1. การตรวจเช็คสภาพภายนอกของรถยนต์ คือ การดูตัวถังภายนอกและการดูสีของรถยนต์ การดูสีของรถยนต์ควรดูที่สว่างๆ แต่ไม่ใช่กลางแดดจัด ให้มีแสงพอสมควร เริ่มจาก
- ยืนในตำแหน่งหน้ารถ แล้วนั่งลงมองในระดับฝากระโปรงหน้าทั้งด้านซ้าย และด้านขวาดูเส้นขอบตรงหน้ารถไปจรดท้ายที่เป็นเส้นตรงว่ารอยหรือเส้นขอบต่างๆ ผิดเพี้ยนหรือไม่ถ้าดูแล้วมีรอยยุบของเส้นขอบต่างๆ ที่ไม่ต่อเนื่องสันนิษฐานได้ว่ารถคันนี้ได้มีการทำสีมาแล้ว
- เดินดูรอบรถโดยดูเส้นขอบของประตูเป็นแนวเดียวกันหรือไม่ มีรอยโค้ง รอยนูนหรือเว้าหรือไม่
- ดูช่องว่างระหว่างประตูแต่ละบานว่าเหมาะสมกันหรือไม่
- ดูตัวถังว่ามีการโป๊วสีมาหรือไม่ โดยการใช้นิ้วดีดหรือเคาะเพื่อทำการฟังเสียง โดยทำรอบๆ ตัวรถบริเวณที่มีเสียงทึบมีโอกาสเป็นไปได้ว่ารถได้มีการทำสีมาก่อน เสียงที่ดีต้องเป็นเสียงป็อกๆ ถือว่าใช้ได้
- ต่อไปให้ดูว่าผิวสีเรียบเป็นปกติเหมือนกันทั้งคันหรือไม่ เพราะถ้าผิวสีที่มีรอยนูนหรือเว้า หรือลักษณะของสีที่แตกต่างกัน
- ดูส่วนประกอบรอบๆ รถ เพื่อที่จะบอกได้ว่าเจ้าของเก่ามีการใช้รถเป็นอย่างไร
- ดูที่คานหน้าหม้อน้ำ ทั้งด้านบนและล่าง รูน๊อตยึดต่างๆ กลมเป็นปกติหรือไม่
- ดูสภาพของสีกลมกลืนทั้งห้องเครื่องยนต์หรือไม่ ถ้าสีเหมือนกันแต่พ่นใหม่อาจจะมีการยกเครื่องออกมา เพื่อทำการซ่อมตัวถังหรือซ่อมเครื่องยนต์
- ดูตะเข็บรอยต่อเป็นปกติ เหมือนกันทั้ง 2 ข้าง
- ดูซุ้มล้อหน้าซ้าย, ขวา สังเกตสติ๊กเกอร์ NAME PLATE ว่ามีหรือไม่ สภาพเป็นปกติหรือเปล่า
- ดูร่องน้ำไหล ทั้งซ้ายและขวา ว่ามีรอยบุบหรือคดบ้างหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้ จะบ่งบอกถึงการเกิดอุบัติเหตุหรือเพียงแค่ทำสีใหม่เท่านั้นควรดูให้ดี
- คราบหรือร่องรอยของการรั่วซึมของน้ำมันเครื่อง
- ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรก, คลัทช์, น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ สีต้องเป็นปกติและสะอาด
- ระดับน้ำยาหล่อเย็น จะต้องอยู่ในระดับที่กำหนด
- ระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ สีและกลิ่นของน้ำมัน
- ระดับน้ำมันเครื่องจะต้องอยู่ในระดับที่กำหนด สีและกลิ่นต้องอยู่ในสภาพที่ดี
- สภาพของสายพานต่างๆ จะต้องไม่แตกร้าว ความตึงพอเหมาะ
- ตรวจหม้อน้ำ, ฝาปิดหม้อน้ำ จะต้องไม่รั้วและมีน้ำอยู่ในระดับที่พอเหมาะ
- สภาพของสายไฟในห้องเครื่องยนต์ จะต้องจัดเก็บเรียบร้อย
