วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การสำรวจ และ การผลิต (ปิโตรเลียม : Petroleum)

การสำรวจหาแหล่งน้ำมัน เป็นการหาพื้นที่ ที่ซึ่งกักเก็บ (Traps) น้ำมัน (Oleum) ที่ชั้นของหินใต้ดิน สามารถแบ่งขั้นตอนออกได้ดังนี้

1. ขั้นตอนการสำรวจหาข้อมูล (Exploration) : เพื่อหาแหล่งน้ำมัน เช่น
 
          การสำรวจโดยคลื่นสั่นสะเทือน (Seismic survey) คือ การทำให้เกิดเสียงผ่านไปยังใต้พื้นโลก หรือ การจุดระเบิดขึ้น เพื่อให้เกิดจากเคลื่อนไหว วิ่งผ่านลงไปที่ใต้ชั้นหิน แล้ววัดเสียง หรือ ความสั่นสะเทือนที่สะท้อนกลับมา จะทำให้รู้รายละเอียดของชั้นหินมากขึ้น เมื่อพบว่าลักษณะของชั้นหินเป็นลักษณะที่มีโอกาสมีน้ำมัน อาจทำการขุดเจาะเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม เป็นต้น
           การขุดเจาะ (Core Drilling) คือ การขุดเจาะหลุมเพื่อนำเก็บไปเป็นตัวอย่าง วิธีการนี้ จะอาศัยการขุดเจาะของหลุม หลายหลุมนำไปทำการศึกษาตัวอย่าง เพื่อวัดระดับที่แน่นอน ของตัวอย่างหิน ก็จะสามารถเปรียบเทียบชนิดของชั้นหิน และโครงสร้างของชั้นที่แน่นอน
           การสำรวจแรงโน้มถ่วง (Gravity Prospecting) เป็นการวัดค่าความถ่วงจำเพาะ ของหินชนิดต่างๆ ภายใต้เปลือกโลก ถ้าชั้นหินวางตัวอยู่ในแนวระนาบ จะสามารถวัดค่าความถ่วงคงที่ได้ แต่ถ้าชั้นหิน เกิดการเอียง ค่าความถ่วง ที่วัดได้จะแปรผัน ไปกับโครงสร้างของชั้นหิน

2. ขั้นตอนการขุดเจาะ (Drilling) : เพื่อการผลิต

          การขุดเจาะหลุม ที่ได้จากการสำรวจมาแล้วนั้น มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก การขุดเจาะหลุม 1 หลุม ขุดไปลึกประมาณ 3 – 4 กิโลเมตรใต้พื้นทะเล ต้องใช้เวลานานกว่า 60 วัน โดยเฉลี่ย ต้องใช้งบประมาณกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อหลุม ซึ่งเป็นการลงทุนที่สูง และมีความเสี่ยงมาก เพระหากเราขุดไปแล้วพบปริมาณน้ำมัน หรือ แก๊สธรรมชาติ ที่น้อย นั้นไม่คุ้มค่ากันในเชิงพาณิชย์ แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะช่วยลดเวลาในการขุดเจาะหลุมนั้นเหลือ 4 – 5 วัน ต่อการขุดเจาะหลุม เพียง 1 หลุม แล้วใช้งบในการเจาะน้อยกว่ามาก

3. ขั้นตอนการผลิต (Production Process) : เพื่อการจำหน่ายต่อไป นั้นจำเป็น ต้องทำการแยกสารที่ปนเปื้อนอื่นๆ ออกจากน้ำมันดิบ และ แก็สธรรมชาติ โดยการนำไปยัง สถานีแยกปิโตรเลียม เพื่อแปรสภาพ เป็นผลิตภัณฑ์
           การแยก (Separation)
เป็นวิธีการกลั่น (Distillation) โดยใช้สารประกอบไฮโดรคาร์บอน แต่ละชนิดที่รวมอยู่ในน้ำมันดิบ โดยน้ำมันมาให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 368 – 385 องศาเซลเซียส ไหลผ่านเข้าไปในหอกลั่น น้ำมันที่ร้อนจะกลายเป็นไอลอยขึ้นไปยอด และควบแน่น เป็นของเหลวตกลงบนถาดรองรับในแต่ละช่วงของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ จากนั้นของเหลวตกลงบนถาดก็จะไหลออกมาตามท่อเพื่อนำไปเก็บแยกตามประเภท และนำไปใช้ต่อไป
           การเปลี่ยนโครงสร้าง (Conversion)
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ได้อาจมีคุณภาพที่ไม่ดีพอ จึงต้องใช้วิธีทางเคมีเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างของน้ำมัน ให้น้ำมันที่ได้มีคุณภาพที่ดี เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
           การปรับคุณภาพ (Treating)
เป็นการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากน้ำมัน ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแล้ว ซึ่งสิ่งแปลกปลอมที่สำคัญจะเป็นสารจำพวกกำมะถัน ซึ่งจะใช้วิธีการฟอกด้วย ไฮโดรเจน หรือ โซดาไฟ เพื่อเป็นการกำจัดสารนั้นออกไป
           การผสม (Blending)
การนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มานั้น มาเติม หรือ ผสมสารที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปตามที่ต้องการ เช่น การผสมน้ำมันเบนซิน เพื่อเพิ่ม เลขออกเทน หรือผสม น้ำมันเตา เพื่อให้ได้ความหนืดตามที่ต้องการ

รวบรวม แก้ไขโดย.The Training Pro Learning and Skills (เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล)
แหล่งที่มา.
- ข้อมูลจาก วิกิพิเดีย
- เว็บไซต์ Google.co.th
- รูปภาพจาก Blog: Thitiwat Thongkham
- รูปภาพจาก www.offshore-sea.org.uk
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & Skills
Tel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Villege, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
-----------------------------------------------------
Tag:ฝึกอบรม,การอบรม,Training,Learning,Skills,สัมมนา,ประชาสัมพันธ์,สื่อโฆษณา,การเรียนรู้,การฝึกทักษะ,เสริมสร้างสติปัญญา,ค้นคว้าหาความรู้,เรียนรู้,ฝึกสมอง,เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ,รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,E20,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...