1.) กิจการที่ต้องแจ้งการประกอบกิจการก่อนการประกอบกิจการ ได้แก่ กิจการควบคุมประเภทที่ 2 ดังนี้
1. สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่ 2 (โรงงานขนาดเล็ก หรือเพื่อการเกษตร)
- เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดไวไฟน้อย ไม่เกิน 15,000 ลิตร
- เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดไวไฟปานกลาง ไม่เกิน 1,000 ลิตร
- เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดไวไฟมาก ไม่เกิน 454 ลิตร
2. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ค ลักษณะที่ 1 (ปั๊มถังลอยริมถนนขนาดเล็ก)
- เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อยในถังเก็บบนดิน ไม่เกิน 10,000 ลิตร
- หรือเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมากหรือไวไฟปานกลางรวมกันไม่เกิน 454 ลิตร
3. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ง (ปั๊มหลอดแก้วมือหมุน)
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ไม่เกิน 454 ลิตร
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง ไม่เกิน 454 ลิตร
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ไม่เกิน 454 ลิตร
4. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท จ ลักษณะที่ 1 (ปั๊มทางน้ำขนาดเล็ก)
- ให้บริการแก่ยานพาหนะทางน้ำ
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดไวไฟน้อยหรือไวไฟปานกลางไม่เกิน 10,000 ลิตร
- เก็บน้ำมันในถังเก็บน้ำมันบนพื้นดิน หรือในโป๊ะเหล็ก
2.) การที่ต้องขออนุญาตประกอบกิจการก่อนการประกอบกิจการ ได้แก่ กิจการควบคุมประเภทที่ 3 ดังนี้
1. สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่ 3 (โรงงานขนาดใหญ่)
- เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย เกิน 15,000 ลิตร
- เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง เกิน 1,000 ลิตร
- เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก เกิน 1,000 ลิตร และทั้งหมดรวมกันปริมาณไม่เกิน 500,000 ลิตร
2. คลังน้ำมันเชื้อเพลิง
- สถานที่ที่ใช้เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ปริมาณรวมเกิน 500,000 ลิตร
3. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ก (สถานีบริการมาตรฐานริมถนนใหญ่)
- ติดถนนสาธารณะกว่าไม่น้อยกว่า 12 เมตร
หรือถนนส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 10 เมตร
และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน
4. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ข (สถานีบริการมาตรฐานริมถนนซอย)
- ติดถนนสาธารณะน้อยกว่า 12 เมตร
หรือถนนส่วนบุคคลน้อยกว่า 10 เมตร
และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อยในถัง
เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงบนพื้นดินเกิน 10,000 ลิตร
หรือเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง หรือไวไฟ
น้อยไวในถังใต้พื้นดินปริมาณไม่เกิน 5,000 ลิตร
5. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ค ลักษณะที่ 2 (ถังลอยริมถนนใหญ่)
- เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย
ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงบนพื้นดินเกิน 10,000 ลิตร
หรือเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือไวไฟน้อยไว้ในถังใต้พื้นดินปริมาณไม่เกิน 5,000 ลิตร
6. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลง ประเภท จ ลักษณะที่ 2 (สถานีบริการทางน้ำขนาดใหญ่)
- ให้บริการแก่ยานพาหนะทางน้ำ
- ให้บริการแก่ยานพาหนะทางน้ำไวไฟน้อยหรือไวไฟปานกลาง ปริมาณเกิน 10,000 ลิตร
- เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงบนพื้นดินหรือในโป๊ะเหล็ก
7. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ฉ (สถานีบริการอากาศยาน)
- ให้บริการแก่อากาศยาน
การยื่นแจ้ง และขออนุญาต กรุงเทพมหานคร ยื่นที่
กรมธุรกิจพลังงาน 222 อาคารฐานเศรษฐกิจ ชั้น 14 ถนนวิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม. 10900โทร. 0 2513 8942-7 ต่อ 1026 โทรสาร.0
2513 9460 ต่างจังหวัด ยื่นที่ สำนักงานพลังงานภูมิภาคที่ 1-12
การขออนุญาตค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
1.ขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร
-ในเขตกรุงเทพมหานคร ติดต่อสำนักงานเขต
-ต่างจังหวัด ติดต่อสำนักงานเทศบาล, อบต.