- แบตเตอร์รี่จะต้องไม่บวม ขั้วแบตเตอร์รี่สภาพดี และดูอายุของแบตเตอรี่, สภาพของน้ำกลั่น
- ติดเครื่องฟังเสียงของเครื่องยนต์ว่าผิดปกติหรือไม่ และจะติดเครื่องได้โดยง่าย
- เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วสังเกตเสียงว่าผิดปกติหรือไม่ เครื่องยนต์เดินเรียบหรือเปล่า
- ตรวจการรั่วของกำลังอัด ดูไอน้ำมันเครื่อง โดยดึงก้านวัดน้ำมันขึ้นมาดูว่ามีควันหรือกลิ่นไหม้ ถ้าไม่มีถือว่าใช้ได้ และจะต้องไม่มีแรงดัน ดันออกมาทางด้านก้านวัดน้ำมันด้วย
- เดินไปท้ายรถสังเกตควันที่ออกจากท่อไอเสีย จะต้องไม่ขาวและดำ ถ้าผิดปกติแสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานบกพร่อง อาจจะต้องมีการทำเครื่องยนต์ใหม่
- แผงหน้าปัทม์ ดูไฟเตือนต่างๆ ขณะเปิดสวิทซ์กุญแจ ต่อจากนั้นสตาร์ทเครื่อง ไฟเตือนต่างๆ จะต้องดับลง
- ระบบเครื่องเสียงใช้งานได้ตามปกติหรือไม่
- ระบบปรับอากาศ อุณหภูมิของลม การปรับตั้ง Mode, Fan, Temperature ทำงานได้ดีหรือเปล่า
- ไฟส่องสว่างภายในรถ เช็คสัญญาณไฟเลี้ยว, ไฟสูง ว่าติดที่หน้าปัทม์หรือไม่ขณะทำการเปิด
- กระจกหน้าต่างทุกบานปิดสนิทหรือไม่
- เบาะนั่งอยู่ในสภาพใช้งานได้เป็นปกติสามารถทำการปรับตั้งได้หรือไม่
- โดยรวมสภาพของห้องโดยสาร จะต้องสัมพันธ์กับอายุของรถ เลขกิโลเมตว่าเหมาะสมกันหรือไม่
- รอยตะเข็บต่างๆ, รอยเชื่อม, รอยบัดกรี จะต้องไม่ผิดเพี้ยนจากจุดใกล้เคียง
- ร่องรอยการทำสี ว่ามีสีที่ดูใหม่กว่าจุดอื่นหรือไม่
- รางน้ำฝากระโปรง ต้องไม่เสียรูป
- ถ้าเป็นรถเก๋งควรเปิดพรมท้ายรถดูว่ามี เครื่องมือ, ยางอะไหล่อยู่หรือเปล่า และตรวจดูว่ามีน้ำขังอยู่หรือไม่ ถ้ามีอาจเกิดจากการรั่วของรอยตะเข็บบริเวณรางน้ำของฝากระโปรงท้ายได้
- กดรถทางด้านหน้าและหลัง เพื่อดูการทำงานของโช๊คอัพจะต้องไม่แข็งและเด้งเร็วเกินไป และดูว่ามีคราบน้ำมันจำนวนมากที่บริเวณโช๊คอัพหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าน่าจะชำรุด
- ดูยางทั้ง 4 เส้นว่าสภาพของดอกยางมีการสึกหรอสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าไม่สม่ำเสมอแสดงว่าช่วงล่างและศุนย์ล้อน่าจะมีปัญหาสังเกตยางมีการปริแตกหรือฉีกขาดหรือเปล่า ยางยี่ห้อเดียวกันและรุ่นเดียวกันทั้งหมดหรือไม่ เพราะยางแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น จะมีการออกแบบมาใช้งาน และการบรรทุกจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับการผลิตของยางยี่ห้อนั้นๆ ถ้าใช้ยางผิดประเภทจะทำให้เกิดอันตรายได้
