสูง เฉลี่ย 943 เหรียญ/ตันในครึ่งแรกของปี 2557 กว่า 3เท่าของที่ตรึงไว้ 333 เหรียญ/ตัน
นำไปสู่วงจรอุบาทว์ในช่วงที่ผ่านมา ที่ต้องเก็บเงินเข้ากองทุนจากผู้ใช้เบนซินและแก๊สโซฮอลล์สูงขึ้นเพื่อไปชดเชยการนำเข้า LPG ที่มากขึ้น ทำให้ราคาเบนซินและแก๊สโซฮอลล์ยิ่งแพง คนก็ยิ่งหันมาใช้ LPG อัตราการใช้ก็ยิ่งเพิ่มเร็วขึ้น ทำให้ต้องนำเข้ามากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้น้ำมันเบนซินและดีเซลเหลือใช้ ต้องส่งออกมากเกินจำเป็น กลายเป็นเป้าโจมตีอีกอย่างของฝ่าย “ทวงคืน”
ในปี 2556 ซึ่งเริ่มมีการขึ้นราคาภาคครัวเรือนบ้างแล้ว การใช้ LPG ในภาคขนส่ง 1.8 ล้านตัน มีปริมาณไม่ห่างจากการนำเข้า LPG 1.9 ล้านตันนัก หากไม่มีการบิดเบือนราคา LPGขนส่งให้ต่ำกว่าเชื้อเพลิงทางเลือก การนำเข้า LPG จะน้อยลงมาก
แต่เรื่องคงไม่จบง่ายๆ เพราะการแก้ปัญหาถูกจุดย่อมสร้างความไม่พอใจต่อผู้เสียประโยชน์ อีกทั้งความเกลียดชังปิโตรเคมีได้ถูกจุดกระแสแล้ว จึงควรจะดูความเป็นมาของการใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในปิโตรเคมีซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางอีสเทอร์นซีบอร์ด อดีตแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย (โปรดติดตามตอนต่อไป)
# ลงในโพสต์ทูเดย์ พุธ 10กันยายน 2557
ที่มา.https://www.facebook.com/notes/อานิก-อัมระนันทน์/ปิโตรเคมี ศึกแย่งชิง LPG (1)
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Village, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------
Tag:ฝึกอบรม,การอบรม,Training,Learning,Skills,สัมมนา,ประชาสัมพันธ์,สื่อโฆษณา,การเรียนรู้,การฝึกทักษะ,เสริมสร้างสติปัญญา,ค้นคว้าหาความรู้,เรียนรู้,ฝึกสมอง,เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ,รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น