2.ขออนุญาตเชื่อมทางเข้า-ออก
-กรมทางหลวง, กรมทางหลวงชนบท
-สำนักงานเขต
-เทศบาล
-อบต.
3.ขออนุญาตประกอบกิจการค้าน้ำมัน
-สำนักงานเขต
-เทศบาล
-อบต.
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมธุรกิจพลังงาน www.doeb.go.th
สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง มี 3 ลักษณะ ดังนี้.
ลักษณะที่ 1.
-สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณไม่เกิน 40 ลิตร
-สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณไม่เกิน 227 ลิตร
-สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณไม่เกิน 454 ลิตร
ลักษณะที่ 2.
-สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณเกิน 40 ลิตร แต่ไม่เกิน 454 ลิตร
-สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณเกิน 227 ลิตร แต่ไม่เกิน 1,000 ลิตร
-สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 454 ลิตร แต่ไม่เกิน 15,000 ลิตร
ลักษณะที่ 3. -สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณเกิน 454 ลิตร ขึ้นไป
-สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณ เกิน 1,000 ลิตร ขึ้นไป
-สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 15,000 ลิตร ขึ้นไป
(ปริมาณทั้งหมดรวมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 ลิตร)
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมธุรกิจพลังงาน
ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง
1.ชนิดไวไฟมาก ได้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส เช่นน้ำมันเบนซิน 91, 95 ฯลฯ
2.ชนิดไวไฟปานกลาง ได้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีจุดวาบไฟ
ตั้งแต่ 37.8 องศาเซลเซียส ขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส
เช่นน้ำมันก๊าด น้ำมันสำหรับเครื่องบิน ฯลฯ
3.ชนิดไวไฟน้อย ได้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีจุดวาบไฟ
ตั้งแต่ 60 องศาเซลเซียส ขึ้นไป เช่นน้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น
ฯลฯ
แหล่งที่มาข้อมูล
: -พรบ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542
: -กรมธุรกิจพลังงาน
ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & SkillsTel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Villege, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
----------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่.ติดต่อ คุณ ณัฐชยา
E-mail: t.training.pro@gmail.com
Web Site: http://www.pumpprogress.com/
Web Blog: http://thetraining-pro.blogspot.com/
edit @ by The Training Pro Learning & SkillsTel..: 02 926 7121
Mobile..: 089 455 7878
Fax..: 02 926 7122
Address.: 2/45 Moo 6, Jittakarn Villege, Talingchan-Suphanburi Road, Tambol Sao-Thong-Hin, Amphure Bangyai, Nonthaburi, 11140 Thailand.
-----------------------------------------------------
Tag:ฝึกอบรม,การอบรม,Training,Learning,Skills,สัมมนา,ประชาสัมพันธ์,สื่อโฆษณา,การเรียนรู้,การฝึกทักษะ,เสริมสร้างสติปัญญา,ค้นคว้าหาความรู้,เรียนรู้,ฝึกสมอง,เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ,รอบรู้เรื่องงานซ่อม,งานซ่อมบำรุง,ตู้จ่ายน้ำมัน,ตู้น้ำมัน,ตู้เติมน้ำมัน,ปั๊มน้ำมัน,ปั๊ม,ปั้ม,ปั้มน้ำมัน,มือจ่ายน้ำมัน,มิเตอร์น้ำมัน,สายน้ำมัน,ถังน้ำมัน,น้ำมันเบนซิล,ดีเซล,E20,เติมน้ำมัน,แกลลอนน้ำมัน,ปั๊มสูบจ่ายน้ำมัน,ปั๊มเคลื่อนที่,รถน้ำมันเชื้อเพลิง,รถจ่ายน้ำมัน,รถเติมน้ำมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น