วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Nozzle (นอซเซิล) หัวฉีด

นอซเซิล (Nozzle) หัวฉีด หรือ มือจ่ายน้ำมัน เป็นอุปกรณ์ใช้วัดการไหล (flow measurement) ที่สามารถวัดการไหลได้ทั้งของเหลวและก๊าซ โดยใช้ทฤษฎีของเบอร์นูรี่ (Bernoulli's theorem) หรือหลักการวัดความดันแตกต่าง (differential pressure, ΔP) ระหว่างจุด 2 จุดที่ของไหลไหลผ่าน และนำค่าความดันแตกต่างที่วัดได้นั้นมาคำนวณหาค่าอัตราการไหล (ดังสมการที่ 1) เช่นเดียวกับแผ่นออริฟิส (orifice plate) และท่อเวนทูรี (venturi tube)
(1)
โดย  K คือ ค่าคงที่ของท่อและชนิดของของไหล (m3/s/ psi)
      ΔP คือ ค่าความดันแตกต่างระหว่างจุดสองจุดที่ของไหลไหลผ่าน (psi)
      โครงสร้างของนอซเซิลแสดงดังรูป โดยตำแหน่งในการติดตั้งจุดวัดความดันแต่ละจุดบริษัทผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนด

      
  โครงสร้างของนอซเซิลและลักษณะการติดตั้งภายในท่อ 
(ที่มา: นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)
นอซเซิลเป็นอุปกรณ์วัดการไหลที่ดัดแปลงมากแผ่นออริฟิส (orifice plate) และท่อเวนทูรี (venturi tube)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวัดการไหลจากการวัดด้วยแผ่นออริฟิสที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของพื้นที่หน้าตัดอย่างฉับพลัน โดยเปลี่ยนเป็นค่อย ๆ ลดพื้นที่หน้าตัดลงตามลักษณะของเวนทูรี ซึ่งการวัดด้วยนอซเซิลให้ค่าการวัดที่มีความเที่ยงตรง (precision) และความแม่นยำ (accuracy) มากกว่าการวัดการไหลด้วยแผ่นออริฟิส แต่มีราคาที่ถูกกว่าการวัดด้วยท่อเวนทูรี โดยทิศทางการไหลของของไหลสามารถวัดได้เพียงทิศทางเดียวเช่นเดียวกับแผ่นออริฟิส นอซเซิลเหมาะสำหรับวัดการไหลที่มีความเร็วสูงและไม่มีสารแขวนลอยปะปน เนื่องจากบริเวณด้านทางออกของนอซเซิล ของไหลจะมีลักษณะหมุนวน สารแขวนลอยเหล่านี้จึงอาจเข้าไปสะสมหรืออุดตันในบริเวณด้านหลังของนอซเซิลได้ ทำให้ค่าที่วัดได้คลาดเคลื่อน (error)

การติดตั้งและการบำรุงรักษาทำได้ยากกว่าแผ่นออริฟิส โดยนอซเซิลต้องถอดท่อออกเช่นเดียวกับท่อเวนทูรี ในขณะที่แผ่นออริฟิสมีลักษณะเป็นแผ่นสามารถถอดออกได้โดยไม่ต้องถอดท่อด้านหน้าและด้านหลังออก
รูปแบบของนอซเซิล
(ที่มา: http://expoexhibitor.isa.org)

หลักการทำงานของอุปกรณ์วัดการไหลชนิดนอซเซิล (nozzle)
แผ่นออริฟิส (orifice plate) เเละ ท่อเวนทูรี (venturi tube)
เรียบเรียง และ ตรวจทาน โดย : ผศ.ดร.นวภัทรา หนูนาค
แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา : การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)
http://expoexhibitor.isa.org/isa09/EC/forms/attendee/index.aspx?content=vbooth&id=105
: http://www.youtube.com/watch?v=oUd4WxjoHKY

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...