วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การติดตั้ง NGVดีเซล


การติดตั้ง NGV ทดแทนน้ำมันดีเซล



การติดตั้งอุปกรณ์ NGV ทดแทนน้ำมันดีเซล มี 2 แบบ คือ
          - แบบใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่ผลิตจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรง แบบนี้มีให้เห็นในท้องถนนก็ได้แก่ รถโดยสารปรับอากาศของ ขสมก. ที่วิ่งให้บริการมาตั้งแต่ปี 2536
          - แบบระบบเชื้อเพลิงร่วม หรือ DDF ซึ่งเป็นระบบดูดก๊าซ ที่ใช้ NGV ร่วมกับน้ำมันดีเซล อัตราส่วนก๊าซธรรมชาติต่อน้ำมันดีเซลจะขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์นั้นๆ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ และคุณภาพของก๊าซที่ใช้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะใช้ก๊าซ 50% น้ำมันดีเซล 50% สามารถจะหยัดค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 25-30

การติดตั้ง NGV ทดแทนดีเซลนั้นใช้ระบบดูดก๊าซเพียงระบบเดียว แต่แบ่งการทำงานออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
          - แบบดูดก๊าซ (Fumigation) ที่มีระบบควบคุมแบบธรรมดาหรือ Mechanic Control มีหลักการทำงานคือ ก๊าซธรรมชาติความดันสูงจากถังบรรจุไหลผ่านมายังอุปกรณ์ลดความดัน จ่ายก๊าซไปผสมกับอากาศ ที่บริเวณท่อร่วมไอดี โดยใช้อุปกรณ์ผสมก๊าซกับอากาศ (Gas Mixer) และผ่านเข้าห้องเผาไหม้ ปริมาณการจ่ายก๊าซ จะขึ้นอยู่กับการปรับตั้งสกรูปรับก๊าซขณะเดียวกันก็จ่ายน้ำมันดีเซลเข้าห้องเผาไหม้เพื่อจุดระเบิดนำการเผาไหม้ของก๊าซธรรมชาติ
          - แบบดูดก๊าซ (Fumigation) ที่มีระบบควบคุมแบบวงจรปิด
ระบบนี้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมการจ่ายก๊าซและน้ำมันดีเซล ซึ่งจะมีอุปกรณ์ควบคุมอิเลคทรอนิคส์ (Electronic Control Unit) หลักการทำงานคล้ายๆ กับแบบธรรมดา แต่จะสามารถป้อนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไปควบคุมการจ่ายก๊าซให้เหมาะสมกับปริมาณอากาศที่เข้าห้องเผาไหม้ และปรับการจ่ายน้ำมันดีเซลที่ปั๊มเพื่อให้อัตราส่วนก๊าซธรรมชาติต่อน้ำมันดีเซลเหมาะสมสำหรับการเผาไหม้ที่สภาวะการทำงานต่างๆ ของเครื่องยนต์ ทั้งนี้ประสิทธิภาพการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงร่วมจะขึ้นอยู่กับการออกแบบโปรมแกรมควบคุมและการปรับตั้งอัตราส่วนผสมก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดีเซล ระบบนี้จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและช่วยลดปริมาณควันดำลง

แก้ไขโดย : เดอะ เทรนนิ่ง โปร เลิร์นนิ่ง แอนด์ สกิล“The Training Pro Learning and Skills”
ขอบคุณที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลัง และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และวิชาการ.คอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...