- ระยะฟรีพวงมาลัยจะต้องมีเล็กน้อย ถ้ามากเกินไปเป็นไปได้ว่า ลูกหมากจะมีปัญหา
- ถ้าสามารถทำการตรวจสอบใต้ท้องรถได้ ให้ดูว่ามีการผุกร่อนของตัวถังบริเวณใต้ท้องหรือไม่ แซสซีส์ต้องตรงไม่การ บิดเบี้ยว ผุ หรือทีรอยเชื่อมที่เกิดจากการหักของแซสซีส์
- ทดสอบระบบรองรับว่าทำงานได้ดีหรือไม่ เช่นโช๊คอัพ, สปริง, แหนบ ขณะทำการวิ่งทดสอบว่ามีเสียงดังเกิดจากช่วงล่างหรือไม่
- ขณะทำการเร่งเครืองยนต์ มีเสียงดังเกิดขึ้นผิดปกติหรือไม่
- ขณะรถวิ่งมีเสียงเข้ามาในห้องโดยสารมากน้อยเพียงใด
- เวลาวิ่งด้วยความเร็วสูงรถควรมีการเกาะถนนที่ดีพอ และจะต้องไม่มีอาการส่ายหรือโครงไปมา
- ทดลองเลี้ยวซ้ายและขวาดูว่า ช่วงล่างเกิดเสียงดังหรือไม่
- การทำงานของเบรกระบบ ABS ทำงานเป็นปกติหรือไม่ โดยทำงานของเบรก ABS ขณะเบรกแบบกระทันหันจะมีการเคลื่อนตัวขึ้นลงแป้นเบรกเป็นระยะ ในขณะที่ไม่ได้ถอนเท้าออกจากแป้นเบรก ถ้ามีแสดงว่าเป็นปกติ
- ทดสอบศูนย์ขณะรถวิ่ง ว่าดึงไปมาข้างใดข้างหนึ่งหรือไม่ และพวงมาลัยตรงพอดีหรือไม่
- การตัดต่อของคอมเพรสเซอร์แอร์ขณะขับขี่มีเสียงดังเป็นปกติหรือไม่ หากมีเสียงดังเกินไปอาจเกิดจากลูกปืนคลัทช์หน้าคอมเพรสเซอร์แอร์ชำรุด
- หลังจากขับทดสอบแล้วให้ติดเครื่องทิ้งไว้สักครู่ เพื่อดูความผิดปกติอีกครั้ง
เราจะรู้ประวัติของรถยนต์เบื้องต้นได้โดยการตรวจสอบดูจากเล่มทะเบียนรถยนต์ จะทำให้ทราบว่ารถคันนี้ผ่านการใช้งานมาแล้วกี่ราย มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์และสีของรถยนต์หรือเปล่า ควรเลือกซื้อรถที่ผ่านการใช้งานมามือเดียว หรือจากเจ้าของคนเดียว จะช่วยให้เราสามารถซักถามประวัติการใช้รถได้ เอกสารที่ควรใส่ใจมากที่สุด คือสมุดจดทะเบียนไม่ควรมีการแก้ไขโดยไม่มีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ขนส่งกำกับ หากสมุดจดทะเบียนมีข้อน่าสงสัยไม่ควรทำการซื้อขายรถคันดังกล่าว
แต่พอจะสรุปสุดท้ายก็คงต้องดูที่ราคาว่าเหมาะสมกับรถไหม เพราะการซื้อรถมือสองก็ต้องดูตามสภาพความเป็นจริงว่าสภาพรถขนาดนี้ ราคาก็น่าจะอยู่ประมาณนี้ เพราะถ้าจะเอารถมือสองคุณภาพเทียบเท่ารถใหม่ จะให้ราคาถูกก็คงหาได้ยากหรือหาไม่ได้เลย เพระาฉะนั้นควรระลึกไว้ด้วยว่าของถูกและดีไม่มีในโลก ควรเลือกแบบที่เหมาะสมกับราคาตามสภาพรถ และวัตถุประสงค์ของการใช้งานครับ
แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา : ข้อมูลจาก: www.phithan-toyota.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น